
การตรวจจับจุดความร้อนโดยเซ็นเซอร์ VIIRS บนดาวเทียม และนำมาวิเคราะห์ผ่านอัลกอริธึมของ global Forest Watch ระบุว่า ระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2555 จนถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 มีจุดความร้อนในพื้นที่ประเทศไทยรวมกันทั้งสิ้น 295,703 จุด

เฉพาะวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565-27 กุมภาพันธ์ 2566 พบจุดความร้อน 40,759 จุด คิดเป็น 13% ของจุดความร้อนทั้งหมดในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้น 65% ของจำนวนจุดความร้อนเฉลี่ยต่อปี (ปี 2555-2566)

สรุปง่ายๆ คือปี 2565-2566 มีไฟเกิดขึ้นขยายวงมากที่สุดในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา และแน่นอนไฟที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในเขตป่า
เมื่อพูดถึงไฟป่า เชิญชวนให้อ่าน ไฟป่าอนุรักษ์ : ผลพวงของนโยบายที่ผิดพลาดและสัญญานเตือนของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ได้ที่นี่ https://bit.ly/3L3GYXF
หมายเหตุ : การแสดงข้อมูลการแจ้งเตือนไฟ(fire alert)จากจุดความร้อน ย้อนหลัง 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง 72 ชั่วโมง หรือ 7 วัน
(จุดความร้อนหมายถึงพื้นที่ที่มีค่าความร้อนสูงผิดปกติ หากตำแหน่งที่ตรวจพบเป็นไฟ ก็จะมีรังสีความร้อนทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืนโดยให้ค่าสัมพันธ์กัน แต่หากจุดที่เซนเซอร์ตรวจพบเป็นการสะท้อนรังสีความร้อนจากหลังคาโรงงานหรือวัตถุขนาดใหญ่อื่นๆ เฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ระบบก็อาจจะไม่นับว่าจุดความร้อนนั้นคือไฟ)
ข้อมูลจุดความร้อน VIIRS เป็นเครื่องมือติดตามตรวจสอบจุดความร้อนอันล่าสุดสำหรับ FIRMS (ข้อมูลจุดความร้อนสำหรับระบบการจัดการทรัพยากร) ซึ่งระบุตำแหน่งจุดความร้อนทั่วโลกในเวลาใกล้เคียงกับเวลาจริง ข้อมูลถูกรวบรวมจากเซ็นเซอร์ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) บนดาวเทียมและประมวลผลด้วยอัลกอริธึมการตรวจจับจุดความร้อนเพื่อระบุไฟที่เกิดขึ้นอยู่ แต่ละจุดบนแผนที่แทนพิกเซลขนาด 375 เมตรที่อัลกอริทึมตั้งค่าสถานะไว้
ข้อมูลจาก VIIRS นำมาใช้แทนที่ระบบ MODIS ซึ่งใช้เก็บรวบรวมข้อมูลจุดความร้อนก่อนหน้านี้ใน Global Forest Watch ข้อมูล VIIRS มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูงกว่า (พิกเซล 375 เมตร เทียบกับพิกเซล 1 กิโลเมตร) ซึ่งช่วยปรับปรุงการตรวจจับจุดความร้อนขนาดเล็กและประมาณขอบเขตจุดความร้อนที่เชื่อถือได้มากขึ้น ข้อมูล VIIRS ยังได้รับการปรับเทียบให้ดีขึ้นเพื่อตรวจจับจุดความร้อนในเวลากลางคืน
ข้อมูลจุดความร้อนที่เกิดขึ้นสามารถดูและดาวน์โหลดได้ในช่วง 24 ชั่วโมง 48 ชั่วโมง หรือ 7 วันที่ผ่านมา ข้อมูลจุดความร้อนในอดีตสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ NASA FIRMS ตั้งแต่กลางปี 2559
การแจ้งเตือนไฟ แต่ละครั้งมีค่าความเชื่อมั่นต่ำ น้อย หรือสูง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ประเมินคุณภาพของฮอตสปอต/พิกเซลไฟแต่ละจุด