ผมก็ยังยืนยันว่า อีเวนต์แบบนี้ ไม่ใช่การเอารูปแบบ conference of parties มาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกของโลกตามที่คุณวรวุธ ศิลปอาชา โฆษณา และนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาอ่านตามสคริปต์

อีเวนต์แบบนี้เป็นได้เพียงการออกร้านโชว์ greenwash ของอุตสาหกรรมฟอสซิล ผ่านการสปอนเซอร์ และ CSR เท่านั้น

ชื่อของอีเวนต์ก็ mislead ควรจะใช้ชื่อว่า Business Forum on Carbon Market จะตรงกว่า สบายใจกว่าเยอะ ท่านจะได้ไม่ต้องโกรธเมื่อนักข่าวตั้งคำถามแรงๆ ว่า ทำไมไม่มีภาคประชาชน ท่านก็สามารถตอบได้ว่า ก็นี่มันเป็น Business Forum

Climate Action หรือปฏิบัติกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องเปิดให้มีพื้นที่(space) ที่มีหัวใจสำคัญอยู่ที่กระบวนการมีส่วนร่วมที่เป็นประชาธิปไตย(civic space/democratic space) ซึ่งรัฐข้าราชการ/เทคโนแครตไทยไม่แคร์ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็ใช้ช่องว่างที่มีอยู่แสวงกำไร ภาคประชาชนกลายเป็น trouble maker เป็นอุปสรรคขัดขวางการการดำเนินการ “ฟอกเขียว” คาร์บอน หรือ การดำเนินการที่เป็นไปตามปกติ (business as usual)

มีบู๊ตจัดนิทรรศการบางบู๊ตในงาน TCAC มี business model ที่มีความยั่งยืนจริงๆ แต่ก็ถูกบดบังด้วย “กระแสฟอกเขียว” ของอุตสาหกรรมฟอสซิลยักษ์ใหญ่

มีบู๊ตของเยาวชนจากเครือข่ายที่สร้างขึ้นโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่มุมหนึ่ง เท่าที่เห็น คำถามคือ ทำไมเยาวชนเป็นได้เพียงไม้ประดับในงานนี้ พื้นที่ของเขาในงานที่ถูกออกแบบมาเช่นนี้มีน้อยมาก พวกเขามีศักยภาพและพลังได้มากกว่านี้ พวกเขาชาญฉลาดกว่าผู้ใหญ่ที่ร่วมจัดงานนี้ด้วยซ้ำไป

ปาฐกถาของนายกรัฐมนตรีไร้พลัง ไม่มีแรงบันดาลใจอะไร พูดถึงอนาคตแต่ก็ไม่เห็นอนาคต พูดเนิบนาบไปตามสริปต์ ต้องเงี่ยหูฟังเพราะห้อง Royal Paragon มีความ echo(ยังกะจัดเวทีคอนเสิร์ต) สรุปคือ ฟังไม่รู้เรื่อง ช่วงที่ peak สุดคือ นายกฯ มอบลูกโลกจำลองให้เด็กสองคนบนเวที เป็นนัยว่า ได้ส่งมอบอนาคตให้กับคนอีกรุ่น

อนาคตที่ส่งมอบจะเป็นอย่างไร หาก Climate Action กลายเป็นวาทกรรมของฝ่ายรัฐและอุตสาหกรรมในการดำรงไว้ซึ่งสถานะที่เป็นอยู่(status quo)ของพวกตน

พูดกันตลอดว่า ประเทศไทยเสี่ยงสูงต่อผลกระทบที่เป็นหายนะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ไม่มีเวทีที่พูดถึง “ความสูญเสียและความเสียหาย(loss and damage) ซึ่งคิดเป็นตัวเลขหลายแสนล้าน หรือมากกว่า 10-20 % ของ GDP