ในกระบวนการซัลเฟตหรือคราฟท์ (Kraft: จากภาษาเยอรมันมีความหมายว่าแข็งแรง) ประกอบด้วยการต้มชิ้นไม้ด้วยโซดาไฟ เยื่อกระดาษที่ได้จะมีสีน้ำตาลเข้มอย่างถุงกระดาษสีน้ำตาลและมีความแข็งแรงมาก นับจากสงครามโลกครั้งที่สอง การทำเยื่อโดยกรรมวิธีคราฟท์แพร่หลายมากที่สุดในโลก เป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการขจัดยางไม้และลิกนินออกจากไม้เนื้ออ่อน ในขณะที่เยื่อกระดาษยังคงมีความแข็งแรงและมีคุณภาพสูง สิ่งนี้นำไปสู่การตัดทำลายป่าไม้เนื้ออ่อนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอเมริกาเหนือ และสแกนดิเนเวีย การทำเยื่อคราฟท์แบบที่ไม่ฟอกขาวเป็นระบบปิด เศษเนื้อไม้ที่เหลือประกอบด้วยสารเคมีที่เป็นพิษมาก เช่น กรดยางไม้ จะนำมาเผาใช้เป็นเชื้อเพลิง และสารเคมีที่ใช้ในการทำเยื่อมากกว่าร้อยละ 95 ก็จะนำมาใช้อีกในรอบการผลิตครั้งต่อไป เพราะฉะนั้น … More
Tag: โซดาไฟ
เรื่องของพีวีซี (PVC) – การตัดสินใจที่ผิดพลาดของอุตสาหกรรมเคมี
ถามว่าทำไมเราต้องสนใจผลกระทบของพีวีซีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติกชนิดอื่น ? คำตอบ คือ ชิ้นส่วนของท่อพีวีซีหรือตุ๊กตาพลาสติกที่ดูจะไร้พิษสงเหล่านั้นเป็นผลิตผลของอุตสาหกรรมที่มีอันตรายอย่างมาก การผลิตพีวีซีอยู่คู่กันอย่างแนบแน่นกับการผลิตคลอรีน แต่เดิม คลอรีนเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนเกินจากกระบวนการผลิตโซดาไฟ (Caustics Soda) เป็นสารที่ไวต่อปฏิกิริยาสูง ดังนั้นคลอรีนจะต้องรวมตัวกับสารเคมีอื่นเพื่อให้สามารถอยู่ได้ในสภาวะธรรมชาติ เช่นไปรวมตัวกับโซเดียม เกิดเป็นเกลือแกง แต่การผลิตคลอรีนโดยกระบวนการคลออัลคาไล (Chlor-alkali) นั้นแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ก๊าซคลอรีนที่ออกมาจะไปทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ภายนอก (สารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ) เกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์คลอรีน … More