แปลเรียบเรียงจากบทความเรื่อง Medical Waste Incinerator : Mismatch Between Problem and Solution ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Work on Waste USA.inc., 82 Judson, Canton, New York เดือนตุลาคม ปี 2539 โดย ดร. พอล คอนเนทท์ พอล คอนเนทท์ เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเซนต์ลอเรนซ์ เมืองแคนตัน นิวยอร์คตั้งแต่ปี 2526 ได้รับปริญญาตรีสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และปริญญาเอกทางเคมีจากดาร์ทเมาท์คอลเลจ หลังจากปี 2528 เขาทุ่มเททำการวิจัยเรื่องการจัดการของเสียโดยเฉพาะประเด็นทางวิชาการที่เกี่ยวกับการปล่อยสารพิษไดออกซินจากโรงงานเผาขยะซึ่งมีผลต่อห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศ ดร.พอล เข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติเรื่องไดออกซินหลายต่อหลายครั้ง และทำงานร่วมกับทอม เวบสเตอร์ เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งหมด 6 ฉบับ ซึ่งต่อมาได้ตีพิมพ์ในวารสาร “Chemosphere” เขายังได้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการกากของเสียในรูปแบบที่หลากหลายให้กับชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้ไปแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาแล้วกว่า 1500 ครั้งใน 48 รัฐทั่วสหรัฐอเมริกา และในประเทศอื่น ๆ อีก 40 ประเทศทั่วโลก และ ดร. พอล ทำงานกับเอลเลน ผู้เป็นภรรยา ออกจดหมายข่าวรายสัปดาห์ชื่อ Waste Not เป็นระยะเวลานานถึง 12 ปี เขายังทำงานร่วมกับนายโรเจอร์ ไบลีย์ - เพื่อนซึ่งเป็นศาสตราจารย์คณะวิจิตรศิลป์ของมหาวิทยาลัย เซนต์ลอว์เรนซ์ ผลิตวิดีโอเทป 40 เรื่องซึ่งล้วนเกี่ยวกับการจัดการกากของเสียในแง่มุมต่าง ๆ รวมถึงวีดิทัศน์(10 ม้วน)เกี่ยวกับสารพิษไดออกซิน ดร. พอล มีบทบาทสำคัญในการทำงานกับชุมชนระดับรากหญ้ากว่า 300 แห่งในสหรัฐอเมริกาซึ่งคัดค้านโครงการโรงเผาขยะ จนทำให้โครงการเหล่านั้นยกเลิกไป ราล์ฟ เนเดอร์ นักรณรงค์สิทธิผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา กล่าวถึง ดร. พอล ว่า “เขาเป็นคนเดียวที่ผมรู้จักที่สามารถทำให้เรื่องขยะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ”
บทนำ
ปัญหาการจัดการของเสียทางการแพทย์โดยพื้นฐานแล้วเป็นปัญหาทางชีวภาพ กล่าวคือ เราต้องการลดความเสี่ยงของโรคอันเกิดจากแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ ที่ออกจากโรงพยาบาลหรือสถาบันวิจัยเข้าสู่ชุมชน
ขณะที่ความคิดเรื่องการเผาของเสียประเภทนี้ ดูจะเป็นการแก้ปัญหาที่มีเหตุผลเมื่อพิจารณาครั้งแรก ในทัศนะของผู้เขียนแล้ว สิ่งนี้แสดงถึงความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงระหว่างการจับคู่กันของปัญหาและการแก้ปัญหา
การเผาขยะด้วยอุณหภูมิสูงเปลี่ยนจากประเด็นปัญหาทางชีวภาพไปสู่กลุ่มปัญหาที่เกิดจากสารเคมีอันตรายจำนวนหนึ่ง เหตุผลเรื่องนี้ง่ายมาก กล่าวคือ ในขณะที่การเผาสามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ มันก็มีพลังมากพอในการทำลายวัสดุที่มีตัวก่อโรครวมอยู่ด้วย เช่น กระดาษ, กระดาษแข็ง, พลาสติก, แก้ว, และโลหะ ในกระบวนการนี้เองที่ก่อให้เกิดก๊าซต่างๆที่เป็นกรดขึ้น (จากพลาสติกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ) โลหะเป็นพิษจะถูกปล่อยออกมา (จากเม็ดสีและสีผสมอาหารในกระดาษและผลิตภัณฑ์พลาสติก รวมทั้งสิ่งของเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เช่น แบตเตอรี่ เทอร์โมสิเตอร์ที่ทิ้งแล้ว เป็นต้น) และเกิดไดออกซินและฟูแรน (จากคลอรีนต่างๆที่ปะปนอยู่ในของเสีย) ปัญหาที่เกิดจากสารเคมีอันตรายเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการกำจัดของเสียทางการแพทย์โดยตรง แต่ทั้งหมดเป็นผลมาจากสิ่งที่ทึกทักเอาเองว่าเป็นการแก้ปัญหา
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ผลของความกังวลที่เกิดขึ้นจากการค้นพบว่า เตาเผาของเสียทางการแพทย์เป็นแหล่งผลิตสำคัญของไดออกซินที่ปนเปื้อนเข้าสู่สิ่งแวดล้อม (ดูตาราง) ทำให้เกิดวิธีการจัดการของเสียทางการแพทย์ 2 วิธีการที่แตกต่างกัน
วิธีการแรก ผมขอเรียกว่า การตามแก้ปัญหาเข้าทำนองวัวหายล้อมคอก (การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ) คือการปรับปรุงโรงงานเผาขยะที่มีอยู่ (หรือสร้างขึ้นใหม่) ด้วยเทคโนโลยีควบคุมมลพิษทางอากาศที่ทันสมัยมากขึ้น อีกวิธีการหนึ่งคือ การป้องกันไว้ก่อน (การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ) ซึ่งเป็นการค้นหาเทคโนโลยี (เก่าบ้าง ใหม่บ้าง) ที่สามารถทำลายแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ โดยไม่มีการทำลายสารประกอบที่ผสมอยู่โดยวิธีการทางเคมี หลังจากการอภิปรายในประเด็นต่างๆของความร้ายแรงในการแพร่ไดออกซินแล้ว ผมจะเปรียบเทียบวิธีการทั้ง 2 ให้ดู
การเผาของเสียทางการแพทย์และไดออกซิน
ปัจจุบัน คำว่า ไดออกซิน มักจะถูกใช้ในความหมายที่อ้างถึง สารประกอบ 2 กลุ่มที่เรียกว่า โพลีคลอริเนทเบนโซไดออกซิน(Polychlorinated dibenzo dioxins-PCDDs) และ โพลีคลอริเนท ไดเบนโซ ฟูแรน(Polychlorinated dibenzo furans-PCDFs) สารประกอบทั้งหมดจำนวน 210 ชนิด (ซึ่งความแตกต่างของสารเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจำนวนและตำแหน่งของอะตอมคลอรีนในโครงสร้างโมเลกุล) ในทั้ง 2 กลุ่ม มีอยู่ 17 ชนิดที่มีความเป็นพิษสูงมาก
น่าหัวร่อที่สารพิษเหล่าอันตรายเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นโดยแค่การเผาอะไรก็ตามที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบอยู่ ซึ่งรวมถึงของเสียทางการแพทย์ด้วย
ไดออกซิน ถูกค้นพบครั้งแรกในอากาศเสียที่ปล่อยออกมาจากเตาเผาขยะมูลฝอยที่ดำเนินการโดย Olie and Co-workers ในปี พ.ศ. 2520 ต่อมาในปี พ.ศ.2530 Hagenmaier and Co-workers ในเยอรมันรายงานว่า ระดับของไดออกซินและฟูแรนในเถ้าเบาซึ่งเก็บรวบรวมจากเตาเผาขยะของโรงพยาบาล สูงเป็น 2 เท่าของระดับที่พบในเถ้าเบาจากโรงงานเผาขยะของเทศบาล ดังตารางที่ 1

ในเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2537 USEPA (หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมขิงสหรัฐอเมริกา) ตีพิมพ์รายงานฉบับร่างซึ่งได้รายงานการตรวจสอบแหล่งกำเนิดต่างๆของไดออกซินที่สืบทราบในสหรัฐ และสรุปว่า การเผาของเสียจากโรงพยาบาลเป็นแหล่งกำเนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ทำให้เกิดสารพิษไดออกซิน 5,100 กรัม จากจำนวนทั้งหมด 9,300 กรัมของสารพิษที่เกิดขึ้นทั่วประเทศใน 1 ปี
มีคำอธิบาย 2 อย่างว่า ทำไมเตาเผาขยะของโรงพยาบาลจึงผลิตไดออกซินและฟูแรน-เปรียบเทียบจากการเผาขยะ 1 ตัน-มากกว่าเตาเผาของเทศบาล อย่างแรก คือ เมื่อเทียบกันโดยปริมาณแล้วของเสียทางการแพทย์ประกอบด้วยพลาสติกมากกว่าขยะเทศบาล (ประมาณร้อยละ 30 ต่อร้อยละ 7) และพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ (เช่น PVC) อย่างที่สอง คือ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เตาเผาขยะของเทศบาลมีพัฒนาการในการควบคุมมลพิษทางอากาศที่ก้าวหน้ากว่าเตาเผาของโรงพยาบาล นอกจากนี้ เตาเผาของเทศบาลยังดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมมาให้ชำนาญเฉพาะทาง ขณะที่เตาเผาของโรงพยาบาลมักดำเนินการโดยภารโรง คำอธิบายทั้ง 2 นี้มีความเป็นไปได้ที่จะถูกต้องมากทีเดียว
อย่างไรก็ดี ผู้ที่ให้ความสำคัญกับการอธิบายอย่างแรก สนับสนุนให้มีการแยก PVC และพลาสติกที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบอื่นๆ ออกจากของเสียทางการแพทย์
ในประเทศออสเตรีย โรงพยาบาลต่างๆ เลิกใช้ PVC ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ในประเทศอินเดีย กรมควบคุมมลพิษกำลังพิจารณาข้อเรียกร้องให้โรงพยาบาลที่ต้องการสร้างเตาเผาขยะแยก PVC ก่อนเผา
ผู้ที่ให้ความสำคัญกับคำอธิบายหลังสนับสนุนให้มีการปรับปรุงเตาเผาขยะของโรงพยาบาลด้วยการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษทางอากาศที่มีราคาแพงและใช้กับเตาเผาที่ทันสมัยของเทศบาลในเวลานี้
ขณะที่ทั้ง 2 วิธีทำได้เพียงลด (ไม่ได้กำจัด) การปล่อยไดออกซินออกสู่สิ่งแวดล้อม ในความเห็นของผม ทั้ง 2 วิธีเป็นเพียงการแก้ปัญหาที่เหมาะสมและคุ้มค่ากับปัญหาในขั้นพื้นฐาน
พูดง่ายๆ ก็คือ การเกิดไดออกซิน ไม่ใช่ธรรมชาติของปัญหาการจัดการของเสียทางการแพทย์
ถ้าขยะเหล่านั้นไม่ถูกเผา จะไม่มีไดออกซินเกิดขึ้น
ข้อเท็จจริงที่ว่า มีเทคโนโลยีหลายอย่างที่คุ้มค่าและเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถจัดการกับขยะติดเชื้อได้โดยไม่ต้องเผา สามารถหยุดข้อโต้แย้งดังกล่าวได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะอภิปรายถึงเทคโนโลยีดังกล่าว ผมคิดว่ามีความสำคัญที่จะกล่าวถึงข้อจำกัดต่างๆ ของยุทธศาสตร์การใช้อุปกรณ์ควบคุมมลพิษที่ก้าวหน้าและมีราคาแพงอย่างที่ใช้ในเยอรมนีและฮอลแลนด์
ปัญหาต่างๆ เนื่องจากการควบคุมมลภาวะที่เกิดจากไดออกซิน
การควบคุมมลพิษที่ก้าวหน้าที่สุดเพื่อจำกัดการปล่อยไดออกซินจากเตาเผามีผลต่อการพ่นสารคาร์บอนที่ถูกกระตุ้นและน้ำปูนขาว เข้าใส่ก๊าซที่อยู่ในท่อ ที่เกิดจากห้องเผาหรือตัวแลกเปลี่ยนความร้อนและสะสมฝุ่นละอองที่ได้ไว้ในถุงกรอง บางครั้งตามมาด้วยระบบการชำระด้วยน้ำก่อนที่จะมีการปล่อยก๊าซดังกล่าวสู่สิ่งแวดล้อม ในกรณีของโรงเผาขนาดใหญ่ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ที่ไนโตรเจนออกไซด์มีปัญหา (เมืองใหญ่และเมืองที่มีปัญหาในทางกลับกัน) ระบบการขจัดไนโตรเจนออกไซด์ราคาแพงอาจเป็นที่ต้องการ
ประการแรก
การมีอุปกรณ์ควบคุมมลพิษนั้นยังไม่พอ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้องมีบุคลากรที่ได้รับการอบรมให้ชำนาญเฉพาะทางเป็นผู้ดำเนินการด้วย ในปัจจุบัน โรงพยาบาลต่างๆ ไม่มีบุคลากรดังกล่าว นี่เป็นหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่ทำให้เยอรมนีไม่อนุญาตให้มีการเผาของเสียทางการแพท์ในโรงพยาบาลได้ต่อไปอีก ของเสียเหล่านี้ต่องส่งไปเผาที่โรงเผาของเทศบาลที่มีอุปกรณ์ควบคุมมลพิษทางอากาศและดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญแทน
ประการที่สอง
อุปกรณ์ควบคุมมลพิษมีราคาแพงมหาศาล ในประเทศฮอลแลนด์ประมาณครึ่งหนึ่งของงบประมาณการก่อสร้างโรงเผาขยะแห่งใหม่ของเทศบาลหมดไปกับอุปกรณ์ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น โรงเผาแห่งใหม่ในอัมสเตอร์ดัม(เผาขยะได้ 2,000 ตันต่อวัน) มีมูลค่าประมาณ 600 ล้านเหรียญสหรัฐ ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐใช้ไปกับอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ
เพื่อที่จะให้คุ้มค่ากับการลงทุนทางการเงินที่มากขนาดนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างอุปกรณ์เหล่านี้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้โรงเผาขยะในโรงพยาบาล-ซึ่งเมื่อเทียบกับโรงเผาขยะของเทศบาลแล้วมีขนาดเล็กกว่ามาก-มีจำนวนลดลง ในสหรัฐอเมริกา เตาเผาของเสียที่มีขนาดเล็กที่สุดของโรงพยาบาลเผาขยะได้น้อยกว่า 1 ตันต่อวัน และขนาดใหญ่ที่สุดเผาได้ 50-100 ตันต่อวัน
ถ้ามีการสร้างเตาเผาขนาดเล็กในโรงพยาบาลหรือสถาบันวิจัย โดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับงบประมาณจำนวนมากหรือได้รับเงินทุนมาด้วยวิธีการอื่น เช่น วิทยาลัยสัตวแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล กำลังพิจารณาการสร้างเตาเผาขยะขนาด 1-2 ตันต่อวันเพื่อเผาขยะติดเชื้อซึ่งประกอบด้วย ซากสัตว์ที่ใช้ในการวิจัยและขยะติดเชื้อที่ถูกควบคุม โครงการนี้คาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย 3 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากหน่วยงานอื่น
ประการที่สาม
แม้ว่าเตาเผาขยะจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษทางอากาศที่ทัยสมัยแล้วก็ยังคงมีการเรียกร้องจากประชาชนอย่างกว้างขวาง บ่อยครั้งที่การเรียกร้องนั้นสามารถที่จะหยุดโครงการไว้ได้ เช่น โครงการของมหาวิทยาลัยคอร์แนลที่กล่าวถึงข้างต้น ได้จุดชนวนให้เกิดข้อโต้แย้งทางสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อไม่นานมานี้ที่มหาวิทยาลัย ขณะที่เขียนบทความนี้ คณบดีวิทยาลัยสัตวแพทย์สัญญาว่าจะหยุดโครงการไว้ก่อนจนกว่าประชาชนจะได้โอกาสมีส่วนร่วม ในทางตรงกันข้าม เทคโนโลยีที่ไม่มีการเผากระตุ้นความตื่นเต้นของประชาชนให้มีการต่อต้านน้อยมาก
ประการที่สี่
ไม่มีทางที่เตาเผาขยะใดๆ จะได้รับการติดตามตรวจสอบการปล่อยไดออกซินและโลหะเป็นพิษอย่างต่อเนื่อง การวัดค่าไดออกซินต้องเก็บตัวอย่างก๊าซร้อนเป็นเวลา 5-8 ชั่วโมงและส่งกากที่ได้จากการกรองไปยังห้องทดลอง กระบวนการนี้ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ตัวอย่างเช่น เตาเผาขนาดเล็กมีการตรวจสอบหาค่าไดออกซินไม่บ่อยนัก, เตาเผาขยะในโรงพยาบาลที่มีการดำเนินการในสหรัฐในปี พ.ศ. 2536 มีประมาณ 5,000 แห่ง ไม่ถึง 20 แห่งที่ได้รับการตรวจสอบค่าไดออกซิน
ยิ่งไปกว่านั้นนั้น เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการจะได้รับการแจ้งล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนก่อนจะมีการตรวจ ทำให้มีเวลาเหลือพอที่จะปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ได้ผลที่ดีที่สุดและสมารถที่จะปรับเปลี่ยนขยะที่นำมาเผาในวันที่มีการทดสอบได้
สิ่งนี้ทำให้การวัดค่าไดออกซินตลอดจนการนำมาใช้เป็นดัชนีชี้ให้เห็นถึงปริมาณการปล่อยไดออกซินในระหว่างการดำเนินงานปกติมีความน่าเชื่อถือน้อยลง
ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อมีการอนุญาตให้สร้างโรงเผาขยะจากโรงพยาบาลขึ้นแห่งหนึ่ง ต้องมีการปล่อยสารไดออกซินเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประการที่ห้า
เนื่องจากยุทธศาสตร์การควบคุมมลพิษทางอากาศให้ความสำคัญกับการตรวจจับไดออกซินมากกว่าป้องกันการเกิด ซึ่งวิธีการนี้จะได้ผลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการควบคุมที่ถูกต้องและจะถูกละเลยไม่ได้ แม้แต่โรงเผาขยะที่ทันสมัยก็ยังไม่สามารถยืนยันในเรื่องนี้ได้ เช่น โรงเผาขยะแห่งหนึ่งในรอตเตอร์ดัม ประเทศฮอลแลนด์ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษทางอากาศที่ทันสมัยในราคา 240 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึงกระนั้นการดำเนินการในระยะเวลา 12 เดือนหลังจากการติดตั้ง อุปกรณ์ดังกล่าวถูกละเลยถึงร้อยละ 10เมื่อตรวจสอบประมาณการปล่อยไดออกซินจากโรงงานก่อนมีการติดตั้งอุปกรณ์นั้น พบว่าโรงงานนี้ปล่อยไดออกซินจำนวน 230 กรัมต่อปี ดังนั้น การละเลยร้อยละ 10 จะทำให้มีไดออกซินประมาณ 23 กรัมต่อปี เข้าสู่สิ่งแวดล้อมของฮอลแลนด์ซึ่งสูงกว่าที่ชาวฮอลแลนด์หวังไว้ว่าโรงเผาขยะทั้งหมดในประเทศจะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมในปี ค.ศ. 2000 ถึง 5 เท่า

ตารางที่ 2 แสดงการวัดค่าจากโรงเผาขยะของเทศบาลหลายแห่งในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษทางอากาศ (วัดทั้งก่อนและหลังการติดตั้ง) ตัวเลขเหล่านี้เน้นให้เห็นว่า การตรวจจับไดออกซินมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร และไดออกวินจะกลายเป็นปัญหาที่มีความรุนแรงเพียงใด หากอุปกรณ์ดังกล่าวถูกละเลย
ประการที่ 6
มีการปล่อยไดออกซินเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเตาเผาเริ่มหรือหยุดเดินเครื่อง ตารางที่ 3 เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบความแตกต่างที่เกิดขึ้น โดยปกติโรงเผาขยะต่างๆ จะไม่มีการทดสอบภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวนี้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เตาเผาขยะจากโรงพยาบาลมีการเปิดและปิดเครื่องเป็นประจำ

ประการที่ 7
มีความแปรปรวนอย่างมากเกิดขึ้นตลอดเวลาที่มีการวัดค่าไดออกซินจากโรงงานที่ระบุไว้แห่งหนึ่ง สิ่งนี้เน้นถึงปัญหาความน่าเชื่อถือของผลการตรวจสอบที่ไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง

ตารางที่ 4 ให้ตัวอย่างจำเพาะของไดออกซินที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ที่โรงเผาขยะเทศบาลแห่งหนึ่งในสหรัฐ ไม่มีความชัดเจนว่าทำไมจึงมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในระหว่าง 7 ปีที่มีการทดสอบ คำอธิบายหนึ่งที่เป็นไปได้ คือ อุปกรณ์ดังกล่าวได้เสื่อมไปตามกาลเวลา สิ่งนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการตรวจสอบอย่างมีคุณภาพ (ซึ่งมีราคาแพง) เจ้าหน้าที่ผู้ผ่านการอบรมเฉพาะทาง(ซึ่งมีราคาแพง) และชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์ที่ต้องเปลี่ยนเป็นระยะ (ซึ่งมีราคาแพง) เป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง
ประการที่ 8
ยิ่งมีความพยายามจับโลหะเป็นพิษและไดออกซินในการควบคุมมลพิษทางอากาศเท่าไร เถ้าเบาที่สะสมอยู่ก็ยิ่งมีความเป็นพิษมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา อันดับแรก คือ อันตรายจากเถ้าเบาต่อคนงานและผู้ที่สัมผัสเถ้าเบาโดยตรง โดยเฉพาะเมื่ออุปกรณ์ควบคุมมลพิษปล่อยของเสียทิ้งและได้รับการทำความสะอาด อันดับที่สอง เมื่อเถ้าเบาถูกกำจัดในฐานะของเสียอันตราย-อย่างที่ผมคิดว่ามันควรจะเป็น-ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็จะเพิ่มขึ้นอีก โชคร้ายที่แม้แต่ทางการเองยังอนุญาตให้จัดการกับเถ้าอันตรายเหล่านี้อย่างไม่เหมาะสม โดยคิดว่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหรือเพื่อเลี่ยงความจำเป็นในการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดขยะอันตรายเพิ่มขึ้น เช่น รัฐบาลฮอลแลนด์อนุญาตให้นำเถ้าเบาร้อยละ 35 จากโรงเผาขยะเทศบาลผสมกับแอสฟัลท์เพื่อใช้เทผิวถนน
ประการที่ 9
เมื่อมีการก่อสร้างหรือติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษ นั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายมากมายมหาศาลในระยะยาว เพียงเพื่อใช้จัดการกับของเสียทางการแพทย์ ในอีก 20 ปีหรือมากกว่านั้นเราจะพบว่ามีวิธีแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผลและคุ้มค่ามากกว่านี้ นอกจากนั้น อุปกรณ์นี้ยังจะผลักดันให้มีพฤติกรรมปละพัฒนาการในการทิ้งของเสียมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เราละเลยการแก้ปัญหาแบบ การป้องกันไว้ก่อน
โดยสรุป มันแสดงให้เห็นถึง เรื่องราวที่ทำเป็นปกติในชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งกำลังคุกคามอนาคตของมนุษย์ในโลกอันจำกัด
ยุทธศาสตร์การป้องกันไว้ก่อนสำหรับการแก้ปัญหาของเสียทางการแพทย์
ก่อนที่จะเข้าสู่เทคโนโลยีที่สามารถจัดการกับขยะติดเชื้อได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องมองถึงภาพรวมของยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อทำความเข้าใจวิธีการแก้ไขปัญหาของเสียทางการแพทย์ที่มีเหตุผลอันควรซึ่งแบ่งได้เป็นขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
ขั้นที่1
โรงพยาบาลหรือสถาบันวิจัยควรจัดประชุมเพื่ออภิปรายประเด็นปัญหาของเสีย โดยเชิญเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร, แพทย์, พยาบาลและพนักงานอื่นๆ เข้าร่วม บ่อยครั้งมากที่การตัดสินใจในเรื่องนี้เป็นของฝ่ายบริหารร่วมกับคณะที่ปรึกษาซึ่งมีความเชื่อมั่นสูงต่อเทคโนโลยีการเผา
ขั้นที่ 2
คณะทำงานควรมีการวิเคราะห์เพื่อจำแนกการเกิดของเสียชนิดต่างๆ และวิเคราะห์ความจำเป็นของการเกิดขยะเหล่านั้น ในขั้นนี้ควรกลับไปสู่ข้อโต้แย้งเรื่องสิ่งที่หมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้และสิ่งที่สามารถกำจัดได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้รวมไปตั้งแต่ภาชนะในโรงอาหารที่ทำลายได้ไปจนถึงเข็มฉีดยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย
ขั้นที่ 3
คณะทำงานควรร่างนโยบายการดูแลรักษาสถานที่ที่ดี(good housekeeping) เกี่ยวกับการคัดแยกขยะต่างชนิด สิ่งแรกที่ควรทำ คือแยกขยะที่ไม่ติดเชื้อ เช่น ขยะสำนักงาน ขยะโรงอาหาร ซึ่งมีประมาณร้อยละ 80-85 ของขยะทั้งหมดออกจากขยะติดเชื้อ ซึ่งมีเพียงแค่ร้อยละ 15-20 เท่านั้น
ขั้นที่ 4
ส่วนหนึ่งของนโยบายในการดูแลรักษาสถานที่ที่ดี คณะทำงานควรให้นโยบายในการวัสดุแหลมคม หมายถึงให้มีการระบุชัดเจนและจัดให้มีภาชนะที่ปลอดภัยสำหรับจัดเก็บวัสดุแหลมคมเหล่านี้ ในขณะที่วัสดุเหล่านี้มีเพียงไม่ถึงร้อยละ 1 ของของเสียทั้งหมด แต่มีโอกาสแพร่เชื้อโรคจากผู้ป่วยไปยังเจ้าหน้าที่หรือคนทั่วไปได้สูงกว่าร้อยละ 90 ทีเดียว
ขั้นที่ 5
คณะทำงานควรทำการวิจัยเทคโนโลยีต่างๆที่หาได้เพื่อจัดการกับขยะติดเชื้อทั้งในและนอกโรงพยาบาล จัดทำเป็นตารางเปรียบเทียบทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ของทางเลือกเหล่านั้น
ขั้นที่ 6
คณะทำงานควรเตรียมตารางสำหรับการจัดการของเสียที่ก่อโรค เช่น ชิ้นส่วนร่างกาย ซากสัตว์อันเกิดจากการแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไปมีสัดส่วนน้อยมากจากจำนวนทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ทำการทดสอบในขั้นที่ 5
ขั้นที่7
ตัวแทนจากชุมชนควรได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมอภิปรายและตัดสินใจเลือกทางเลือกที่มีอยู่ทั้งหมด บางคนอาจแย้งว่าชุมชนควรได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนแรกเรื่อยมา
ขั้นที่8
หากสถานการณ์นำไปสู่การโต้แย้งว่าควรจะดำเนินการทางเลือกใด ผมเห็นว่านี่คือประเด็นที่ควรมองหาความช่วยเหลือจากภายนอก ผมเสนอให้มีการสนับสนุนเงินทุนที่เท่าเทียมกันเพื่อตรวจสอบทางเลือกที่ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนอย่างละเอียดรอบคอบ วิธีการนี้จะเพิ่มความปลอดภัยในการแก้ปัญหาของเสียดังกล่าวอย่างมีเหตุผล และลดความบาดหมางใจระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน
เทคโนโลยีแบบไม่มีการเผาเพื่อกำจัดของเสียติดเชื้อ
หากสถานการณ์นำไปสู่การโต้แย้งว่าควรจะดำเนินการทางเลือกใด ผมเห็นว่านี่คือประเด็นที่ควรมองหาความช่วยเหลือจากภายนอก ผมเสนอให้มีการสนับสนุนเงินทุนที่เท่าเทียมกันเพื่อตรวจสอบทางเลือกที่ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนอย่างละเอียดรอบคอบ วิธีการนี้จะเพิ่มความปลอดภัยในการแก้ปัญหาของเสียดังกล่าวอย่างมีเหตุผล และลดความบาดหมางใจระหว่างโรงพยาบาลและชุมชน
กลุ่มต่างๆ ที่ได้มีการศึกษาเปรียบเทียบเทคโนโลยีการกำจัดของเสียโดยไม่เผา ประกอบไปด้วย คณะกรรมการการรีไซเคิลแห่งออนตาริโอ เมืองโตรอนโต แคนาดา, กลุ่มแนวร่วมสิ่งแวดล้อมจากอัลบานี นิวยอร์ก และภาคีโรงพยาบาล 14 แห่งในมินนีโซตา สหรัฐอเมริกา, และกลุ่ม SHRISTI จากกรุงเดลี อินเดีย
ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี 3 แบบซึ่งเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาลแถบอเมริกาเหนือและยุโรป ดังต่อไปนี้
- การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ
- การบดให้ละเอียดแล้วตามด้วยการฆ่าเชื้อทางเคมี
- การบดให้ละเอียดแล้วตามด้วยการใช้ไมโครเวฟ
จุดประสงค์ของบทความนี้คงไม่เลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งจากทางเลือกต่างๆ เหล่านี้ แต่คงพูดตรงๆ ได้ว่า
- แต่ละทางเลือกควรได้รับการตรวจสอบอย่างดีก่อนมีการตัดสินใจ และแน่นอนว่าต้องพิจารณาก่อนที่จะเลือกวิธีการเผา
- กล่าวในฐานะที่ผมเป็นนักเคมีที่มีความห่วงใยในปัญหาสารเคมีร้ายแรงคนหนึ่ง ผมคิดว่าทางเลือกเหล่านั้นไม่มีความพยายามที่จะทำลายวัสดุที่มีแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่างๆ อาศัยอยู่ จึงไม่สร้างปัญหาสาเคมีร้ายแรงให้เกิดขึ้น ซึ่งไม่มีผลต่อปัญหาติดเชื้อที่ตามมา
- วิธีการทั้งหมดนี้ล้วนคุ้มค่าและถูกกว่าการสร้างเตาเผาขยะที่ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษทางอากาศในโรงพยาบาลหรือส่วนภูมิภาค
ปัญหาของเสียที่ก่อโรค
อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ของเสียที่ก่อโรค (เช่น ชิ้นส่วนร่างกายและซากสัตว์ที่ใช้ในการวิจัย) เหล่านั้นไม่ยอมรับเทคโนโลยีแบบไม่มีการเผา แต่โชคดีที่ของเสียเหล่านี้มีอัตราส่วนน้อยมาก (ไม่ถึงร้อยละ 1) จากของเสียทั้งหมดจากโรงพยาบาลหรือสถาบันวิจัย ข้อเสนอแนะของผม คือ ใช้วิธีที่เราใช้กับร่างกายมนุษย์ นั่นคือ การฝังและการเผา
ในการเผามีข้อควรระวังดังต่อไปนี้
- อย่าหุ้มชิ้นส่วนด้วยพลาสติก ควรใช้วัสดุที่มีเส้นใยที่ดูดซึมง่าย เช่น กระดาษแข็งอย่างหนา หรือ กล่องไม้
- ไม่ควรเผาชิ้นส่วนรายการที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีจนกระทั่ง 8 ครึ่งชีวิตได้ระเหยออกไป และ
- ถอดเอาสารปรอทที่อยู่ในฟันออกก่อนเผา
การฝังอย่างระมัดระวังในบริเวณที่เลือกแล้ว เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด แต่ในบางแห่งที่มีปัญหาที่ว่างราคาสูงอาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ
บทสรุป
หลังจากที่ได้ตรวจสอบปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหาของเสียทางการแพทย์ด้วยวิธีการย้อนหลังโดยการเผาในโรงเผาขยะที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมมลพิษทางอากาศ, และด้วยวิธีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยลดปัญหาขยะ คัดแยกขยะ และไม่ใช้เทคโนโลยีการเผากับขยะติดเชื้อ
ข้อโต้แย้งทั้ง 2 นี้ นำไปสู่ข้อสังเกตของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ที่ว่า
ผู้ฉลาดกว่าเลือกแก้ไขปัญหา ผู้อวดฉลาดเลือกหลีกเลี่ยงปัญหา