13 กรกฎาคม 2565

เดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2565 คลื่นความร้อนจู่โจมยุโรป แอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและเอเชีย โดยอุณหภูมิไต่ระดับขึ้นไปมากกว่า 40 องศาเซลเซียส(104 องศาฟาเรนไฮต์) ในหลายพื้นที่ และทุบสถิติอุณหภูมิสูงสุดเดิมที่เคยมีมายาวนาน

แผนที่ด้านบนแสดงแบบจำลองอุณหภูมิอากาศในซีกโลกด้านตะวันออกเกือบทั้งหมดในวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 เป็นข้อมูลจาก Goddard Earth Observing System Model, Version 5 (GEOS-5) ซึ่งเป็นแบบจำลองบรรยากาศระดับโลกที่ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการทางกายภาพใกล้พื้นผิวโลกและในชั้นบรรยากาศ

ในยุโรปตะวันตกซึ่งเผชิญกับภันแล้งรุนแรงอยู่ก่อนแล้ว คลื่นความร้อนได้เร่งให้ไฟขยายวงกว้างทั่วโปรตุเกส สเปนและบางส่วนของฝรั่งเศส ในโปรตุเกส อุณหภูมิทะลุไปถึง 45 องศาเซลเซียส(113 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 13 กรกฎาคม ในเมือง Leiria มีไฟป่าไหม้ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 3,000 แฮกตาร์ (7,400 เอเคอร์) กว่าครึ่งประเทศตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน ทีมดับไฟฟ่าต้องเข้าจัดการกับไฟป่า 14 พื้นที่

12 กรกฏาคม 2022

ภาพด้านบนแสดงจุดเกิดไฟในโปรตุเกสและสเปนซึ่งตรวจจับโดยเครื่องมือ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) บน ดาวเทียม Suomi NPP ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 การเกิดไฟที่เด่นชัดอยู่ทางตะวันตกของกรุงมาดริด รวมถึงเมือง Las Hurdes ที่มีพื้นที่ 1,500 แฮกตาร์ (3,700 เอเคอร์) ถูกไฟเผาผลาญ

ในอิตาลี คลื่นความร้อนที่ทุบสถิติทำให้ธารน้ำแข็ง Marmolada บางส่วนใน the Dolomites พังทลายในวันที่ 3 กรกฎาคม หิมะ น้ำแข็งและหินถล่มลงมาทำให้นักปีนเขาเสียชีวิต 11 คน

ในสหราชอาณาจักร สำนักอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนคลื่นความร้อนในระดับสีอำพัน เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงไต่ระดับอย่างต่อเนื่องและอาจทุบสถิติความร้อนสูงที่เคยมีมาทั้งหมด

ในแอฟริกาเหนือ ตูนีเชีย ต้องเจอกับทั้งคลื่นความร้อนและไฟที่เข้าทำลายพืชอาหารของประเทศ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ตูนิสซึ่งเป็นเมืองหลวงมีอุณหภูมิถึง 48 องศาเซลเซียส (118 องศาฟาเรนไฮต์) โดยเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี

ในอิหร่าน ยังคงมีอุณหภูมิสูงในเดือนกรกฎาคมหลังจากเพิ่มสูงขึ้นไปถึง 52 องศาเซลเซียส (126 องศาฟาเรนไฮต์) ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน

ในจีน ฤดูร้อนนำพาคลื่นความร้อนมา 3 รอบ ทำให้ถนนเสียหาย ทาร์หลอมเหลว และกระเบื้องหลังคาบ้านแตกออก หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาของเซี่ยงไฮ้(Shanghai Xujiahui Observatory) ซึ่งเก็บข้อมูลอุตุนิยมวิทยามาตั้งแต่ปี 2416 ระบุ นี่คือระดับอุณหภูมิสูงสุดที่เคยมีการบันทึก: 40.9 องศาเซลเซียส (105 องศาฟาเรนไฮต์) ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 ความชื้นในอากาศและจุดน้ำค้าง(อุณหภูมิที่เมื่ออากาศชื้นถูกทำให้เย็นลงขณะที่ปริมาณไอน้ำยังคงที่ การลดอุณหภูมิถึงจุดหนี่งจะทำให้ไอน้ำเกิดการอิ่มตัว และกลั่นตัวควบแน่นเป็นหยดน้ำ ตัวอย่าง dew point ที่เห็นในชีวิตประจำวัน เช่น การตั้งแก้วน้ำเย็นไว้ และมีหยดน้ำมาเกาะที่ผิวแก้วด้านนอก) ที่มาพร้อมกับอากาศอุ่นในช่วงกลางคืนเป็นสภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using GEOS-5 data from the Global Modeling and Assimilation Office at NASA GSFC and VIIRS day-night band data from the Suomi National Polar-orbiting Partnership. Story by Sara E. Pratt.

References & Resources

AccuWeather (2022, June 22) Scorching Middle East heat produces 126-degree temperature in Iran Scorching Middle East heat produces 126-degree temperature in Iran. Accessed July 14, 2022.
CNN (2022, July 13) Dozens of cities issue warnings as temperatures surge. Accessed July 14, 2022.
Reuters (2022, July 14) Firefighters scramble to put out flames in heatwave-hit Portugal, Spain. Accessed July 14, 2022.
Reuters (2022, July 14) Shanghai declares another rare extreme heat warning. Accessed July 14, 2022.
Reuters (2022, July 13) Scorching heatwave sparks wildfires in Europe. Accessed July 14, 2022.
Reuters (2022, June 27) Heat wave and fires damaging Tunisia's grain harvest. Accessed July 14, 2022.
Washington Post (2022, July 14) Temperatures soar to 115 in Europe as heat wave expands. Accessed July 14, 2022.