บางครั้งงานวิจัยก็ออกมาไม่แน่นอนได้ แต่วิธีการที่ดำเนินคู่ขนานกันไปและแข่งขันกันนั้นนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ และความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

David Harding (คนซ้าย) Charles Gatebe (คนขวา) และ Rafael Rincon (คนหลัง) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำสามคนที่ทำงานในการประชันกันภาคสนามด้าน Eco 3D แต่ละคนรับผิดชอบเครื่องมือที่แตกต่างกัน ความเข้าใจเรื่องป่าไม้ของโลกได้รับการยกระดับขึ้นจากกลุ่มนักวิจัยต่าง ๆ ที่มองปัญหาจากมุมมองที่หลากหลาย(NASA photograph courtesy Jon Ranson, GSFC.)
Jon Ranson บอกว่า คลัายกับการวิจัยด้านมะเร็ง คุณมีห้องปฏิบัติการของคุณเองและแต่ละประเทศก็มองในถึงปัญหาเดียวกัน แต่ละคนมีมุมมองและวิธีการที่แตกต่างกันออกไป กลุ่มต่างๆ จะร่วมมือกันเท่าที่พวกเขาสามารถจะทำได้ และใช้ข้อมูลที่มีอยู่และทำมันออกมาให้ดีที่สุด ท้ายที่สุด มันก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกันและปรับปรุงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในภาพรวม
รางวัลสูงสุดคือแผนที่ความสูงป่าไม้และปริมาณคาร์บอนในทุกภาคพื้นที่ทวีปของโลกที่เป็นมาตราฐานและหนึ่งเดียว แผนที่ดังกล่าวจะมีการปรับปรุงและทบทวนไปตามกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อโลก
Steve Running คณะกรรมการระหว่างรัฐบาล่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวว่า เรามีเครื่องมือที่ดีในการจัดการป่าไม้ทั่วโลก แต่ไม่ใช่เลยเมื่อพูดถึงป่าไม้ในเชิงโครงสร้างหรือการเปลี่ยนแปลง เราต้องการเครื่องมือวัดปริมาณคาร์บอนของป่าไม้ในระดับโลกรายปี เราต้องรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ไม่ว่าจะจากไฟป่า การปลูกป่าใหม่ การกลายเป็นทะเลทรายและการทำลายป่า
Running เพิ่มเติมว่า “เราจะทำให้ครอบคลุมทั้งโลกได้อย่างไร? และทำให้เกิดขึ้นในทุก ๆ 2-3 ปี มันเป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ต้องการหรือไม่?
ทางเลือกในการทำแผนที่ภาคอวกาศ(space-based mapping) มีน้อยลง ดาวเทียม ICESat เลิกภารกิจในปี 2009 ดาวเทียม ICESat II จะเริ่มดำเนินการก็ในปี 2016 แต่ก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาป่าไม้เช่นเดียวกับที่เคยทำมา เครื่องมือที่เรียกว่า synthetic aperture radar ที่ใช้ในภารกิจ Shuttle Radar Topography ทำให้เราได้ภาพโครงสร้างภูมิประเทศของโลกในต้นปี 2000 แต่กระสวยอวกาศก็เลิกใช้งานในเดือนกรกฎาคม ปี 2011 เทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันก็สามารถช่วยเราศึกษาโครงสร้างและเนื้อที่ของป่าไม้ในระดับโลกแต่ละปีหากมีการใช้งานบนสถานีอวกาศหรือดาวเทียมอื่น ๆ
นักวิจัยป่าไม้และนักนิเวศวิทยาหลายคนต่างรอภารกิจของดาวเทียมที่เรียกว่า “DESDynl” (the Deformation, Ecosystem, Structure, and Dynamics of Ice satellite) ที่มีการเสนอเข้าไปและเสนอแนะให้กับ สภาวิจัยแห่งชาติในปี 2007 ซึ่งจะรวมเทคโนโลยีเรดาร์(radar) และลิดาร์ (lidar) ที่จะให้ภาพสามมิติของป่าไม้และปริมาณคาร์บอน แต่ภารกิจดังกล่าวถูกแขวนไว้ไม่มีกำหนดในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2011 เนื่องจากการตัดงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ถึงตอนนี้ นักวิจัยมองหาวิธีการอื่น ๆ ในการนำเครื่องมืือวัดขึ้นสู่อวกาศ

นักวิจัยของนาซาใช้เครื่องบินอย่างเช่นในภาพคือ P3 Orion เพื่อมาทดแทนช่องว่างของข้อมูลที่ได้จากดาวเทียม (NASA photograph courtesy Jon Ranson, GSFC.)
Ranson และ เพื่อร่วมงานของเขาคือ Doug Morton, Bruce Cook, Ross Nelson ที่ประจำอยู่ NASA Goddard มองหาแทนวทางในการทำงานต่อไป จนถึงเดือนสิงหาคมปี 2011 พวกเขานำเครื่องมือวัดขึ้นเครื่องบินวิจัยของนาซา บินข้ามภาคตะวันออกของสหรัฐฯ และเก็บข้อมูลทุกๆ อย่างตั้งแต่พื้นที่ชุ่มน้ำกึ่งเขตร้อนไปจนถึงป่าบอเรียล พวกเขายังบนสำรวจแปลงป่าไม้ในรัฐ Maine, New Hampshire, Pennsylvania, Maryland, Virginia, North Carolina และ Florida ตามรอยเดิมของดาวเทียม ICESat
ในฤดูร้อนปี 2011 Ranson นำปฏิบัติการ Eco-3D mission เพื่อวัดป่าในภาคตะวันออกของสหรัฐฯ และแคนาดาด้วยอุปกรณ์หลักสามชนิดคือ radar, lidar, และ radiometer อุกกรณ์ที่เรียกว่า Digital Beam forming Synthetic Aperture Radar (DBSAR) ให้ภาพป่าไม้แนวขวางและครอบคลุม แยกแยะพื้นที่ป่าจากพื้นที่อื่นๆ และให้ข้อมูลเรื่องความหนาแน่นของชีวมวลป่าไม้ เครื่องมือที่เรียกว่า Slope Imaging Multi-polarization Photon-counting Lidar (SIMPL) ว่าเรือนยอดและโครงสร้างของป่าไม้และให้ความเชื่องโยงเกี่ยวกับชนิดของต้นไม้้ที่มีการสำรวจ เครื่องมือที่เรียกว่า Cloud Aerosol Radiometer (CAR) วัดแสงที่สะท้อนคุณสมบัติของใบไม้และภูมิประเทศ และบอกให้นักวิจัยทราบถึงองค์ประกอบและความอุดมสมบูรณ์ของป่า

ลิดาร์ (Lidar instruments) วัดความสูงของต้นไม้โดยสะท้อนแสงเลเซอร์จากเรือนยอดของป่าไม้ (NASA image by Robert Simmon.)
นอกเหนือไปจากภารกิจ Eco-3D ทีมจาก Goddard ยังได้ทำงานกับทีมนักวิจัยในแคนาดาและบราซิลเพื่อปรับปรุงการทำแผนที่ป่าไม้ทางอากาศซึ่งอาจเป็นวิธีการที่ดีที่สุดของโลกในขณะนี้ จนกว่าจะมีเครื่องมือวัดลิดาร์และเรดาร์ภาคอวกาศ (space-based lidar and radar) มาแทน