
ในวันที่ 6 กุมภาพันธุ์ 2563 สถานีตรวจวัดสภาพอากาศรายงานอุณหภูมิที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์สำหรับทวีปแอนตาร์กติก เทอร์โมมิเตอร์ที่สถานีวิจัย Esperanza ด้านปลายสุดของคาบสมุทรแอนตาร์ติกขึ้นสูงถึง 18.3°C (64.9°F) หรือประมาณอุณหภูมิที่เมืองลอสแอนเจอลิสในวันเดียวกัน ความร้อนนำไปสู่การละลายของธารน้ำแข็งในบริเวณแถบนั้นในวงกว้าง
อุณหภูมิที่สูงขึ้นมาถึงในวันที่ 5 กุมภาพันธุ์ และยาวไปจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธุ์ ปี พ.ศ.2563 ภาพด้านบนแสดงการละลายของธารน้ำแข็งที่ปกคลุมเกาะ Eagle จับภาพโดยอุปกรณ์ Operational Land Imager (OLI) บนดาวเทียม Landsat 8 ในวันที่ 4 และ 13 กุมภาพันธุ์ พ.ศ.2563
ความร้อนแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในแผนที่ด้านล่าง ซึ่งแสดงอุณหภูมิในบริเวณคาบสมุทรแอนตาร์กติกในวันที่ 9 กุมภาพันธุ์ 2563 แผนที่ทำขึ้นจากแบบจำลอง Goddard Earth Observing System (GEOS) และแสดงอุณหภูมิอากาศในระดับที่สูงจากพื้น 2 เมตร (ประมาณ 6.5 ฟุต) พื้นที่สีแดงเข้มคือจุดที่แบบจำลองแสดงอุณหภูมิที่เกิน 10°C (50°F).

Mauri Pelto นักธารน้ำแข็งวิทยาที่ Nichols College สังเกตว่า ระหว่างปรากฎการณ์ความร้อน ธารนำแข็งประมาณ 1.5 ตารางกิโลเมตร ละลายกลายเป็นน้ำ(แสดงเป็นสีฟ้า) จาก แบบจำลองสภาพภูมิอากาศ เกาะ Eagle เจอกับการละลายของธารน้ำแข็งสูงสุด—30 มิลลิเมตร (1 นิ้ว)—ในวันที่ 6 กุมภาพันธุ์ ในภาพรวม พื้นที่ที่ธารน้ำแข็งปกคลุมบนเกาะ Eagle ละลาย 106 มิลลิเมตร(4 นิ้ว) จาก 6-11 กุมภาพันธุ์ ราวร้อยละ 20 ของการสะสมหิมะตามฤดูกาลในแถบนี้นั้นเกิดการละลายในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนเกาะ Eagle
“ผมไม่เคยเห็นพื้นที่บนธารน้ำแข็งที่มีการละลายกลายเป็นแอ่งน้ำอย่างรวดเร็วนี้ในแอนตาร์กติกมาก่อน ” Pelto กล่าว “คุณสามารถเห็นปรากฏการณ์นี้ที่อะลาสกาหรือกรีนแลนด์ แต่ไม่ใช่ที่แอนตาร์ติก” เขายังใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อติดตามการละลายบนพื้นผิวของธารน้ำแข็งรอบๆ พื้นที่ธารน้ำแข็ง Boydell
Pelto ตั้งข้อสังเกตุว่า การละลายอย่างรวดเร็วมีสาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่สูงมากกว่าจุดเยือกแข็ง การที่อากาศอุ่นขึ้นเป็นเวลานานนั้นไม่ปรากฎขึ้นในแอนตาร์ติกจนกระทั่งมาถึงศตวรรษที่ 21 และกลายมาเป็นเรื่องปกติในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา
อากาศที่ร้อนขึ้นในเดือนกุมภาพันธุ์ ปี พ.ศ.2563 มีสาเหตุจาก ปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาหลายประการ แนวความกดอากาศสูงมีศุนย์กลางอยู่หนือเคปฮอนในช่วงต้นของเดือนและทำให้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น โดยทั่วไป กระแสลม Southern Hemisphere westerlies ซึ่งเป็นแถบของกระแสลมแรงจัดที่พัดวนอยู่รอบทวีปช่วยกันคาบสมุทรจากมวลอากาศร้อน อย่างไรก็ตาม กระแสลมดังลมกล่าวอ่อนตัวลงทำให้อากาศอบอุ่นเขตร้อนข้ามทะเลใต้และเข้ามาถึงพืดน้ำแข็งได้ นอกจากนี้ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในพื้นที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 2-3 °C.
กระแสลม foehn winds ที่อุ่นและแห้งยังมีส่วนกับเหตุการณ์นี้ ลม Foehn เป็นกระแสลมกรรโชกแรงที่ทำให้เกิดลมพายุตามที่ลาดชันบนเทือกเขา และมักหอบเอาอากาศอุ่นมาด้วย ในเดือนกุมภาพันธุ์ที่ผ่านมา กระแสลมหมุนตะวันตกวิ่งเข้ามายังคาบสมุทร Antarctic Peninsula Cordillera และลมพัดขึ้นไปบนเทือกเขา อากาศที่เย็นโดยทั่วไปและรวมตัวกันเป็นฝนและเมฆหิมะ เมื่อมีไอน้ำรวมตัวกันเป็นน้ำหรือนำ้แข็ง ความร้อนจะถูกระบายออกสู่อากาศโดยรอบ อากาศที่อุ่นและแห้งนี้จะเคลื่อนที่ลงจากด้านหนึ่งของเทือกเขา นำเอาความร้อนมายังบางส่วนของคาบสมุทร อากาศที่แห้งขึ้นหมายถึงมวลเมฆที่ลอยต่ำน้อยลงและมีแสงอาทิตย์ส่องตรงลงมามากขึ้นทางด้านตะวันออกของเทือกเขา
Rajashree Tri Datta นักวิจัยด้านบรรยากาศที่ NASA’s Goddard Space Flight Center กล่าวว่า“สองสิ่งที่ทำให้การละลายของธารน้ำแข็งที่เกิดจากกระแสลม foehn (a foehn-induced melt) เกิดมากขึ้นคือลมที่แรงขึ้นและอุณหภูมิที่สูงขึ้น” การที่มีมวลอากาศอุ่นขึ้นในบรรยากาศทั่วไปและในมหาสมุทร เป็นเงื่อนไขที่เหนี่ยวนำให้เกิดเหตุการณ์กระลม foehn
คลื่นความร้อนในเดือนกุมภาพันธุ์เป็นสาเหตุประการหนึ่งของการละลายของพืดน้ำแข็งช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ.2562-2563 จากความร้อนที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2562 และมกราคม 2563 “ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นเหตุการณ์เดียวในเดือนกุมภาพันธุ์ มันก็ไม่สลักสำคัญอะไร ” Pelto กล่าว “มันสำคัญมากขึ้นเมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดถี่ขึ้น “
ที่มา : NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using Landsat data from the U.S. Geological Survey and GEOS-5 data from the Global Modeling and Assimilation Office at NASA GSFC. Story by Kasha Patel.