27 มกราคม 2558
25 มกราคม 2563

ในฐานะแม่น้ำนานาชาติที่ไหลผ่าน 6 ประเทศ แม่น้ำโขงคือเส้นเลือดหล่อเลี้ยงผู้คน 60 ล้านคนทั่วทั้งอุษาคเนย์ แม่น้ำที่ไหลเร็วแรงนี้คือแหล่งพันธุ์ปลาและนำพาตะกอนดินกระจายทั่วลุ่มน้ำ สร้างความอุดมสมบุรณ์ให้กับดินที่ชุมชนใช้ในการเพาะปลูกเลี้ยงชีพ ตะกอนทำให้แม่น้ำโขงมีสีปูนที่เป็นลักษณะเฉพาะ แต่ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ปริมาณตะกอนในแม่น้ำโขงลดลงและแม่น้ำโขงตอนล่างกลายเป็นสีฟ้าทะเลที่ผิดแปลกไป

รายงานครั้งแรกของการเปลี่ยนสีแม่น้ำโขงเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2563 ทางภาคเหนือของไทย และต่อมาขยายไปตามตอนล่างของลำน้ำ ภาพถ่านดาวเทียมสองภาพด้านบนแสดงแม่น้ำโขงบริเวณเมืองห้วยทรายใน สปป. ลาว ภาพบนเป้นแม่น้ำโขงในสภาวะที่มีตะกอนในวันที่ 27 มกราคม 2558 เปรียบเทียบกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในวันที่ 25 มกราคม 2563 ทั้งสองภาพบันทึกโดยเครื่องมือ Operational Land Imager (OLI) บนดาวเทียม Landsat 8

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง(MRC) ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้เนื่องมาจากแม่น้ำตื้นและไหลช้าลงอย่างมาก ทำให้ตะกอนขนาดเล็กตกลงและทำให้แม่น้ำใสขึ้น

แม่น้ำที่ใสขึ้นทำให้สาหร่ายโตเร็ว สาหร่ายซึ่งโดยทั่วไปจะไหลไปตามกระแสน้ำ กระแสน้ำที่อ่อนลงหมายถึงตะกอนและสาหร่ายถูกรบกวนน้อย และแสงอาทิตย์สามารถส่องทะลุลึกลงในลำน้ำมากขึ้น สาหร่ายก็เจริญเติบโตในท้องน้ำมากขึ้น จากรายงานข่าว สาหร่ายสะสมตัวและเกาะติดอวนปลาของชาวประมง การหาปลายิ่งมีความลำบากมากขึ้น

ระดับน้ำที่ต่ำลงมีสาเหตุมาจากทั้งความแห้งแล้ง และเขื่อนต่างๆ ที่สร้างขึ้น ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ลุ่มน้ำโขงตอนล่างมีฝนน้อยมาก ราวร้อยละ 20 ถึง 30 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธุ์ นอกจากนี้ การสร้างเขื่อนใหม่กั้นลำน้ำโขงยังทำให้เกิดการเบี่ยงและลดการไหลของแม่น้ำตามธรรมชาติ และแม่นำ้อาจไม่ไหล (คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง รายงานว่า ภายในปี พ.ศ.2583 ร้อยละ 97 ของการไหลของตะกอนไปยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงอาจถูกดักไว้ หากโครงการสร้างเขื่อนทั้งหมดที่วางแผนไว้ถูกสร้างขึ้น) คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงคาดว่าสีฟ้าเขียวของแม่น้ำโขงที่เกิดขึ้นในปี 2563 จะยังคงอยู่จนกระทั่งมีกระแสนำ้ไหลเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงในปลายเดือนพฤษภาคมโดยมีสัดส่วนร้อยละ 80 ถึง 90 ของการไหลต่อปีของแม่น้ำ

ที่มา : NASA Earth Observatory images by Lauren Dauphin, using Landsat data from the U.S. Geological Survey. Story by Kasha Patel.

อ้างอิง