การใช้งานพีวีซีไม่ได้มีเพียงเฉพาะในงานที่เห็นได้อย่างชัดเจนอย่างบรรจุภัณฑ์หรือสินค้าบริโภค ยังมีการใช้ที่เห็นได้ยากอย่างในภาคก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และการแพทย์ ซึ่งการใช้ในงานเหล่านี้พีวีซีจะคงทนถึง 10 ถึง 20 ปี ก่อนที่จะหมดอายุใช้งานกลายเป็นขยะ

ในภาคก่อสร้าง พีวีซีใช้ทำผลิตภัณฑ์อย่างรางน้ำ ท่อน้ำ พื้น กรอบ กรุประตูหน้าต่าง และกรอบหน้าต่าง และเนื่องจากพีวีซีมีคุณสมบัติไม่คงตัวกลางรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากแสงแดด ทำให้ต้องมีการเติมสารเพิ่มความคงตัว (Stabilisers) ซึ่งส่วนใหญ่มีแคดเมียมเป็นส่วนผสม

ต่างจากสินค้าอายุสั้น ผลกระทบจากการใช้พีวีซีในสินค้าอายุยืนจึงยังไม่ปรากฎอย่างชัดเจน เนื่องจากต้องใช้เวลานานกว่าจะพิสูจน์ได้ชัด

ปี 2533 ในเยอรมัน มีการใช้สารเพิ่มความคงตัวที่มีแคดเมียมเป็นส่วนผสมมากถึง 1.5 ล้านตันเพื่อทำพลาสติกองค์ประกอบหน้าต่าง  ปี 2535 คาดว่ามีการใช้พีวีซีทำพลาสติกสำหรับงานประตูและหน้าต่างมากถึง 90 ร้อยละของสินค้าดังกล่าวในตลาดสหราชอาณาจักร  ปี2538 มีรายงานการศึกษาประมาณการอัตราการเพิ่มของการใช้พีวีซีในงานแบบนี้ทั่วยุโรปจะอยู่ที่ 7-8 ร้อยละ

เป็นที่ชัดเจนว่าการใช้วัสดุก่อสร้างแบบเก่าอย่างไม้กำลังจะหายไปและทดแทนด้วยความนิยมพีวีซี แม้ว่าปัญหามหึมาในการกำจัดขยะพีวีซีกำลังรออยู่ และดูเหมือนเราจะยังไม่ต้องปวดหัวกับปัญหานี้ภายในช่วง 15-20 ปีของอายุการใช้งานของมัน

พีวีซีถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตเป็นพื้นไวนิล โดยเฉพาะพื้นในครัว ห้องน้ำ และอาคารสาธารณะ ผนังพลาสติก (Wallpapers) ก็เป็นอีกการใช้งานที่มีการใช้พีวีซีทดแทนวัสดุธรรมชาติที่เคยใช้กัน พื้นและผนังพีวีซีมีการใช้สารเติมแต่ง ปริมาณมหาศาล โดยเฉพาะการเติมสาร Plasticisers

ปัญหาคือสาร Plasticisers เหล่านี้ไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกับผลิตภัณฑ์และสามารถระเหยออกมาสู่อากาศได้ ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายจากที่มีการบันทึกไว้ อย่างพื้นพีวีซีจะปล่อยสาร Plasticisers ความเข้มข้นสูงออกมาสู่อากาศทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า “Sick Building Syndrome” ซึ่งมักจะเกิดกับสำนักงานสมัยใหม่ ในสวีเดนมีการศึกษาเกี่ยวกับโรคนี้ 24 กรณี ในจำนวนนี้ 8 รายมีการตรวจพบว่าสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับพื้นพีวีซีเนื่องจากตรวจพบปริมาณสารเติมแต่งระดับสูงในอากาศในห้อง

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นอันตรายมากหากเกิดเพลิงไหม้ ไม่เพียงควันพิษจากไฮโดรเจนคลอไรด์ที่จะเกิดขึ้น อันตรายยังรุนแรงมากแม้จะไม่มีการไหม้จริงๆ  จากการศึกษายืนยันว่าจะมีการเกิดสารพิษสูงอย่างไดออกซินและฟูรานจากมีการใช้ผลิตภัณฑ์พีวีซี กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสิ่งแวดล้อมเยอรมันได้ร่วมกันออกแถลงการเสนอให้มีการเลิกใช้พีวีซีในบริเวณที่ไวต่อการเกิดไฟไหม้

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์พีวีซีที่อายุยาว ได้เริ่มก่อปัญหาการฝังกลบในหลายชุมชน แม้ว่าจะมีการแยกฝังกลบขยะเหล่านี้ต่างหาก แต่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยอมรับกันว่าขยะเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนเหล่านี้มักจะหลุดรอดไปปนในขยะชุมชนทั่วไปจนได้ ไม่ด้วยทางใดก็ทางหนึ่ง และนั่นก็จะทำให้สารเติมแต่ง ในพีวีซีหลุดออกมาปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

ประสบการณ์ในเมือง Bielefeld เยอรมัน พบว่าไม่เพียงเห็นความสำเร็จในการใช้วัสดุทดแทนพีวีซีในงานก่อสร้างอย่างไม้ หินหรือโลหะ แต่รวมไปถึงการหาวัสดุทางเลือกที่คุณสมบัติดีกว่าและสามารถลดค่าซ่อมแซมได้ด้วยและความสำเร็จเช่นเดียวกันนี้ก็พบในองค์กรท้องถิ่นมากมายในเยอรมัน เดนมาร์ก และอีกหลายประเทศ

ในอุตสาหกรรมยานยนต์พบปัญหาจากพีวีซีเช่นกัน ส่วนใหญ่อุตสาหกรรมนี้จะใช้พลาสติกพีวีซีสำหรับงานตกแต่งภายใน งานปิดกันรั่ว ปัญหาสำคัญเกิดจากส่วนผสมคลอรีนที่จะออกมาหากมีการทำลายยานยนต์หลังหมดอายุใช้งาน

อุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะบดขยี้ขยะรถนั้นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ภายในเวลาไม่กี่นาทีเพื่อที่จะนำโลหะกลับมาใช้ใหม่ ปัญหาคือเป็นการยากมากที่จะแยกโลหะออกจากพลาสติกในทางปฏิบัติ ทำให้โลหะที่ถูกนำกลับไปหลอมใช้ใหม่จะปนเปื้อนพีวีซีไปด้วย โชคร้ายที่กระบวนการผลิตในโรงงานเหล็กมักเหมือนเตาเผาขยะคือไม่สามารถป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากของเสียที่ปล่อยออกมาได้

การใช้พีวีซีใน White Goods อย่างตู้เย็น เครื่องซักผ้า ก็ก่อปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยปกติสินค้าเหล่านี้มักจะถูกนำไปบีบอัดพร้อมกับรถและผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้