การศึกษาวิจัยกับสัตว์

ผลการศึกษาวิจัยกับสัตว์ ยืนยันว่าสารปรอทอินทรีย์เป็นพิษต่อสมองที่กำลังเจริญเติบโตจริงๆ หนูอายุสี่เดือน ซึ่งได้รับสารปรอท 0.008 มก./กก./วัน ในระยะที่มีอายุได้ 6-9 วันหลังปฏิสนธิ แสดงพฤติกรรมที่บกพร่องผิดปกติ ทั้งนี้ จากทดสอบด้วยการตกรางวัลตามจำนวนการกดคันโยก[i]   ลิงอายุ 60 วันที่เกิดจากแม่ซึ่งได้รับสารปรอทประเภทเมธิลเมอร์คิวรี โดยเฉลี่ยแล้ว 0.04 หรือ 0.06 มก./กก./วัน เป็นเวลา 168 หรือ 747 วัน ก่อนที่จะผสมพันธุ์ ปรากฎว่ามีความจำบกพร่อง ทั้งนี้ จากการทดสอบความจำที่ได้มาจากการมองดู[ii]  การศึกษาด้วยการผ่าซากสัตว์ที่ได้รับสารปรอทในช่วงที่อยู่ในระหว่างการเจริญเติบโตพบว่า สัตว์เหล่านั้นต่างจากสัตว์ที่ไม่ได้รับสารปรอท ตรงที่มีขนาดสมองเล็กกว่า มีโพรงในสมองใหญ่กว่า และโครงสร้างของเซลล์สมองผิดสัดส่วน


[i] Bornhausen M, Musch MR, Greim H. Operant behavior performance changes in rats after prenatal methylmercury exposure. Toxicol Appl Pharmacol 56:305-316, 1980.
[ii] Gunderson VM, Grant-Webster KS, Burbacher TM, et al. Visual recognition memory deficits in methylmercury-exposed Macaca fascicularis infants. Neurotoxicol Teratol 10(4):373-379, 1988.