แปลจาก qz.com
ถึงแม้ว่าพลาสติกทำขึ้นในช่วงศตวรรษ 1800 แต่ก็ในราวปี ค.ศ.1950 ที่เรื่องราวแห่งความรักระหว่างมนุษย์และพลาสติกได้เกิดขึ้น พลาสติกราวสองล้านตันที่ผลิตใน ค.ศ. 1950 เพิ่มปริมาณเป็นยี่สิบเท่าในช่วงสองทศวรรษ
นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 พลาสติกอย่างน้อยร้อยละ 0.1 มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่มหาสมุทร การประเมินอย่างต่ำระบุว่าพลาสติกราว 1 ล้านตันอยู่ในมหาสมุทร ซึ่งจริงๆแล้วน่าจะมีมากกว่านั้น
ที่น่าประหลาดก็คือ พลาสติกไม่ได้อยู่ที่นั่น หรืออย่างน้อย พลาสติกส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ที่นั่น นักวิทยาศาสตร์พบว่าพลาสติกประมาณ 7,000 ถึง 35,000 ตัน ลอยอยู่บนผิวมหาสมุทร หรืออาจกล่าวได้ว่า ร้อยละ 97-99 ของขยะพลาสติกในมหาสมุทรนั้นหายไป
แล้วพลาสติกเหล่านี้หายไปไหน อาจเป็นไปได้ว่ามันอาจถูกย่อยสลายโดยแสงอาทิตย์ หรือชิ้นส่วนเล็กๆ ถูกซัดกลับเข้าฝั่ง แต่นักวิจัยยังมีคำถาม
นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมุติฐานว่า สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุดคือปลาตัวเล็กทั้งหลายกินพลาสติกเหล่านี้เข้าไป ตัวกินพลาสติกน่าจะเป็นปลาผิวน้ำในเขตมหาสมุทรลึกอย่าง lanternfish หรือปลาผิวน้ำอื่นๆ ที่ว่ายสู่ผิวน้ำตอนกลางคืนเพื่อหาอาหาร ปลาเหล่านี้อยู่ไกลและห่างจากฝูงปลาที่เป็นที่นิยมที่สุดในทะเล
NOAA Photo Library via Flickr
สิ่งที่ระบุว่าปลาเล็กปลาน้อยเหล่านี้กินพลาสติกเป็นอาหารมาจากความจริงที่ว่าขนาดของเศษพลาสติกที่หายไปนั้นจะอยู่ระหว่าง 0.5-5 มิลลิเมตร เป็นขนาดเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ปลาเล็กผิวน้ำเหล่านี้ชอบกิน
มีการศึกษาพบว่าราวหนึ่งในสามกินพลาสติกเข้าไป ในท้องของปลาเล็กๆเหล่านี้มีเศษพลาสติกที่มีขนาดดังกล่าว
และยิ่งมีเหตุผลหากพิจารณาถึงจุดที่พลาสติกมารวมกันในมหาสมุทร จากแผนที่ด้านล่าง
”Plastic debris in the open ocean,” Cózar et al. 2014
จะเห็นว่า จุดที่มีการรวมตัวของพลาสติกมากที่สุดอยู่ใน 5 บริเวณ เป็นบริเวณที่ของกระแสน้ำในมหาสมุทรเคลื่อนเป็นวงใหญ่
เมื่อกระแสน้ำอุ่นเจอกระแสน้ำเย็น จะเกิดการเคลื่อนตัวเป็นวงกลมขนาดใหญ่ของน้ำและเศษวัสดุต่างๆ กระแสน้ำเหล่านี้คล้ายเป็นสายพาน เมื่อพลาสติกที่เราทิ้งลงทะเลเคลื่อนเข้าไปยังกระแสน้ำหมุนวนเหล่านี้ บางครั้งไกลออกไปนับพันนับหมื่นไมล์ กระแสน้ำวนที่มีการศึกษามากที่สุดคือ the North Pacific Ocean Subtropical Gyre ซึ่งมีขนาดราวสองเท่าของรัฐเท็กซัส สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ปลาผิวน้ำขนาดเล็กเหล่านี้จะมาอยู่รอบๆ มีความหนาแน่นของปลาหนึ่งตัวต่อหนึ่งตารางเมตร
เราไม่มีข้อมูลเพียงพอว่าพลาสติกที่ปลากินเข้าไปจะเกิดอะไรขึ้นกับปลา หรือยังไม่รู้ว่าปลาเหล่านั้นจะสามารถขับถ่ายเอาอาหารพลาสติกออกมาได้หรือไม่อย่างไร สิ่งที่เป็นกังวลคือ สารพิษที่อยู่ในพลาสติกอาจซึมเข้าเนื้อเยื่อของมัน เป็นเรื่องแย่ของปลาผิวน้ำเหล่านั้น แล้วก็สำหรับมนุษย์ด้วย จากการศึกษาพบว่า เศษพลาสติกขนาด 0.5-5 มิลลิเมตรยังพบได้ทั่วไปในท้องของปลาใหญ่ที่กินปลาเล็ก ปลาใหญ่เหล่านี้รวมถึงทูน่า แมคเคอเรลและปลาอื่นๆ ที่นำมาทำเป็นซูชิ