December 29, 2013—————————————————————————————————January 1, 2021

แม้ว่าจะมีหิมะตกปกคลุมชายฝั่งทะเลตะวันตกของญี่ปุ่นเป็นประวัติการณ์ แต่ทางฟากฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่มีหิมะตกสะสมครั้งใหญ่ในฤดูหนาวนี้ ยอดภูเขาที่ปกคลุมด้วยหิมะอันเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของภูเขาไฟฟูจิซึ่งโดยปกติจะมองเห็นได้ตลอดเดือนธันวาคม มีหิมะปกคลุมน้อยลงหรือแทบจะหายไปในปีนี้

ยอดเขาที่สูงที่สุดในญี่ปุ่นเริ่มมีหิมะตกปกคลุมในวันที่ 28 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นหิมะแรกของปี แต่หิมะก็ละลายหายไปอย่างรวดเร็ว และยอดเขาฟูจิที่มีหิมะปกคลุมยังคงไม่ชัดเจนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า การสังเกต Normalized Difference Snow Index(NDSI) จากดาวเทียม Terra ของ NASA ระบุว่า หิมะปกคลุมบนภูเขาเมื่อเดือนที่แล้ว เป็นหนึ่งในสถิติที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี ในเดือนธันวาคม จากการสังเกตุการณ์ด้วยเครื่องมือวัดบนดาวเทียม

สถานีตรวจอากาศภาคพื้นดินมีข้อสังเกตในลักษณะเดียวกัน “สถานีต่างๆรอบภูเขาไฟฟูจิบันทึกปริมาณน้ำฟ้า(ฝนตก หิมะตก) น้อยกว่าปกติมากในเดือนธันวาคม” โทชิโอะ อิกุจิ นักวิทยาศาสตร์ด้านการสำรวจระยะไกลจาก NASA’s Goddard Space Flight Center กล่าว “จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม มีเพียง 10% ของปีโดยเฉลี่ย” ข้อมูลสภาพอากาศยังระบุด้วยว่า อุณหภูมิรอบๆ ภูเขาอบอุ่นผิดปกติในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม 2563

จากภาพด้านบน ที่ลาดชันด้านบนของภูเขาฟูจิ บันทึกด้วยกล้อง Operational Land Imager (OLI) บนดาวเทียม Landsat 8 เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 ส่วนอีกภาพที่ OLI ได้มาแสดงให้เห็นภูเขาไฟฟูจิในวันที่ 29 ธันวาคม 2556 ภูเขามีปริมาณหิมะสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อยในเดือนธันวาคม 2556 ตามการสังเกตการณ์ของ Terra NDSI

ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ภูเขามีหิมะตกอย่างหนัก แต่ถึงแม้อากาศในเดือนมกราคมจะหนาวเย็นก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมีหิมะปกคลุม “หลังจากนั้นไม่กี่วันหิมะที่ปกคลุมยอดเขาก็ลดลงมากและน่าจะปลิวไปตามกระแสลม” Teppei Yasunari นักวิทยาศาสตร์ด้านการสำรวจระยะไกลจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโดกล่าว

แม้ว่าสภาพอากาศระดับท้องถิ่นจะเป็นกุญแจสำคัญในการระบุว่ามีหิมะปกคลุมยอดฟูจิในวันใดวันหนึ่ง แต่ข้อมูลสภาพภูมิอากาศระยะยาวบ่งชี้ว่า สภาพบนยอดฟูจิกำลังเปลี่ยนแปลง การศึกษาล่าสุดชิ้นหนึ่งพบว่า แนวพืชพรรณไม้ของภูเขาเคลื่อนตัวสูงขึ้น 30 เมตร (100 ฟุต) ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเกิดจากอุณหภูมิในฤดูร้อนที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส (3.6 องศาฟาเรนไฮต์) ที่ใกล้บริเวณยอดสูงสุดของฟูจิ

ที่มา : NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using Landsat data from the U.S. Geological Survey and MODIS data from the National Snow and Ice Data Center. Story by Adam Voiland.

ข้อมูลอ้างอิง