
(ภาพ: ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊คริดจ์/วิกิมีเดียคอมมอนส์)
แปลจาก https://www.counterpunch.org/2023/04/13/fusion-reactor-65-billion-and-still-no-electricity/ เขียนโดย Linda Pentz Gunter เป็นบรรณาธิการและภัณฑารักษ์ของ BeyondNuclearInternational.org และผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติของ Beyond Nuclear
ตามที่ระบุโดย World Nuclear News โครงการนิวเคีลยร์ฟิวชั่นระหว่างประเทศที่รู้จักกันในชื่อ ITER นั้นมีอยู่ “เพื่อพิสูจน์ความเป็นไปได้ของฟิวชั่นในฐานะแหล่งพลังงานขนาดใหญ่และปราศจากคาร์บอน เป้าหมายของ ITER คือการทำงานที่ 500 เมกะวัตต์ (เป็นเวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 400 วินาที) ด้วยพลังงานความร้อนพลาสมา 50 เมกะวัตต์ ดูเหมือนว่าอาจต้องป้อนไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 300 MWe ในการดำเนินการ จะไม่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ ITER”
สี่ร้อยวินาที ไม่มีไฟฟ้า
ITER ซึ่งย่อมาจาก International Thermonuclear Experimental Reactor เป็นความร่วมมือระหว่าง 35 ประเทศที่ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2528 และตกลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2553 ที่ศูนย์นิวเคลียร์ Cadarache ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส
สมาชิกผู้ก่อตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการของ ITER ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป (จากนั้นรวมถึงสหราชอาณาจักรซึ่งยังคงอยู่ในโครงการ) อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา
เมื่อถึงเวลาที่ ITER เปิดใช้งานจริง – หากเป็นเช่นนั้นจริง ๆ – มันจะกินเงินหลายพันล้านดอลลาร์ ปัจจุบัน การประมาณการค่าใช้จ่ายเหล่านี้คิดจากตัวเลข ITER อย่างเป็นทางการคือ 19,000-23,000 ล้านดอลลาร์ (น่าจะต่ำกว่าการประมาณการขั้นต้น) และตัวเลขประมาณการปัจจุบันของกระทรวงพลังงานสหรัฐ (DOE) ที่ 65,000 ล้านดอลลาร์
ราคาเริ่มต้นเมื่อเริ่มโครงการอยู่ที่ประมาณ 6,300 ล้านดอลลาร์
หากตัวเลข DOE ถูกต้อง 400 วินาทีนั้นจะมีราคา 16.25 ล้านเหรียญสหรัฐต่อวินาที เพียงเพื่อพิสูจน์ว่าพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชั่นเป็นไปได้ โดยไม่ได้ส่งมอบสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ใครเลย ไม่ว่าจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใดก็ตาม