ความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งปรากฏชัดขึ้นนอกชายฝั่งแอนตาร์กติกาตะวันตกนั้นอาจรบกวนส่วนสำคัญของระบบภูมิอากาศโลกและเร่งให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
แปลเรียบเรียงจาก https://insideclimatenews.org/news/12022023/antarctic-ice-shelves-marine-heatwave/ เขียนโดย Bob Berwyn - นักข่าวจากออสเตรียซึ่งทำงานด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศและนโยบายภูมิอากาศระหว่างประเทศมากว่าทศวรรษ ก่อนหน้านี้ เขารายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และพื้นที่สาธารณะให้กับหนังสือพิมพ์โคโลราโดหลายฉบับ และยังทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ช่วยบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ชุมชนในเทือกเขาร็อกกี้โคโลราโด
ANTARCTICA – 14 MARCH 2021: Iceberg A-74 calved from Antarctica’s Brunt Ice Shelf in February 2021. (Photo by Gallo Images/Orbital Horizon/Copernicus Sentinel Data 2021)

นักวิทยาศาสตร์วิจัยบนเรือสำรวจชายฝั่งตะวันตกของแอนตาร์กติกากล่าวว่า สิ่งที่โดดเด่นของการเดินทางครั้งล่าสุดของพวกเขาคือการที่มหาสมุทรร้อนขึ้นอย่างน่าขนลุก และการปกคลุมของน้ำแข็งในมหาสมุทรที่ต่ำเป็นประวัติการณ์—สภาพอากาศที่สุดขั้ว แม้จะเทียบกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในทศวรรษที่ผ่านมาซึ่งพื้นที่แถบนี้อุ่นขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

แม้ “นั่นจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ธรรมดา แต่สิ่งที่เราเห็นในปีนี้ก็น่าทึ่งมาก” คาร์ลอส มอฟแฟต นักสมุทรศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเดลาแวร์กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วจากปุนตาอาเรนัส ประเทศชิลี หลังจากเสร็จสิ้นการล่องเรือวิจัยบนเรือ RV Laurence M. Gould เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการหาอาหารนกเพนกวินบนน้ำแข็งและในมหาสมุทรในตำแหน่งหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของ Palmer Long Term Ecological Research program

“ในฐานะเป็นคนที่มองดูระบบที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้มาสองสามทศวรรษแล้ว ผมยังผงะกับสิ่งที่ผมเห็น จากระดับความร้อนที่ผมเห็น เราไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะกินเวลานานแค่ไหน เราไม่เข้าใจผลที่ตามมาของเหตุการณ์ประเภทนี้อย่างถ่องแท้ แต่นี่ดูเหมือนคลื่นความร้อนในทะเล(marine heatwav)ที่ไม่ธรรมดา”

หากเงื่อนไขดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า มันอาจเริ่มต้นการสั่นคลอนอย่างรวดเร็วของรากฐานที่สำคัญของระบบภูมิอากาศโลกของแอนตาร์กติกา รวมถึงชั้นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็ง ระบบนิเวศชายฝั่ง และแม้แต่กระแสน้ำในมหาสมุทร การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงดังกล่าวได้แผ่ขยายไปทั่วแถบอาร์กติกแล้ว โดยเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1980 และเร่งตัวขึ้นในทศวรรษที่ 2000

ข้อมูลที่รวบรวมระหว่างการเดินทางเพื่อการวิจัยครั้งล่าสุดของมอฟแฟตรวมถึงการอ่านค่าครั้งแรกจากเซ็นเซอร์อุณหภูมิและความเค็มที่นำไปใช้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเปรียบเทียบ มอฟแฟตกล่าวว่า “ยังเร็วเกินไปและยากที่จะระบุเงื่อนไขของปีนี้ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระยะยาว จนกว่าจะมีการเผยแพร่ผลหลังจากที่มีการทำ peer-reviewed”

“แต่สำหรับผมแล้วดูเหมือนว่านี่อาจเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” เขากล่าว “ส่วนนี้ของมหาสมุทรที่ค่อนข้างร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นสามารถคงอยู่ได้นานหลายเดือนได้เกิดขึ้นทั่วทุกแห่ง ซึ่งไม่ได้มีอยู่ทั่วไปในพื้นที่แถบนี้”

เขากล่าวว่าการอ่านค่าอุณหภูมิมหาสมุทรย้อนหลังไปถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 บ่งบอกถึงความคงอยู่ของสภาวะอบอุ่นนอกคาบสมุทรแอนตาร์กติก การเดินทางสำรวจโดยเรือครอบคลุมพื้นที่ยาวกว่า 600 ไมล์และน่านน้ำเหนือไหล่ทวีปกว้าง 125 ไมล์ ซึ่งบันทึกความร้อนของมหาสมุทรที่แผ่วงกว้างออกไป

มอฟแฟตกล่าวว่า “เราไม่มีข้อมูลย้อนหลัง 30 ปีสำหรับทั้งทวีปแอนตาร์ติก แต่สำหรับส่วนที่เป็นหิ้งน้ำแข็งที่เรามีข้อมูลนั้น มันดูไม่ธรรมดาจริงๆ เป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้มหาสมุทรอุ่นขึ้น และเมื่อเราเห็นสภาวะเหล่านี้ มันแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก”

กระบวนการป้อนกลับของสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตราย

ก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เป็นสาเหตุของการอุ่นขึ้นของชั้นบรรยากาศและมหาสมุทร รายงานล่าสุดจากแอนตาร์กติกาทำให้เกิดความกังวลว่าวงจรป้อนกลับสภาพภูมิอากาศที่เป็นอันตรายของมหาสมุทรที่อุ่นขึ้นและน้ำแข็งละลายนั้นเกิดขึ้นทั่วทวีปแล้ว โยฮัน ร็อคสตรอม ผู้อำนวยการสถาบัน Potsdam Institute for Climate Impact Research กล่าว

“เรารู้ว่าการละลายของทวีปแอนตาร์กติกานั้นอ่อนไหวต่อความสามารถในการหล่อลื่นของน้ำมากที่สุด” เขากล่าว “ทะเลละลายน้ำแข็งจากเบื้องล่าง ไม่ใช่ชั้นบรรยากาศละลายจากเบื้องบน และนี่เป็นเรื่องที่น่ากังวลจริงๆ … และค่อนข้างน่าประหลาดใจ เพราะเมื่อ 10 ปีก่อน เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และอาร์กติกเป็นขั้วโลกที่อ่อนไหวมากกว่า”

จนถึงประมาณปี 2557 วิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าแอนตาร์กติกายังคงมีน้ำแข็งอยู่ แต่ “นั่นเปลี่ยนไปแล้ว” โยฮัน ร็อคสตรอมกล่าว การประเมินที่เผยแพร่ในปีนั้นโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เตือนว่ามีโอกาสที่แอนตาร์กติกจะร้อนขึ้นระหว่าง 1.5 ถึง 2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้พืดน้ำแข็งและธารน้ำแข็งละลายอย่างถาวร

ความตกลงปารีสเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกในช่วงนั้นได้รับการลงนามในปีถัดมาด้วยความเข้าใจว่าวงจรภูมิอากาศที่เลวร้ายในทวีปแอนตาร์กติกามีผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ และมีส่วนทำให้ Atlantic thermohaline ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวของกระแสน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติกระหว่างขั้วโลกเหนือและใต้นั้นช้าลง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าระบบของกระแสน้ำได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้น้ำอุ่นในมหาสมุทรใต้เพิ่มมากขึ้นกลายเป็นคลื่นความร้อนในทะเล

แทนที่จะไหลไปทางเหนือสู่ Gulf Stream น้ำอุ่นยังคงมีอยู่รอบๆ แอนตาร์กติกา เพราะ “ระบบทั้งหมดนั้นชะลอตัวลง 15 เปอร์เซ็นต์” เขากล่าว “ดังนั้น เมื่อการไหลเวียนช้าลง และคุณมีความร้อนมากขึ้น คุณก็จะได้ผิวนำ้ทะเลที่อุ่นขึ้นในแอนตาร์กติกา”

การเริ่มต้นที่อาจเกิดขึ้นของ Icy Death Spiral

แอนตาร์กติกาถูกมองว่าเป็นทวีปเยือกแข็งจนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ เนื่องจากพืดน้ำแข็งมีความหนาเฉลี่ยมากกว่าหนึ่งไมล์และปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่พอๆ กับสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกรวมกัน แผ่กระจายไปในพื้นที่กว่า 5.4 ล้านตารางไมล์ โดยมีศูนย์กลางมากกว่า 1,000 ไมล์จากมหาสมุทร

ทวีปนี้ยังถูกล้อมรอบด้วยกระแสน้ำในมหาสมุทรอันเชี่ยวกราก ซึ่งเป็นกระแสน้ำเพียงสายเดียวที่ไหลไปทั่วโลก และมีกระแสลมกรดที่พัดวนสูงขึ้นไปหลายไมล์เหนือทวีป ปัจจัยทั้งสองนี้ช่วยป้องกันน้ำแข็งในทะเลของแอนตาร์กติการวมถึงธารน้ำแข็งบนบกและชั้นน้ำแข็งที่ลอยอยู่ จากการเพิ่มขึ้นของสภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในส่วนอื่นๆ ของโลกในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา

แต่การสังเกตในปีนี้อาจสนับสนุนการศึกษาล่าสุดหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าภาวะโลกร้อนกำลังกัดเซาะการป้องกันนั้นอย่างไร การศึกษาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ใน Nature Climate Change ระบุว่า “น้ำลึกรอบโลก” ที่ความลึก 1,000 ถึง 2,000 ฟุตได้อุ่นขึ้นถึง 2 องศาเซลเซียส ซึ่งสัมพันธ์กับการเคลื่อนตัวที่พัดไปทางตะวันตกของกระแสลมกรดขั้วโลก

นั่นเป็นระดับความลึกวิกฤตที่น้ำไหลขึ้นไปบนไหล่ทวีปและใต้ส่วนต่อขยายของหิ้งน้ำแข็งที่ลอยอยู่ของแผ่นน้ำแข็งบนบกขนาดมหึมาของแอนตาร์กติกา ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตก ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่ามีความเสี่ยง แต่ยังรวมถึงพืดน้ำแข็งหนาและห่างไกลทางด้านตะวันออกของทวีป

ภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรคาดว่าจะคงอยู่ต่อไปในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า ดังนั้น “ความร้อนจากมหาสมุทรที่ส่งไปยังแอนตาร์กติกาตะวันออกอาจยังคงทวีความรุนแรงขึ้น คุกคามความมั่นคงในอนาคตของพืดน้ำแข็ง” ผู้เขียนรายงานฉบับปี 2022 ระบุ

การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งซึ่งตีพิมพ์ใน Science Direct เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของลมที่มีหน้าที่ผลักดันน้ำอุ่นให้เข้าใกล้ชายฝั่งจะยังคงมีอยู่ต่อไปหากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงดำเนินต่อไป ดังนั้นหากไม่มีการดำเนินการทันทีเพื่อดำเนินนโยบายสภาพภูมิอากาศโลก ระบบแอนตาร์กติกอาจเข้าสู่วัฐจักรมรณะ

การศึกษาในปี 2559 สรุปสถานการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งภาวะโลกร้อนจะนำไปสู่การแตกตัวอย่างรวดเร็วของหิ้งน้ำแข็งสูงตระหง่านใกล้ชายฝั่ง ในกระบวนการที่สามารถเร่งให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 7 ฟุตในปี 2643 และ 13 ฟุต ภายในปี 2693 การเพิ่มขึ้นนั้นยากต่อการปรับตัว

น้ำขึ้นเร็วมากแล้ว ในช่วงปี 2533 ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 3 มิลลิเมตรต่อปี แต่อัตราต่อปีนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 4.5 มิลลิเมตรในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 ถึงมกราคม 2564 ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 10 มิลลิเมตร

น้ำอุ่นกระจายไปทางใต้

นักวิจัยรู้สึกถึงกระแสลมและกระแสน้ำในมหาสมุทรเมื่อพวกเขาเริ่มต้นการเดินทางเพื่อการวิจัยจากอเมริกาใต้ แอฟริกา หรือออสเตรเลีย เพราะพวกเขาต้องข้ามเส้นละติจูด “Roaring Forties” ที่ซึ่งลมแรงและคลื่นซัดดาดฟ้าเรือจะพัดเรือไปมาหนึ่งหรือสองวันก่อนหน้านั้น พวกเขาลงเอยด้วยความสงบของมหาสมุทรทางตอนใต้ ที่ซึ่งพวกเขาสามารถล่องเรือได้อย่างราบรื่นภายใต้ท้องฟ้าที่ปกคลุมด้วยหมอกผ่านแผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่

มหาสมุทรใต้ครอบคลุมน้ำทั้งหมดที่ต่ำกว่าละติจูด 60 องศาใต้ และในขณะที่มันเป็นส่วนผสมของน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย องค์การ NOAA ได้ตระหนักว่าทะเลใต้เป็นเขตภูมิศาสตร์ที่แยกออกมาในปี 2542 อันเนื่องมาจากกระแสน้ำในมหาสมุทร และท้องฟ้าที่กำหนดระบบภูมิอากาศและระบบนิเวศของทวีปแอนตาร์กติก

Rob Larter นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลขั้วโลกจาก British Antarctic Survey ซึ่งตรวจวัดตะกอนทะเลในมหาสมุทรใต้จากเรือ RV Polarstern เพื่อระบุว่าแผ่นน้ำแข็งเคลื่อนที่เร็วและไกลเพียงใด ในอดีตที่ผ่านมา กล่าวว่า “ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนว่าภาวะโลกร้อนกำลังแทรกซึมเข้าไปในแอนตาร์กติกาตะวันตกอย่างอันตราย”

การเปรียบเทียบธรณีวิทยาทางทะเลกับข้อมูลภูมิอากาศ เช่น อุณหภูมิและระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดช่วงเวลานับพันปี ช่วยแสดงให้เห็นว่าน้ำแข็งจะตอบสนองต่อภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์อย่างไร แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถมองเห็นได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ Larter กล่าว

“การเปลี่ยนแปลงที่โดดเด่นที่สุดที่ฉันได้เห็นคือการถอยร่นของส่วนหน้าของธารน้ำแข็งเกาะไพน์ หลังจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะการหลุดของมันอย่างกะทันหันในปี 2558” เขากล่าว โดยอธิบายถึงธารน้ำแข็งแห่งหนึ่งในแอนตาร์กติกาตะวันตกที่ทราบกันดีว่ามีความเสี่ยงเป็นพิเศษต่อมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น จนกระทั่งธารน้ำแข็งเริ่มบางลง และทันใดนั้น ก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่ก็เริ่มแตกออก

“ผมอยู่บนเรือวิจัย 3 ลำ ในปี 2560 2562 และ 2563” เขากล่าว “และแต่ละครั้งเราต้องขึ้นไปทางต้นกระแสน้ำอีกประมาณ 10 กม. เนื่องจากการถอยกลับอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการตกลูกที่บ่อยขึ้น”

เรือ RV Polarstern กำลังแล่นอยู่ในทะเล Bellingshausen ซึ่งอยู่ไกลออกไปทางใต้มากกว่าเรือของ Moffat แต่ Larter กล่าวว่าพื้นผิวมหาสมุทรในพื้นที่วิจัยของพวกเขาก็อบอุ่นผิดปกติเช่นกัน “ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่าน้ำแข็งในทะเลส่วนใหญ่ที่ปกติจะละลายหรือลอยอยู่ ออกไปทางทิศตะวันตกภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน” เขากล่าว

น้ำแข็งในทะเลรักษาอุณหภูมิของน้ำให้ต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสประมาณ 2 องศา Larter กล่าว แต่น้ำในระหว่างการเดินทางของเขาในปัจจุบันสูงกว่าศูนย์เกือบหนึ่งองศา—อุ่นขึ้นกว่าปกติเกือบสามองศาเซลเซียส

เขากล่าวว่าน้ำแข็งในทะเลที่ลดลงอาจส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของมหาสมุทรทั่วโลกอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยการลดการไหลของน้ำเย็นจากมหาสมุทรใต้ไปตามพื้นทะเลที่ไกลออกไปทางเหนือ

“น้ำที่เย็นและหนาแน่นซึ่งก่อตัวขึ้นรอบแอนตาร์กติกาไหลไปทางเหนือและเติมส่วนที่ลึกที่สุดของแอ่งมหาสมุทรส่วนใหญ่” เขากล่าว “ในการทำเช่นนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการไหลเวียนของกระแสน้ำที่ช่วยสร้างสมดุลให้กับสภาพภูมิอากาศโลกด้วยการกระจายพลังงานความร้อนจำนวนมหาศาล

“กระบวนการเกิดน้ำทะเลที่หนาแน่นนั้นเริ่มจากการก่อตัวของทะเลน้ำแข็งและการละลายของมัน” เขากล่าว

“น้ำในทะเลนำ้แข็งจะจืดกว่าน้ำทะเลทั่วไปเล็กน้อยเนื่องจากการก่อตัวของผลึกน้ำแข็ง” เขากล่าว “น้ำที่เหลือจากการละลายจะมีความเค็มมากขึ้น หนาแน่นขึ้น และจมลง ซึ่งจะทำให้ความเย็นแผ่กระจายออกไปโดยรอบทวีป”

Ted Scambos นักวิจัยอาวุโสด้านแอนตาร์กติกจาก Earth Science and Observation Center แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เมืองโบลเดอร์ กล่าวว่า การเฝ้าติดตามอย่างแน่ชัดว่ามหาสมุทรที่ร้อนขึ้นเคลื่อนตัวเข้าหาหิ้งน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาตะวันตกนั้นมีความสำคัญเพียงใด

Ted Scambos กล่าวว่าสำหรับตอนนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าน้ำอุ่นจะไปถึงทะเลอามุนด์เซนซึ่งเป็นที่ตั้งของธารน้ำแข็ง Pine Island และธารน้ำแข็ง Thwaites หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้น หรือหากเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสน้ำอุ่นที่ในที่สุดจะลอยต่อหน้าธารน้ำแข็งเหล่านั้นทั้งหมด ใช่แล้ว เราจะได้เห็นอัตราการหดตัวของพืดน้ำแข็งที่พุ่งสูงขึ้นอย่างแน่นอน”

Scambos ช่วยประสานงานความพยายามระดับโลกในการศึกษาน้ำแข็งที่เปราะบางที่สุดในภูมิภาคแอนตาร์กติกแถบนี้ เขากล่าวว่านักวิทยาศาสตร์กำลังสำรวจเข้าไปใต้หิ้งน้ำแข็งเพื่อเรียนรู้ว่าการเกิดร่องและรอยแตกของหิ้งน้ำแข็งส่งผลต่อการละลายอย่างไร ในบางครั้ง เมื่อหิ้งน้ำแข็งปกคลุมพื้นทะเลที่ขรุขระ แรงเสียดทานจะเปิดช่องว่างที่อาจทำให้เกิดรอยแตกมากขึ้นเมื่อน้ำแข็งหดตัวจากด้านบน

“กระบวนการนี้เกิดขึ้นจริง” เขากล่าว “มันเร่งความเร็วขึ้น และเราผนวกเข้าไว้ในแบบจำลองของการศึกษาวิจัย แต่ก็ไม่เลวร้ายเท่ากับการคาดการณ์ของแบบจำลองระดับแนวหน้าบางอัน”

แม้โอกาสนั้นยากที่จะไปถึงจุดพลิกผันที่อาจทำให้เกิดการละลายของพืดน้ำแข็งอย่างไม่มีวันหวนกลับ(runaway ice melt) Scambos กล่าวว่า งานวิจัยเช่น แผนที่ตะกอนของลาร์เตอร์ แสดงให้เห็นว่าการหดตัวอย่างรวดเร็วและการหลอมละลายของหิ้งน้ำแข็งเกิดขึ้นในอดีตทางธรณีวิทยา ซึ่งอาจทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เมตรในหนึ่งศตวรรษ โดยที่แนวชายฝั่งทะเลทั่วโลกจมอยู่ใต้น้ำ

“กระบวนการที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่มีวันหวนคืนนั้นดำเนินไปค่อนข้างช้า ในโลกธรรมชาติ กระบวนการของความไม่มีเสถียรภาพของทะเลน้ำแข็งนั้นใช้เวลาประมาณหนึ่งพันปี” Scambos กล่าว แต่ “หากเรายังทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกอุ่นขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงการหมุนเวียนของอากาศและมหาสมุทรรอบแอนตาร์กติก เป็นไปได้ว่า เราจะได้เห็นรูปแบบที่ไม่เสถียรของแผ่นน้ำแข็งในทะเลที่เร็วขึ้น”