การจัดทำภาพฉายอนาคตของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกง เป็นการศึกษาจากการจำลองสภาพภูมิอากาศอนาคตจากแบบจำลอง ECHAM4 GCM ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงแบบ A2 ซึ่งคำนวณเพิ่มรายละเอียดโดยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ PRECIS Regional Climate Model ซึ่งพิจารณาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่ออุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝนและความเร็วของลม ในช่วง 90 ปี ข้างหน้า (พ.ศ. 2553-2642) โดยใช้ช่วงปี 2523-2552 เป็นช่วงปีฐาน เป็นการจำลองสภาพภูมิอากาศที่มีความละเอียดเชิงพื้นที่สูงในลักษณะตาราง (grid) ขนาน 22˚ และ rescale เป็นขนาด 0.2˚ หรือประมาณ 20 กิโลเมตร การเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะ 90 ปี จะวิเคราะห์ถึงอุณหภูมิสูงสุด อุณหภูมิต่ำสุด และปริมาณน้ำฝนในบริเวณลุ่มน้ำบางปะกง

อุณหภูมิ

จากการจำลองสภาพภูมิอากาศอนาคตแสดงให้เห็นว่า พื้นที่ลุ่มน้ำบางปะกงจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่มีอุณหภูมิสูงสุดรายวันเฉลี่ยในรอบ 10 ปี (พ.ศ. 2533-2542 ปีฐาน) อยู่ที่ประมาณ 29-30˚ เซลเซียส จากแบบจำลอง พบว่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในช่วง 10 ปีในอนาคตเมื่อเทียบกับปีฐาน จะเพิ่มสูงขึ้น

การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทั้งระดับอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดด้วย จากแบบจำลองศึกษาอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดเฉลี่ยรายปีในช่วง 30 ปี (พ.ศ. 2523-2552) พบว่าอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

รูปที่ 1 แสดงการเปลี่ยนแปลงของระดับอุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) ในรอบ 10 ปี เมื่อเทียบกับปีฐาน
รูปที่ 2 แสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงสุดรายวันในรอบปีเฉลี่ย 30 ปี อุณหภูมิสูงสุดในช่วง 30 ปีของปีฐาน อยู่ที่ระหว่าง 32-34˚ เซลเซียส มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
รูปที่ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิต่ำสุดรายวันในรอบปีเฉลี่ย 30 ปี อุณหภูมิสูงสุดในช่วง 30 ปีของปีฐาน อยู่ที่ระหว่าง 23-25˚ เซลเซียส มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

ปริมาณน้ำฝน

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีตลอดช่วง 30 ปีในช่วงปีฐาน (พ.ศ. 2523-2552) อยู่ที่ประมาณ 1,540 มิลลิเมตร (ม.ม.) จากแบบจำลองพบว่า ปริมานน้ำฝนเฉลี่ยรายปีตลอดช่วง 30 ปี จะเพิ่มสูงขึ้น โดยจะมีการกระจายตัวมากขึ้นไปทางด้านตะวันออกของลุ่มน้ำบางปะกง

รูปที่ 4 แสดงการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีในรอบ 30 ปี ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนจะไม่มากนัก โดยปริมาณฝนโดยรวมจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15 (รูปที่ 5)

การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นกับช่วงเดือนที่ฝนมาด้วย โดยในอนาคตฝนจะมาช้าลง แต่ในช่วงหน้าฝนจะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น ไปตลอดฤดูฝน (มิถุนายน-พฤศจิกายน) แต่ปริมาณจะเริ่มลดลงอย่างมากในช่วงปลายฤดูฝน และมีแนวโน้มว่าช่วงแล้งอาจจะเกิดเร็วขึ้นในอนาคต (รูปที่ 6)

รูปที่ 5 แสดงร้อยละของการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน โดยปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มมากขึ้นไม่มากนัก โดยรวมจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10-15

รูปที่ 6 แสดงการเปลี่ยนแปลงกับช่วงเดือนที่ฝนมา โดยในอนาคตฝนจะมาช้าลง แต่ในช่วงหน้าฝนจะมีปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้น ไปตลอดฤดูฝน (มิถุนายน-พฤศจิกายน) แต่ปริมาณจะเริ่มลดลงอย่างมากในช่วงปลายฤดูฝน และมีแนวโน้มว่าช่วงแล้งอาจจะเกิดเร็วขึ้นในอนาคต