https://www.tmd.go.th/programs//uploads/weatherclimate/The%20Global%20Carbon%20Budget.pdfเรียบเรียงจาก WMO Statement on the State of the Global Climate in 2017
การประเมินการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และการกระจายตัวในชั้นบรรยากาศ มหาสมุทรและแผ่นดินอย่างแม่นยำ หรือที่เรียกว่า global carbon budget [1] ช่วยให้เราสามารถทราบได้ว่า มนุษย์กำลังเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกอย่างไร ช่วยสนับสนุนการพัฒนานโยบายด้านภูมิอากาศและปรับปรุงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรมมีการเติบโตมานานหลายทศวรรษ โดยมีการหยุดชั่วคราวเฉพาะในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกตำ่ทั่วโลก สำหรับในช่วงปี ค.ศ. 2014-2016 เป็นครั้งแรกที่การปล่อย CO2 หยุดเพิ่มขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมีอัตราการสะสมตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ประมาณ 3 ppm [2] (ร้อยละ0.0003) ต่อปีในปีค.ศ.2015 และ 2016 แม้จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้ เชื้อเพลิงฟอสซิลที่คงที่ก็ตาม (รูป 1) ซึ่งเกิดจากเอลนีโญที่รุนแรงในปีค.ศ. 2015 และ 2016 เมื่อแหล่งกักเก็บ CO2 บริเวณพื้นผิวโลกลดประสิทธิภาพในการกำจัด CO2 ในชั้นบรรยากาศ และการปล่อยมลพิษจากเพลิงไหม้สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในปีค.ศ.2015 จากข้อมูลเบื้องต้นในปีค.ศ.2017แสดงให้เห็นว่าการปล่อย CO2จาก เชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรมกลับมาสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.5 จาก 36.2 ± 2.0 พันล้านตันในปีค.ศ. 2016 เพิ่มเป็นระดับสูงสุดที่ 36.6 ± 2.0 พันล้านตันในปีค.ศ. 2017 ซึ่งเป็นระดับที่สูงมากกว่าในปีค.ศ. 1990 ถึงร้อยละ 65
รูป 1 แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากมนุษย์และการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในชั้นบรรยากาศระหว่างปีค.ศ. 1980-2017 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดมาจากการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลรวมกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน 4.8 ± 2.6 พันล้านตันในปีค.ศ. 2016 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากมนุษย์ทั้งหมด และคาดว่าจะยังคงที่หรือลดลงเล็กน้อยในปีค.ศ. 2017 จากการสารวจโดยใช้ข้อมูลดาวเทียม ซึ่งทั้งการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทาให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO2 สูงถึงประมาณ 41.5 ± 4.4 พันล้านตันในปีค.ศ. 2017
การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากมนุษย์ทั้งหมดมีเพียงร้อยละ45 โดยเฉลี่ยต่อปีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ที่ยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศ โดยร้อยละ 25 ถูกนพออกไปโดยมหาสมุทร และร้อยละ 30 ถูกนพออกไปโดยชีวภาคบนบก (Terrestrial biosphere) (รูป 2) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาวะเอลนีโญที่รุนแรง ทพให้เกิดการเพิ่มขึ้นของปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศในปี ค.ศ. 2015-2016 คือ 22.1 ± 0.7 พันล้านตัน (ร้อยละ 54 ของการปล่อย CO2 ทั้งหมด หรือ 2.85 ppm) ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยในปีค.ศ. 2007 – 2016 ระบบนิเวศน์ในมหาสมุทรและบนบกช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลงประมาณ9.5 ± 1.8 พันล้านตัน (ร้อยละ 23) และ 9.9 ± 3.7 พันล้านตัน (ร้อยละ 24) ตามลาดับ
ในการหาปริมาณของแหล่งกักเก็บคาร์บอนในภาคพื้นดินและมหาสมุทรในช่วงเวลาระหว่างทศวรรษ และในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งสะสมมากขึ้นในยุคอุตสาหกรรมหลายศตวรรษที่ผ่านมายังคงมีความไม่แน่นอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอดีตซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
รูป 2 งบประมาณคาร์บอนทั่วโลก (global carbon budget) ในอดีต ตั้งแต่ปีค.ศ. 1900-2016
ที่มา: Global Carbon Project, http://www. globalcarbonproject.org/carbonbudget; Le Quéré, C. et al., 2018: The Global Carbon Budget 2017. Earth System Science Data, 10, 405–448
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย
สพหรับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย อ้างอิงจากรายงานความก้าวหน้าราย 2 ปี ฉบับที่ 2 ของประเทศไทย (Second Biennial Update Report) ที่รายงานต่อ UNFCCC เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.2017โดยสานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละสาขาของประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้น โดยในช่วงปีค.ศ. 2000-2013 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 226,086 GgCO2eq ในปี ค.ศ. 2000 เป็น 318,662 GgCO2eq ในปี ค.ศ. 2013 การดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเพิ่มขึ้นจาก 11,995 GgCO2eq ในปี ค.ศ. 2000 เป็น 86,102 GgCO2eq ในปี ค.ศ. 2013 ดังนั้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 214,091 GgCO2eq ในปี ค.ศ. 2000 เป็น 232,560 GgCO2eq ในปีค.ศ. 2013 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.64 ต่อปี ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในปีค.ศ. 2013 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.63 เมื่อเทียบกับการปล่อยสุทธิในปีค.ศ. 2000 ภาคพลังงานเป็นภาคที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นจาก 161,005 GgCO2eq ในปีค.ศ. 2000 เป็น 236,936 GgCO2eq ในปี ค.ศ. 2013 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.16
รูป3แนวโน้มการปล่อยและการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกระหว่างปี ค.ศ.2000-2013
ที่มา: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. Second Biennial Update Report of Thailand 2017:33-34.
IPCC หรือคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แบ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคการเกษตร ภาคกระบวนการอุตสาหกรรม ภาคของเสีย และภาคการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและป่าไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการติดตามสถานการณ์ก๊าซเรือนกระจกที่ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก และอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความรุนแรงขึ้นได้ ประชาชนและทุกภาคส่วนในประเทศไทยควรมีส่วนร่วมและออกมาตรการที่เหมาะสมใน การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้ในการ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
หมายเหตุ :
1 Global Carbon Budget หมายถึง ปริมาณคาร์บอนทั้งหมดที่เข้าและออกจากชั้นบรรยากาศ มหาสมุทร และแผ่นดิน
2 PPM = Part Per Million หน่วยส่วนในล้านส่วน