1992 – 2016

ในคริสตทศวรรษ 1970 เนปาลเผชิญกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม ป่าบนไหล่เขาของเนปาลเสื่อมโทรมลงเนื่องจากการขยายพื้นที่ปศุสัตว์และการเก็บเกี่ยวไม้ฟืน ซึ่งนำไปสู่น้ำท่วมและดินถล่มที่เพิ่มขึ้น รายงานของธนาคารโลกในปี 2522 เตือนว่าหากไม่มีโครงการปลูกป่าขนาดใหญ่ ป่าบนเนินเขาของประเทศจะหายไปอย่างมากภายในปี 2533

ในคริสตทศวรรษที่ 1980 และ 1990 รัฐบาลเนปาลเริ่มประเมินแนวปฏิบัติในการจัดการป่าไม้ระดับชาติอีกครั้ง ซึ่งนำไปสู่พระราชบัญญัติป่าไม้ที่สำคัญในปี 2536 กฎหมายนี้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของเนปาลส่งมอบป่าสงวนแห่งชาติให้กับกลุ่มป่าชุมชน ผลจากการจัดการที่นำโดยชุมชนนี้ ซึ่งเป็นผลการวิจัยล่าสุดที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก NASA พบว่า พื้นที่ป่าปกคลุมเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในประเทศเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยภูเขาแห่งนี้

แผนที่ด้านบนแสดงพื้นที่ป่าในประเทศเนปาลในปี 2535 (บน) และ 2559 (ล่าง) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าในประเทศเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า จากร้อยละ 26 เป็นร้อยละ 45 จากการใช้บันทึกข้อมูลระยะยาวจากดาวเทียม Landsat ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้คนในหมู่บ้านเนปาล กลุ่มวิจัยพบว่าการจัดการป่าชุมชนมีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของป่า การเจริญเติบโตของต้นไม้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระดับความสูงระดับกลาง บนเนินเขาระหว่างเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบของแม่น้ำคงคา

เจฟเฟอร์สัน ฟ็อกซ์ หัวหน้านักวิจัยของโครงการ NASA Land Cover Land Use Change และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ East-West Center ในฮาวายกล่าวว่า “เมื่อชุมชนเริ่มจัดการป่าอย่างแข็งขัน ผืนป่าขยายตัวเป็นผลจากการฟื้นฟูตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่” ก่อนที่เนปาลจะผ่านพระราชบัญญัติป่าไม้ปี 2536 การจัดการป่าไม้ของรัฐบาลก็มีบทบาทน้อยลง “ผู้คนยังคงใช้ประโยชน์จากป่า” ฟ็อกซ์กล่าวเสริม “พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้จัดการอย่างแข็งขัน และไม่มีแรงจูงใจให้ทำเช่นนั้น” เป็นผลให้ป่าถูกปศุสัตว์กินหญ้าอย่างหนักและเก็บมาทำฟืน ผืนป่าเสื่อมโทรมลง

ภายใต้การจัดการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในพื้นที่ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มชุมชนเพื่อพัฒนาแผนโดยสรุปว่าพวกเขาสามารถพัฒนาและจัดการป่าได้อย่างไร ผู้คนสามารถดึงเอาทรัพยากรจากป่า (ผลไม้ ยา อาหารสัตว์) และขายผลิตภัณฑ์จากป่าได้ ชุมชนท้องถิ่นยังจำกัดการเลี้ยงปศุสัตว์และการตัดต้นไม้ และจำกัดการนำไม้มาทำฟืน สมาชิกในชุมชนยังออกลาดตระเวนป่าอย่างแข็งขันเพื่อให้แน่ใจว่าผืนป่าได้รับการปกป้อง

ค.ศ. 1992 – 2016

แผนที่ด้านบนแสดงพื้นที่ป่าในกาบเรปาลโชค (กาบเรปะลันโชค) และซินธุปาลโชค (สินธุปัลโชค) อำเภอต่างๆ ในจังหวัดบักมาตีทางตะวันออกของกาฐมาณฑุ เขตเหล่านี้เป็นจุดสนใจของการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมดินในระดับภูมิภาคเมื่อเร็วๆ นี้ เนื่องจากการเริ่มใช้แนวทางป่าชุมชน เริ่มต้นในคริสตทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลออสเตรเลียให้ทุนสนับสนุนโครงการปลูกต้นไม้ในเขตเหล่านี้ รวมทั้งการพัฒนากลุ่มป่าชุมชน ในป่าชุมชนหลายแห่ง การจัดการอย่างแข็งขันช่วยให้ต้นไม้เติบโตตามธรรมชาติบนเนินเขา แต่จำเป็นต้องมีความพยายามปลูกต้นไม้ในพื้นที่ต่ำซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีพรรณพืช

ป่าชุมชนแห่งหนึ่ง (เรียกว่า เทวทาน หรือป่าศักดิ์สิทธิ์ในภาษาเนปาล) อยู่ทางทิศตะวันออกของกาบเพราพาญโชค จากการใช้ข้อมูล Landsat ย้อนหลังไปถึงปี 2531 กลุ่มวิจัยพบว่าป่าชุมชนเทวทานมีพื้นที่ป่าเพียง 12 %ในปี 2541 ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 92 % ในปี 2559

แม้ว่าป่าชุมชน เทวทานจะไม่ใช่ป่าชุมชนที่เป็นทางการจนกระทั่งปี 2543 แต่ชุมชนก็ได้จัดตั้งกลุ่มจัดการป่าชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ (โดยมีกฎหมายจำกัดการเลี้ยงสัตว์และการเก็บฟืน) หลังจากพระราชบัญญัติป่าไม้ปี 2536 ผลการศึกษาพบว่าต้นไม้และพืชผักต่างๆ งอกใหม่อย่างรวดเร็ว เรือนยอดไม้ขยายออกภายใน 2-3 ปีแรกของการจัดการอย่างไม่เป็นทางการ ภายในขอบเขตของป่าชุมชนนี้ ประมาณร้อยละ 25 ของการฟื้นฟูป่าทั้งหมดเกิดขึ้นก่อนที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าของเนปาลจะยอมรับว่าพวกเขาเป็นกลุ่มป่าชุมชนอย่างเป็นทางการ

ปัจจุบัน ป่าชุมชนครอบคลุมพื้นที่เกือบ 2.3 ล้านเฮกตาร์ หรือประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ที่มีป่าไม้ปกคลุมของเนปาล และจัดการโดยกลุ่มป่าชุมชนกว่า 22,000 กลุ่มซึ่งประกอบด้วย 3 ล้านครัวเรือน รายงานขององค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับสภาพป่าไม้ทั่วโลกในปี 2559 พบว่าสามประเทศที่มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดระหว่างปี 2553 ถึง 2558 ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ร้อยละ 3.3) ชิลี (ร้อยละ 1.8) และ สปป.ลาว(ร้อยละ 0.9) ภายในป่าชุมชนกาบเรอปาญโชคและสินธุปาลโชค การเติบโตของป่าระหว่างปี 2553 ถึง 2558 อยู่ที่ 1.84 %

NASA Earth Observatory images by Lauren Dauphin, using data from Van Den Hoek, J., et al. 2021. Story by Emily Cassidy.
References & Resources

Bluffstone, R. (2018) Collective action yields positive outcomes for Nepal’s forests. World Bank blogs. Accessed February 3, 2023.
Chhetri, R., et al. (2021) Forest, agriculture, and migration: contemplating the future of forestry and agriculture in the middle-hills of Nepal. The Journal of Peasant Studies, 1-23.
Fox, J., et al. (2019). Mapping and understanding changes in tree cover in Nepal: 1992 to 2016. J. Forest Livelihood, 18(1).
NASA Land-Cover and Land-Use Change Program Twenty-Five Years of Community Forestry: Mapping Forest Dynamics in the Middle Hills of Nepal.
The New York Times (1984) Seedlings Dot Nepal’s Once-barren Slops as Country Battles Forest Crisis. Accessed February 3, 2023.
The New York Times (2022) How Nepal Grew Back Its Forests. Accessed Febraury 3, 2023.
Smith, A. C., et al. (2023) Community forest management led to rapid local forest gain in Nepal: A 29 year mixed methods retrospective case study. Land Use Policy, 126, 106526.
United Nations Food and Agriculture Organization (2016) Global Forest Resources Assessment 2015: How are the World’s Forests Changing? Rome: FAO. Accessed February 3, 2023.
Van Den Hoek, J., et al. (2021) Shedding new light on mountainous forest growth: a cross-scale evaluation of the effects of topographic illumination correction on 25 years of forest cover change across Nepal. Remote Sensing, 13(11), 2131.
World Bank Group (1979) Nepal - Development performance and prospects. Accessed February 3, 2023.