https://www.krungsri.com/getmedia/cb439bc6-cb88-42f2-82df-0f1ec18e0df8/IO_Petrochemicals_200610_EN_EX.pdf.aspx?fbclid=IwAR1eKTdVxEb_e0G3WEh6DVsjynmAeRasf_7yxXjx3kWSJ_X6cYT_b9hXPOI

หมิงตี้ เคมิคอล (Mingh Dih) ไม่ใช่โรงงานห้องแถวพื้นๆที่กระจัดกระจายอยู่ตามปริมณฑลกรุงเทพ แต่เป็นผู้เล่นสำคัญในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย แม้จะไม่ใหญ่ big เบิ้มที่สุดก็ตาม

การระเบิด การเกิดไฟสารเคมี และผลกระทบสุขภาพสิ่งแวดล้อมจึงไม่ธรรมดา

จากการวิเคราะห์โดย Krungsri Research “…ธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศมีผู้เล่นหลัก 2 ราย ได้แก่ ปตท. ส่วนแบ่งตลาด 54% และเอสซีจี 29% ทั้งสองได้แข่งขันกันเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันด้านการผลิตและการตลาดโดยการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ ปตท.เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต้นน้ำ ได้แก่ การขุดเจาะน้ำมัน การผลิตก๊าซธรรมชาติ การกลั่นน้ำมัน และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่หลากหลาย กลุ่มเอสซีจีมีส่วนได้ส่วนเสียในบริษัทที่ผลิตปัจจัยการผลิตจากปิโตรเคมี เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคและวัสดุก่อสร้าง ผู้เล่นระดับรองลงไปยังมีส่วนร่วมในภาคส่วนนี้ด้วย แต่มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าขั้นกลางและปลายน้ำ ได้แก่ บริษัทไทย เช่น Vinythai และผู้ประกอบการต่างประเทศหรือการร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศ เช่น Indorama, Exxon และ MingDih…”

บริษัทแม่ที่ไต้หวัน Mingh Dih Group Corporation มี Certificate Report ที่ comply กับมาตรฐานสากลทางอุตสาหกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ISO 9001, ISO 14001 รวมกฎเกณฑ์และกฎหมายของกลุ่มประเทศคู่ค้าสหภาพยุโรปได้แก่ RoHS(เป็นข้อกำหนดที่ 2011/65/EU ของสหภาพยุโรปว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์), REACH(กฎหมายของสหภาพยุโรปที่ประกาศใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2007 (Regulation EC No. 1907/2006) มีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสารเคมี สารเคมีในเคมีภัณฑ์ และสารเคมีในผลิตภัณฑ์ ต้องดำเนินการตามกระบวนการต่างๆ ตามที่กำหนด โดยสินค้าต่างประเภทกันจะมีข้อกำหนด และหน้าที่ปฏิบัติต่างกัน) ตลอดจนการทดสอบ PFOS (Perfluorooctane sulfonate (PFOS) ซึ่งเป็นโมเลกุลอะลิฟาติกที่มีฟลูออรีนสูง ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมการผลิตทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเหล่านี้ เป็นมลพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อมและทนต่อกระบวนการย่อยสลายของสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป เป็นต้น

แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า อุบัติภัยสารเคมีโรงงานหมิงตี้ เคมิคอล (Mingh Dih) ที่บางพลี เราไม่เห็นผู้บริหารบริษัททั้งบริษัทลูกในไทย และบริษัทแม่ที่ไต้หวัน ออกมาชี้แจงอะไรทั้งสิ้น สะท้อนถึงมาตรฐานต่างระดับ หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องจี้ให้หมิงตี้ออกมารับผิดชอบ อย่ามัวแต่เลี่ยงบาลีพูดลอยๆว่าเป็นอุบัติภัยอุตสาหกรรมบริเวณถนนกิ่งแก้ว

นอกจากนี้ จากการสืบค้นของมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และสนธิ คชวัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม ระบุว่า หมิงตี้เคมิคอลจัดตั้งโรงงานก่อน พรบ สิ่งแวดล้อม 2535 จึงไม่ต้องทำรายงาน EIA

บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด มีผู้ถือหุ้น 4 ราย (1) บริษัท เอเวอร์แกรนด์ จำกัด (บริติช เวอร์จิน) 48% (2) นาย เจิ้นเหวย หง 22% (ไทย) (3) นาย ฉงหาว หง 22% (ไทย) (4) นาย หมิง อี้ หง 8% (ไทย) โดยที่นาย เจิ้นเหวย หง กับ นาย ฉงหาว หง พึ่งได้สัญชาติไทยเมื่อ 15 สค. 2562 การที่ชาวต่างชาติได้สัญชาติไทยไม่ง่ายนัก ต้องมี connection ระดับตัวแม่.เมื่อเหตุการณ์ซาลง ต้องจับตาดูว่า อุบัติภัยทางอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบสูงอย่างการระเบิดหมิงตี้เคมิคอล (Mingh Dih Chemical Explosion) จะไปในทางใด