ธารา บัวคำศรี แปลเรียบเรียงจาก Wanganui : Beyond the Comfort Zone, North and South Magazine. June, 1995 เขียนโดย Cate Brett (ตีพิมพ์ลงในนิตยสารอาทิตย์รายสัปดาห์ ระหว่าง ปี พ.ศ.2538-2539)
ตอนที่ 4
ทาริเอนา ทูริอา ผู้นำสตรีชาวเมารี

ตัวเลขเหล่านี้มาจากผู้นำสตรี ทาริเอนา ทูริอา ผู้เป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่เบื้องหลังการชุมนุมประท้วงเรียกร้องสิทธิในที่ดินของปาไกโตเร ทูริอาอายุ 50 ปี เป็นแม่ของลูก 6 คนและยายของหลานอีก 16 คน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญที่ปาไกโตเร เธอมีวิถีทัศน์ทางการเมืองที่ชัดเจนและมีจินตภาพอันแรงกล้าของอนาคตเพื่อลูกหลาน เธอมาจากเผ่างาทิ อาปา และแต่งงานกับเมารีแห่งแม่น้ำวางานูอิ

ในฐานะลูกจ้างของกระทรวงพัฒนาเมารี(เท ปูนิ โคคิริ) สาขาวางานูอิ (เธอลาออกระหว่างการประท้วง) ทูริอาบอกกับฉันว่าปาไกโตเรได้ตอบรับความเจ้บปวดอันลึกซึ้งและความรู้สึกไร้อำนาจของเมารีรุ่นพ่อแม่เช่นเดียวกับที่เธอรู้สึกเมื่อมองไปที่เด็กเมารีรุ่นหลังเดินลงไปสู่ความอับจน

“ดูพวกเด็กที่เดินเล่นอยู่ที่นี่สิ อะไรเล่าที่พวกเขารอคอยด้วยความหวัง เราไม่มีอะไรต้องสูญเสีย เป็นจุดที่มีพลังมากๆ เราต้องอยู่เหนือความกลัว”

ในปี พ.ศ.2527 ปีเริ่มต้นการปฏิรูปเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคแรงงาน ทูริอาให้ความสนใจกับการประชุมสดยอดว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจเมารีระดับชาติและฟังผู้อาวุโสคนหนึ่งอธิบายว่า เมารีเหมือนคนติดอยู่ในขวด ได้แต่มองดูสังคมเดินหน้าไปโดยที่พวกเขาไม่มีส่วนร่วม แล้วผู้อาวุโสบอกว่าเป็นครั้งแรกที่รู้สึกว่าฝาขวดได้เปิดออก “มันใช้เวลาถึง 11 ปี แต่ฉันคิดว่าฝาขวดได้เปิดแล้ว”

ทูริอายอมรับว่าปาไกเตโรเสมือนห้องเรียนใหญ่ เป็นหลักสูตรที่แสดงความเป็นเมารี และเป็นโอกาสถ่ายทอดความคิดทางการเมืองแก่คนรุ่นใหม่

“ถือเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของคนหนุ่มสาวในเรื่องสิทธิการปกครองตนเอง(วางานูอิทางา) พวกเขาส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงของชาวเมารีกลุ่มต่างๆ ที่มาราเอ ถือเป็นครั้งแรกของการมีชีวิตในทิศทางแบบเมารี มันไม่ง่ายนักสำหรับพวกเขา”

“การมีวิถีปฏิบัติ(ทิคางา)ที่เป็นของเราเองไม่ได้หมายถึงเราจะไร้กฎเกณฑ์ จริงๆ วิถีทางของเมารีมีระบบแบบแผนมากกว่ากฎหมายใดๆ มาก มันอยู่นอกกรอบ”

“ที่นี่เปิดเผย ถ้าคุณทำอะไรผิด คนจะพูดถึงมัน มันแย่หน่อยนะ ถ้าคุณไม่ชอบให้คนพูดถึงก็อย่าทำ มันไม่ใช่ “ทิคางา” ของเรา และถ้าคุณไม่ต้องการวิถีเช่นนี้ คุณก็จะไม่มีที่จะอยู่”

ทูริอาพูดถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนของการสยบยอมอยู่ภายใต้ระบอบกฎหมายของคนขาว(ปาเกฮา) กับวิถีปฏิบัติของชนเผ่าเมารีในมาราเอ ผู้คนจะให้โอกาสคุณอีกครั้ง และปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีร่วมกัน

เธอพูดจากประสบการณ์ส่วนตัว มาร์ค ทูริอา บุตรชายอายุ 29 ปีของเธอถูกจับเข้าคุก 3 ครั้ง  เมื่อ 21 ธันวา 2537 ในข้อหาตัดหัวอนุเสาวรีย์จอห์น บาลลานส์ และบุกรุกที่ทำการสภาเมืองวางานูอิ บ้านของนายกเมืองวางานูอิและเลขาของเขา

แต่ถ้าการยึดครองปาไกโตเรา)เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงอัตลักษณ์ในนามของชาวเมารีหนุ่มสาวผู้แปลกแยก ถือเป็นการทดสอบอย่างเท่าเทียมโดยเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมเมารีแห่งวางานูอิในฐานะเป็นรูปแบบหนึ่งของอำนาจทางการเมือง การประท้วงด้วยการทำล้อเลียนของการเผชิญหน้าระหว่างโลกของคนขาว(ปาเกฮา)และโลกของเมารี การปักปันเขตพื้นที่ และการแสดงให้เห็นว่าสิทธิในการปกครองตนเองนั้นเกี่ยวกับอะไร

และมันคือที่นี่ซึ่งความตึงเครียดที่มากที่สุดได้ก่อตัวขึ้น ถ้านักข่าวหรือสมาชิกสภาเทศบาลหรือนักการเมืองต้องการพูด พวกเขาต้องพูดเป็นภาษาเมารี นี่คือ “มาราเอ” และพวกเขาที่เข้าไปต้องปฏิบัติตาม ผู้ต้องการที่จะพูดคุยและตัดสินใจต้องยอมรับหนทางของเมารี

ตัวอย่างคือในการอภิปรายกับที่ปรึกษาด้านเมารีของสภาเมือง มีการจัดทำ 5 แผนงานเพื่อแก้ปัญหา รวมถึงข้อเสนอการตั้งผู้บริหารร่วมของสวนสาธารณะโมวทอขึ้นมาโดยตัดประเด็นเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของดั้งเดิมทิ้งไป และอนุสาวรีย์ที่ถูกทำลายจะสร้างขึ้นใหม่ที่ไหนสักแห่ง ยังมีการเสนอการวิจัยร่วมระหว่างเมารีกับสภาเมืองเพื่อกำหนดสถานที่สำคัญอื่นๆ

สวนสาธารณะโมวทอ เนื้อที่ 0.9 เฮกตาร์ เป็นหนึ่งในพื้นที่ในการลงนามในสนธิสัญญาไวทาหงิ(Waitangi Treaty)

พวกเขาบอกกับชาส พอยน์เตอร์ นายกเมือง ว่าต้องกลับไปกับชนเผ่าและตกลงกันที่มาราเอหลายแห่ง การตัดสินใจร่วมกันเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและไม่อาจเร่งรีบได้ แน่นอนว่าไม่อาจทำได้ในรูปแบบของปาเกฮาโดยยกหูคุยทางโทรศัพท์และประกาศว่าจะมีการประชุมด่วนของสภาเมือง

ท้ายที่สุด เมื่อสภาเมืองวางานูอิดันประเด็นเรื่องสิทธิความเป็นเจ้าของพื้นที่ขึ้นสู่ศาลสูง เสียงตอบกลับจากปาไกโตเรได้ปฏิเสธที่จะรับรู้ต่อระบบกฎหมายของปาเกฮา ถูกต้อง นี่เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษเมารีที่ “ปาริฮากา” – ชื่อของชุมชนที่เกิดเหตุการณ์ต่อต้านโดยไม่ใช้ความรุนแรง) กระทำในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870

นอกจากการแสดงออกถึงสิทธิในการปกครองตนเอง(วางานูอิทางา)ที่มีประสิทธิภาพสูง แม้ว่าจะดูก้าวร้าว ยังมีประเด็นที่ซ่อนอยู่คือ ข้อเสนอของเมารีกลุ่ม “เท อะฮี คา” เพื่อวางกรอบอำนาจการปกครองของเมารีในทางการเมือง หรือการผลักดันของ ทาเม อิอิ นักกิจกรรมประท้วงผู้มีประสบการณ์ (นักมวยปล้ำผู้มีชื่อเสียงในงานเฉลิมฉลองวันชาติที่ไวทาหงิในปี พ.ศ.2538) ที่ว่า ถึงเวลาของชาวผิวขาว(ปาเกฮา)ที่ต้องเปลี่ยนแปลงเจ้าของที่ดิน

ด้วยการรุกคืบอย่างต่อเนื่อง พลังทั้งสามได้รวมกันเป็นฐานสำคัญในการยึดครองสวนสาธารณะโมวทอ ความไม่พอใจของกลุ่มผู้อาวุโสต่อจดหมายงบประมาณจากรัฐบาล ความล้มเหลวของศาลยุติธรรมว่าด้วยสนธิสัญญาไวทาหงิต่อข้อเสนอแนะเรื่องสิทธิในการจัดการแม่น้ำ ทำให้เกิดการรวมตัวของชาวเมารีที่ปาไกโตเรด้วยความเกรี้ยวกราดของเยาวชนเมารีที่ถูกหลงลืม ภาพของพวกเขาคือกองกำลังต้องห้าม