ความเข้นข้นของการเกิดไฟโดยรวมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นในเดือนมกราคม 2566 โดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดไฟได้ง่ายในภาคกลางของเมียนมาร์ และภาคเหนือและภาคตะวันออกของกัมพูชา ส่งผลให้พบหมอกควันหนาทึบและต่อเนื่องในบริเวณใกล้เคียงกับกลุ่มจุดความร้อนในเมียนมาร์และกัมพูชา มีสภาพหมอกควันเป็นครั้งคราวในภาคเหนือของประเทศไทย ภาคเหนือของเวียดนาม และบางส่วนของ สปป.ลาว
สถานการณ์หมอกควันในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเดือนมกราคม 2564 พบหมอกควันในระดับปานกลางปกคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศกัมพูชา รวมทั้งประเทศไทยและเมียนมาร์บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีหมอกควันหนาทึบทางตอนเหนือและตะวันออกของกัมพูชาในช่วงปลายเดือน ส่วนภูมิภาคอาเซียนตอนใต้ไม่พบจุดความร้อนเนื่องจากสภาพอากาศที่เปียกชื้น
เดือนมกราคม 2563 พบสภาพหมอกควันต่อเนื่องส่วนใหญ่ในภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย และกัมพูชา ในภาคตะวันออกของเมียนมาร์ ทางตอนเหนือของ สปป.ลาว และทางตอนใต้ของเวียดนาม พบหมอกควันในบางวันจากลมที่พัดปกคลุม ทำให้สังเกตเห็นการเคลื่อนย้ายหมอกควันข้ามแดนในช่วงไม่กี่วันจากภาคเหนือของประเทศไทยไปยังภาคเหนือของ สปป.ลาว และจากกัมพูชาไปยังภาคตะวันออกของประเทศไทย
ที่มา :http://asmc.asean.org/haze-review-of-regional-haze-situation-for-january-2023/
Like this:
Like Loading...
Related