
กลับมาเยือนชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาในภาพอยู่ถัดขึ้นมาจากเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา แนวๆ ที่ดวงอาทิตย์กำลังลับฟ้าคือ ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอเมืองชัยนาท ในช่วงปี 2550 หลังการรัฐประหาร(โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โค่นรักษาการนายกรัฐมนตรี ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 19 กันยายน 2549) พื้นที่แห่งนี้ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งใน 14 พื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย
☢️
การท้าทายแผนการใหญ่ของ “คณะรัฐมนตรีขิงแก่และมาเฟียพลังงาน” ของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่จับยัดโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมกำลังผลิต 4 กิกะวัตต์ เข้าไปในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(PDP) นับเป็นภารกิจยากเย็นแสนสาหัส แต่ถึงกระนั้นเราก็ลุยกับมันอย่างถึงที่สุด
☢️
กลยุทธการรณรงค์หลายด้านหลากมิติ จากเล็กไปหาใหญ่ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทั้งเป็นตามแผนและด้นกันสดๆ เก็บสะสมจังหวะก้าวเล็กๆ เอาความพ่ายแพ้เป็นบทเรียน และการดื้อแพ่งของชุมชน รวมถึงเงื่อนไขปัจจัยภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งหายนะภัยนิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ทำให้ “รัฐบาลในยุคต่อๆ มา” ต้องล่าถอยยอมถอดนิวเคลียร์ออกจากแผนพลังงานในที่สุด
☢️
บางฝ่าย ทั้งฝ่ายก้าวหน้าและล้าหลัง มื่อพูดถึงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อกู้วิกฤตโลกร้อน ก็บอกว่านิวเคลียร์เป็นทางออก เรื่องนี้ได้ถกเถียงกันสุดๆ ไปแล้ว แต่แน่นอนครับ เราสามารถถกเถียงกันต่อไป
☢️
ผมเชื่อว่า การถกเถียงปัญหาโดยไม่ต้องหาข้อยุติ ดีกว่าพยายามหาข้อสรุปโดยไม่มีการถกเถียงกันเลย