ASMC หรือ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาเฉพาะทางอาเซียนซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์น่าจะเป็นผลงานเดียวที่พอเชิดหน้าชูตาของความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Transboundary Haze Pollution) ทำให้เราเห็นสเกลในระดับภูมิภาคไปพ้นจากพรมแดนรัฐชาติ

ASMC คาดการณ์สภาพอากาศไปจนถึงกลางเดือนเมษายน 2565 นี้ ออกมาเป็นแผนที่แสดงแบบแผนการกระจายตัวของอุณหภูมิและฝน

ถ้าสภาพอากาศเป็นไปตามการคาดการณ์นี้ ชัดเจนว่า อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงโดยเฉพาะ สปป. ลาว/ภาคเหนือและอีสานของไทย ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (เย็นกว่าค่าเฉลี่ย) และแห้งมากขึ้น (ฝนไม่ตกหรือตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย) จะเป็นปัจจัยชี้ถึงแนวโน้มของความรุนแรงของมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามแดน

จากการแปลผลภาพถ่ายดาวเทียมโดย Global Forest Watch การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินใน สปป.ลาว มาจากสิ่งที่เรียกว่า Comodity-driven Deforestation (แสดงในกราฟแท่งส่วนที่เป็นสีแดง) กล่าวง่ายๆ คือ มีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ส่งออกมากขึ้นๆ

งานต้องใช้ Investigative และ Supply Chain research ถึงจะรู้ว่า “บริษัทอุตสาหกรรม” ไหนที่เป็นตัวการก่อมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามแดน