#จักรยานสองขาท้าโลก

ธารา บัวคำศรี แปลเรียบเรียงจาก

The Bicycle: Vehicle for a Small Planet, Worldwatch Paper #90, September 1989 เขียนโดย Marcia D. Lowe

ดาวน์โหลด pdf ไฟล์ จักรยาน พาหนะเพื่อโลกใบน้อย

——————

ใน พ.ศ.2521 นิตยสาร Newsweek สัมภาษณ์เรื่องภาวะจราจรที่มาถึงจุดอับในสหรัฐอเมริกา Lyle Saxton อดีตผู้อำนวยการระบบจราจรของสหพันธ์ทางหลวงแห่งสหรัฐอเมริกาเห็นว่า “เราสร้างสังคมของเราให้รายล้อมอยู่กับรถยนต์ เราก็ต้องแก้ไขมัน”

แต่สังคมจักรยานของโลกแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลหรือเอกชน ไม่ยอมรับสภาพที่เป็นอยู่ ด้วยการสนับสนุนนโยบายสาธารณะและการคิดค้นริเริ่มของภาคเอกชนระดับต่างๆ จากสถาบันระหว่างประเทศ ถึงคนที่เดินทางสัญจกไปมา มีส่วนทำให้การคมนาคมขนส่งด้วย จักรยานกลางเป็นทางเลือกในชีวิตประจำวัน

รัฐบาลแต่ละประเทศอาจให้เจ้าของรถยนต์เสียค่าใช้จ่ายที่แฝงเร้นจากการใช้รถยนต์ให้มากขึ้น ค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมถึงการสร้างถนน และการซ่อมบำรุง การบริการของตำรวจ และหน่วยดับเพลิง อุบัติเหตุ และการรักษาสุขภาพ ซึ่งทั้งหมดควรเป็นภาระของผู้จ่ายภาษี ผู้ขับรถยนต์และผู้ไม่ได้ขับรถยนต์ ในสหรัฐอเมริกา ค่าใช้จ่ายที่แฝงเร้นจากการใช้รถยนต์รวมกันแล้วอาจมากถึง 300 พันล้านเหรียญต่อปี

ทางเดียวในการรับมือกับค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลนี้ คือ รัฐบาลต้องเก็บภาษีการใช้และการเป็นเจ้าของรถยนต์ และนำเงินรายได้มาลงทุนระบบขนส่งมวลชน ลงทุนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการขี่จักรยานและการเดินเท้า การศึกษาของ John Pucher ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ 12 ประเทศ เมื่อไม่นานมานี้ เห็นได้ชัดเจนว่า ระยะการเดินทางด้วยรถยนต์โดยรวมมีแนวโน้มลดลง เมื่อผู้ขับต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นภาษีใช้รถและภาษีเจ้าของรถ

เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีภาษีสูงสุดและมีระยะการเดินทางด้วยรถยนค์ต่อคนต่อกิโลเมตรต่ำที่สุด สหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือมีภาษีการขายรถยนต์และภาษีน้ำมันต่ำสุด รองโหล่ คือสวีเดนซึ่งใช้ระบบภาษีน้ำมันในอัตราก้าวหน้าต่ำที่สุดโดยคิดจากระยะการเดินทางด้วยรถยนค์ต่อคนต่อกิโลเมตร นอกจากนี้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาใช้เงินภาษีเหล่านี้เป็นงบประมาณสร้างทางหลวงแผ่นดิน ประเทศยุโรปนำเงินภาษีส่วนใหญ่นี้ใช้เป็นงบประมาณทั่วไป

การศึกษาของ Pucher คนอเมริกันขับรถยนต์มากกว่าไม่ใช่เพราะว่ารวยมากกว่า ประเทศในยุโรป 7แห่ง จาก 10 แห่งในการศึกษาของเขา มีรายได้ต่อคนสูงกว่าสหรัฐอเมริการในปี พ.ศ.2523 ความแตกต่างบางอย่างขึ้นอยู่กับระยะทางหรือการใช้ที่ดินในเมือง แต่ความแตกต่างประการสำคัญ คือ การขาดแคลนบริการขนส่งมวลชน

ระบบภาษีอาจส่งเสริมให้ภาคเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพยากรที่สำคัญ เช่น พื้นที่จอดรถ ในสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 75 ของคนเดินทางไปมาทั้งหมดมีที่จอดรถฟรีโดยนายจ้างจัดหาให้ มีสิทธิพิเศษในการงดเว้นภาษีและนำรายจ่ายจากธุรกิจต่างๆ ไปหักภาษีได้ ตรงข้ามกัน นโยบายของญี่ปุ่นและส่วนใหญ่ของยุโรปทำให้ที่จอดรถยนต์มีราคาแพงและมีน้อยลง

หลักการค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ใช้อาจนำไปใช้กับกรณีอื่นๆ เช่น การใช้พื้นที่ถนน ขณะที่หลายประเทศใช้ค่าธรรมเนียมทางหลวงเพื่อนำมาสร้างถนนและซ่อมบำรุง ประเทศสิงคโปร์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมรถยนต์ส่วนตัวที่มีคนนั่งน้อยกว่า 4 คน หรือ “ค่าธรรมเนียมรถติด” ในการเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางเมืองในชั่วโมงเร่งรีบ ตั้งแต่ พ.ศ.2518 มาตรการนี้ทำให้ความเร็วของการเดินทางในศูนย์กลางเมืองเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 20 และลดอุบัติเหตุบนท้องถนนลงร้อยละ 25 อีกทั้งประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงประมาณร้อยละ 30

เมืองต่างๆ ในโลก ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ระบบขนส่งมวลชนที่กำลังขยายออกไปยิ่งมีความสำคัญมาก รัฐบาลของประเทศโลกที่สามซึ่งพยายามเต็มที่เพื่อขยายบริการขนส่งมวลชนไปยังเขตปริมณฑล อาจทำระบบดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้วิธีการ “ไบค์ แอนด์ ไรด์”

โครงสร้างพื้นฐาน “ไบค์ แอนด์ ไรด์” ในประเทศอุตสาหกรรมนำมาเป็นทางเลือกเมื่อการเดินทางไปมาด้วยรถยนต์เพิ่มมากขึ้นระหว่างศูนย์กลางเมืองกับชานเมือง และชานเมืองแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง โดยทั่วไปการบริหารระบบคมนาคมขนส่งพยายามทำให้ผู้บริการพอใจด้วยการสร้างที่จอดรถยนต์ซึ่งต้องใช้เนื้อที่ 20 เท่าของที่จอดจักรยาน และโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับคนขี่จักรยานให้มีความปลอดภัย จะเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางไปสถานีขนส่งภายในรัศมีอย่างน้อยที่สุด 1-3 กิโลเมตร สามารถขยายพื้นที่ที่ใช้งานทั้งหมดมากถึง 9 เท่า ที่เก็บจักรยานและร้านซ่อมเปิดบริการคนเดินทางทั้งที่บ้านและที่ทำงาน หรือบริการอยู่ภายในระยะเดินเท้าจากสถานีขนส่ง คนเดินทางไปมาก็สามารถขี่จักรยานระหว่างสถานีและปลายทางที่ไกลออกไป สามารถเก็บจักรยานอย่างปลอดภัยทั้งวันหรือทั้งคืน บางกรณี ก็ไม่จำเป็นต้องอนุญาตให้ผู้โดยสารซึ่งมีปลายทางอยู่ใกล้กับป้ายหยุดรถ นำจักรยานขึ้นรถไฟหรือรถประจำทาง

ผู้นำประเทศกำลังพัฒนาอาจดำเนินนโยบายคมนาคมขนส่งระดับประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยพิจารณาถึงการเคลื่อนย้ายและความต้องการเดินทางเข้าถึงปลายทางของคนส่วนใหญ่ที่ยากจน การให้สินเชื่อสำหรับซื้อจักรยานและพาหนะราคาถูกอื่นๆ เป็นสิ่งจำเป็นในพื้นที่ที่ประชาชนไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอยพอเพียง โดยเฉพาะในประเทศที่ดูถูกคนถีบสามล้อและพาหนะแรงถีบอื่นๆ ขั้นตอนแรกคือสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการใช้แรงงานและปรับปรุงบริการรถสามล้อถีบ ไม่ใช่การห้ามพวกเขา ซึ่งจะนำไปสู่ดุลภาพระหว่างการลงทุนระบบคมนาคมขนส่งด้วยรถยนต์กับการคมนาคมขนส่งด้วยจักรยานตามความต้องการของรัฐบาลได้