ในเทคโนโลยีการฟอกขาวที่ใช้กันทั่วไปสำหรับเยื่อเคมีนั้น ลิกนินถูกสลายและกำจัดออกไปด้วยก๊าซคลอรีน เยื่อกระดาษจะถูกฟอกขาวในอีกหลายขั้นตอนโดยการใช้คลอรีนไดออกไซด์หรือไฮโพคลอไรท์ โดยเฉลี่ยแล้ว การฟอกขาวเยื่อคราฟท์หนึ่งตัน จะใช้คลอรีนประมาณ 50 ถึง 80 กิโลกรัม หลังจากขั้นตอนสุดท้ายแล้ว คลอรีนร้อยละ 10 จะผสมกับโมเลกุลของอินทรียสารจากเนื้อไม้และถูกปลดปล่อยพร้อมกับของเสียจากโรงงาน ดังนั้นการฟอกขาวเยื่อกระดาษจึงก่อให้เกิดกลุ่มสารประกอบคลอรีนที่เป็นพิษ เรียกว่า สารประกอบอินทรีย์คลอรีน (Organochlorine) กระบวนการฟอกขาวก่อให้เกิดสารประกอบอินทรีย์คลอรีนนับ 1,000 … More
Tag: เยื่อกระดาษ
เรื่องของกระดาษ : การทำเยื่อคราฟท์
ในกระบวนการซัลเฟตหรือคราฟท์ (Kraft: จากภาษาเยอรมันมีความหมายว่าแข็งแรง) ประกอบด้วยการต้มชิ้นไม้ด้วยโซดาไฟ เยื่อกระดาษที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้มอย่างถุงกระดาษสีน้ำตาลและมีความแข็งแรงมาก นับจากสงครามโลกครั้งที่สอง การทำเยื่อโดยกรรมวิธีคราฟท์แพร่หลายมากที่สุดในโลก เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการขจัดยางไม้และลิกนินออกจากไม้เนื้ออ่อน ในขณะที่เยื่อกระดาษยังคงมีความแข็งแรงและมีคุณภาพสูง สิ่งนี้นำไปสู่การตัดทำลายป่าไม้เนื้ออ่อนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอเมริกาเหนือ และสแกนดิเนเวีย การทำเยื่อคราฟท์แบบที่ไม่ฟอกขาวเป็นระบบปิด เศษเนื้อไม้ที่เหลือประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นพิษมาก เช่น กรดยางไม้ จะนำมาเผาใช้เป็นเชื้อเพลิง และสารเคมีที่ใช้ในการทำเยื่อมากกว่าร้อยละ 95 ก็จะนำมาใช้อีกในรอบการผลิตครั้งต่อไป เพราะฉะนั้น … More
จากเยื่อ(Pulp)สู่กระดาษ(Paper)
การที่ไม้ถูกนำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับทำกระดาษ ก่อให้เกิดปัญหาที่เฉพาะเจาะจงขึ้น ลิกนิน (lignin) ซึ่งมีหน้าที่เสริมเซลลูโลสในลำต้นให้แข็งแรงนั้นเป็นยางไม้เหนียวทนทาน โดยทั่วไปเนื้อไม้ประกอบด้วยเซลลูโลสร้อยละ 50 ลิกนินร้อยละ 30 และอีกร้อยละ 20 เป็นสารประกอบอื่นๆ เช่น น้ำมันหอมระเหย และคาร์โบไฮเดรตกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) ในการทำกระดาษ เซลลูโลสจะถูกแยกจากส่วนประกอบอื่นๆ ของเนื้อไม้เพื่อนำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ … More