5 กุมภาพันธ์ 2556

แม่น้ำดานูบเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรปโดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำ 801,463 ตารางกิโลเมตร (309,447 ตารางไมล์) ครอบคลุม 19 ประเทศ เมื่อแม่น้ำสายใหญ่นั้นไปถึงทะเลดำจะมีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่โดดเด่นซึ่งก็คือ “เอเวอร์เกลดส์” ของยุโรป สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบเป็นถิ่นที่อยู่ของนกมากกว่า 300 สายพันธุ์และปลาน้ำจืด 45 สายพันธุ์

สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ปลายยุคหิน (ยุคหินใหม่) และชาวกรีก โรมัน และไบแซนไทน์โบราณได้สร้างท่าเรือการค้าและด่านทหารตามแนวชายฝั่งแห่งนี้ ซึ่งในปัจจุบันคือพรมแดนระหว่างโรมาเนียและยูเครน พื้นที่นี้เป็นมรดกโลกขององค์การสหประชาชาติทั้งในด้านธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของมนุษย์และสำหรับวัฒนธรรมการเดินเรือแบบดั้งเดิมในพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำท่วมถึง ภูมิประเทศปรับเปลี่ยนและก่อรูปใหม่ทั้งโดยอิทธิพลของธรรมชาติและมนุษย์

ภาพด้านบนบันทึกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 โดยเครื่องมือ Advanced Land Imager (ALI) บนดาวเทียม Earth Observing-1 (EO-1) ของ NASA สามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบขยายออกทับถมในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา Chilia (หรือ Kilia) ส่วนด้านเหนือสุด มีอายุน้อยที่สุดในบรรดาพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำซึ่งมีอายุระหว่าง 300 ถึง 400 ปีและส่วนใหญ่อยู่ในยูเครน พื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพด้านบนเป็นส่วนหนึ่งของเขตสงวนชีวมณฑลดานูบ (Danube Biosphere Reserve)

แถบๆ จุดศูนย์กลางของภาพถ่ายดาวเทียม เมืองเล็กๆ ของจังหวัด Vylkove เป็นที่รู้จักในชื่อ “Ukranian Venice” เนื่องจากมีเครือข่ายลำคลอง ด้านซ้ายล่าง พื้นที่ Sulina มีอายุมากกว่าพื้นที่ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทอดยาวไปทางทิศใต้และลึกเข้าไปในโรมาเนีย สีขาวและ เส้นโค้งสีน้ำตาลเผยให้เห็นสันเขาชายหาดและแนวชายฝั่งในอดีต โดยมีสันส่วนที่ขาวกว่าประกอบด้วยทรายควอทซ์บริสุทธิ์เกือบทั้งหมดในเนินทรายสูงทางตะวันออกของสันเขา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มราบซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลในช่วงฤดูหนาวที่แห้งแล้ง

คลอง Bystroye ผ่านใจกลางของ Chilia lobe เป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างดุเดือดในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา การสร้างเขื่อนและร่องน้ำของแม่น้ำดานูบทั่วยุโรปได้ลดการไหลของน้ำและปริมาณตะกอนลงเหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณตะกอนทั้งหมด ตามที่นักธรณีวิทยาชายฝั่ง Liviu Giosan แห่งสถาบันสมุทรศาสตร์ Woods Hole เคยกล่าว ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลยูเครนได้ขุดลอกช่องทางสามเหลี่ยมปากแม่น้ำบางส่วน (รวมถึง Bystroye) และเสนอให้มีการขุดลอกเพื่อขยายช่องทางการเดินเรือสำหรับเรือขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงการสะสมของตะกอนดินแม่น้ำส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนและความสามารถในการฟื้นฟูพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ในรายงานปี 2555 ที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์ Giosan ตั้งข้อสังเกตว่าลักษณะสัณฐาน องค์ประกอบเคมีและชีววิทยาของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดานูบเปลี่ยนแปลงไปนานก่อนยุคอุตสาหกรรมยุคสมัยใหม่ และความเค็มที่ลดลงในทะเลดำได้เปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของแพลงก์ตอนพืชที่โดดเด่นและส่งผลกระทบไปทั่วทั้งข่ายใยอาหาร

NASA Earth Observatory image by Jesse Allen and Robert Simmon, using EO-1 ALI data provided courtesy of the NASA EO-1 team and the U.S. Geological Survey. Caption by Mike Carlowicz. Congratulations to Kevin Martin, CEO/senior meteorologist for TheWeatherSpace.com, for being the first person to solve the puzzler.