ปธน.อียิปต์มอบหมายให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ คุณ Sameh Shoukry เป็นประธาน COP27 อีเวนต์ระดับโลกที่จะมีขึ้นในเมือง #SharmElSheikh เมืองตากอากาศริมฝั่งทะเลแดงบนแหลมไซนายของอียิปต์

ตอน COP26 คนที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานคือ คุณ Alok Sharma ซึ่งลาออกจากรัฐมนตรีต่างประเทศ ฝ่ายยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรมของรัฐบาลสหราชอาณาจักร มาเตรียมงาน COP26 ที่กลาสโกว์แบบเต็มเวลา ในกรณีของคุณ Sameh Shoukry ไม่น่าจะลาออกจากตำแหน่ง แกมีเวลาเตรียมงาน COP27 น้อยมาก แต่รัฐบาลอียิปต์ก็ต้องลุยเต็มที่ในฐานะเจ้าภาพ ปธน. คงมั่นใจแกในฐานะเป็นนักการทูตมืออาชีพ Sameh Shoukry ดำรงตำแหน่ง รมต ต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2557 ก็ 8 ปีพอดี

เท่าที่ทราบ(จากการสนทนากับเพื่อนกรีนพีซในแอฟริกาเหนือ) รัฐบาลอียิปต์ซึ่งขณะนี้ปกครองแบบอำนาจนิยมนั้นใช้นักการทูตหนักมากเพื่ออิงแอบและต่อรองกับกลุ่มประเทศตะวันตก อียิปต์ยังเป็นกลุ่มประเทศค้าขายอาวุธรายใหญ่ และพยายามเอาใจกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปโดยมีตรวจตราผู้ลี้ภัย(จากแอฟริกาเหนือ)ตามแนวชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน

ที่ผ่านมา ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ อียิปต์จะอยู่กับกลุ่มแอฟริกัน-อาหรับ ในการเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศ อิยิปต์ยังอยู่ในกลุ่ม G77+จีน ต้องจับตาดูครับว่า จีนจะมาไม้ไหนในเวที COP27

ในการเจรจาที่ผ่านมา อียิปต์มีบทบาทนำในการผลักดันประเด็นการปรับตัว(Apdatation) และการเงิน(finance) และบ่อยครั้งที่อียิปต์ไปร่วมกับกลุ่มประเทศอาหรับเพื่อปกป้องผลประโยชน์อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซฟอสซิล

ความท้าทายสำคัญของ คุณ Sameh Shoukry นอกจากมีเวลาเตรียมการน้อยแล้ว ทีมงานของแก(presidency team) ก็มีนิดเดียวครับ ราวๆ 15 คนและส่วนใหญ่เป็นนักการทูต เมื่อเปรียบเทียบกับ COP26 คุณ Alok Sharma แกจัดเต็ม ด้วยทีมงาน 218 คน!

UNFCCC บอกว่า การเป็นเจ้าภาพ Conference of Parties เป็นเรื่องที่น่าพรั่นพรึง แต่ถ้าทำได้ดี ก็จะได้รับการชื่มชม (hosting a United Nations climate conference is a formidable but rewarding – challenge) ต่อให้เตรียมการดีเพียงใด ก็ต้องจัดการกับความท้าทายครับ

อย่างเช่น การที่มีข้อวิจารณ์ว่า Thailand Climate Action Conference ไม่มีภาคประชาชน ไม่ใช่ COP รัฐมนตรีเจ้าภาพงานก็ไม่ต้องหัวเสียอะไรมาก ถึงต้องกระกระแหนว่า “มือไม่พายอย่าเอาเท้าราน้ำ”

เป็น Public Figure ต้องไม่เปราะบาง ฉลาดและสง่างามครับ