ชั้นถ่านหิน กองถ่านหินและกากของเสียที่เริ่มไหม้และไม่สามารถดับได้เรียกว่าไฟถ่านหิน(coal fires) สาเหตุของการเกิดไฟดังกล่าวคือการสันดาปที่เกิดขึ้นเอง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาระหว่างออกซิเจนกับความร้อนจากถ่านหิน กิจกรรมเหมืองถ่านหินจะเป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยาดังกล่าว จากการที่กองถ่านหินซึ่งแต่เติมถูกปกคลุมไว้นั้นเปิดรับหรือสัมผัสกับออกซิเจน และนอกจากนั้น ยังนำไปสู่การสะสมของกากตะกอนจากถ่านหินขนาดใหญ่และกากของเสีย ไฟถ่านหินติดไฟขึ้นโดยฟ้าผ่าหรือไฟป่า ยกตัวอย่างเช่น ในอินโดนีเซีย ไฟถ่านหินเคยเผาผลาญบริเวณพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน จากการที่เหมืองถ่านหินทำให้เกิดประกายไฟถ่านหินกว่า 300 จุดตั้งแต่ยุคคริสตทศวรรษ 1980
ไฟถ่านหินเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก ผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากไฟถ่านหินบางครั้งอาจมีความรุนแรงมาก ไฟถ่านหินปลดปล่อยสารต่างๆ ที่เป็นพิษออกมา อาทิ สารหนู สารตะกั่วและซีลิเนียม เมื่อสูดดมเข้าไปจะเป็นอันตราย สารพิษเหล่านี้ตกลงสู่พืชผลและอาหารที่อาจถูกกินโดยฝูงปศุสัตว์ หรือสะสมในเนื้อเยื่อในนกหรือปลาได้ สารพิษเช่น สารเบนซีน โทลูอีน ไซลีน และเอทิลเบนซีน เป็นต้น ถูกปลดปล่อยจากไฟถ่านหินเหล่านี้และเป็นอันตราย
ผลกระทบในระยะยาวของปัญหาไฟไหม้ถ่านหินนั้นมีมากมายมหาศาล กล่าวคือเมื่อการขุดถ่านหินเป็นตัวนำทางให้ออกซิเจนไปสัมผัสกับชั้นถ่านหิน จึงทำให้เกิดไฟถ่านหินอยู่ใต้ดินเป็นเวลาหลายร้อยปี โดยไฟถ่านหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกยังคงเผาไหม้อยู่ในออสเตรเลีย และมีอายุมากกว่า 2,000 ปีแล้ว
——————
จาก ต้นทุนจริงของถ่านหิน : ผู้คนและโลกต้องจ่ายให้กับเชืิ้อเพลิงที่สกปรกที่สุดในโลกอย่างไร
จัดพิมพ์ภาษาไทยโดยกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะผู้เขียน: ดร.อีเรก้า เจอร์บาย, มาไรกา บริทเทน, ไอริช เชง, มาร์ธา คาเมียสกา, เออร์เนส มีแซค, วิคเตอร์ มุนนิค, จายาชรี นานดี, ซารา เพนนิงตัน, เอมิลี โรชอน, นีนา ชลูลซ์, นาฮิญา ชาฮับ, จูเลียน วินเซนต์และเมง ไว เรียบเรียงโดย: รีเบคกา ชอต แอนด์เดอะไรเตอร์
บรรณาธิการแปลและเรียบเรียงภาคภาษาไทย : ธารา บัวคำศรี