ผู้เขียนบทความนี้คือ Michael White เขาเป็น Adjunct Professor, Global Change Institute at University of Queensland  บทความนี้เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011เพื่อตั้งคำถามถึงความจำเป็นของการมีองค์กรภายใต้สหประชาชาติที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมขุดเจาะปิโตรเลียมนอกชายฝั่งเป็นการเฉพาะ
Oil_rig_fire_aap
มันจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่?

จากรายงานของรัฐบาลสหรัฐเรื่องสาเหตุการระเบิดและรั่วไหลของบ่อน้ำมัน Macondo ในอ่าวเม็กซิโก หรือรู้จักกันว่า Deepwater Horizon ถึงเวลาทีพิจารณาว่ากฏหมายของออสเตรเลียสามารถจะจัดการกับปัญหาของ Deepwater Horizon ในบ้านของตนเองได้หรือไม่ 

ราวร้อยละ 70% ของการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทของออสเตรเลียมาจากการสำรวจและขุดเจาะนอกชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ทะเลและมหาสมุทรที่ยังคงสะอาดและอุดมสมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะก๊าซและน้ำมันมอนทาราของบริษัทพีทีทีสำรวจและผลิต (PTTEP’s Montara Wellhead Platform) ในวันที่ 21 สิงหาคม 2009 จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและวิตกกังวล บ่อก๊าซและน้ำมันมอนทารานี้อยู่ห่างจากชายฝั่งออสเตรเลียตะวันตกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร หรือประมาณ 700 กิโลเมตรจากเมืองดาร์วิน ที่ตั้งของแหล่งมอนทารานั้นอยู่ในเขตน่านน้ำของเครือจักรภพ (ออสเตรเลีย)

เป็นเวลานับ 10 สัปดาห์หลังจากเหตุน้ำมันรั่ว น้ำมันและก๊าซไหลออกมาจากหลุมขึ้นสู่ทะเลติมอร์ และแผ่กระจายปกคลุมพื้นที่ราว 90,000 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1 ใน 3 ส่วนของพื้นที่อ่าวไทย) เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหายนะภัยน้ำมันรั่วนอกชายฝั่งครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย

ในการรับมือกับเหตุการณ์ หน่วยงานความปลอดภัยทางทะเลของออสเตรเลีย (the Australian Maritime Safety Authority) ได้ดำเนินการตามแผนแห่งชาติเพื่อจัดการกับมลพิษทางทะเลจากน้ำมันและสารอันตรายและเป็นพิษอื่นๆ (National Plan to Combat Pollution of the Sea by Oil and Other Noxious and Hazardous Substances) ภายใต้แผนแห่งชาตินี้ ได้มีการสำรวจและติดตามประเมินผลจากปฏิบัติการขจัดคราบน้ำมันและการใช้สารเมีขจัดคราบน้ำมัน

คณะกรรมการสอบสวนได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาถึงหายนะภัยน้ำมันรั่วครั้งนี้

Montara inquiry
รายงานของคณะกรรมการสอบสวน(The Montara Inquiry Commission’s Report) มีความสำคัญเป็นอย่างสูง

การจัดทำกรอบการศึกษาเพื่อใช้ในการสอบสวนนั้นครอบคลุมประเด็นที่กว้างขวาง และคณะกรรมการชุดนี้ใช้เวลาทำงานหลายเดือน รายงานของคณะกรรมการได้นำเสนอออกสู่สาธารณะในเดือนพฤศจิกายน 2010 พร้อมๆ กับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับมือของรัฐบาลออสเตรเลียต่อข้อเสนอแนะ 105 ข้อในรายงาน

รายงานระบุว่า การที่บริษัท PTTEP ติดตั้งแนวกั้นในบ่อน้ำมันเพื่อป้องกันการรั่วไหลเพิ่มเติมนั้นดำเนินการอย่างไม่เพียงพอ และยังไม่ได้ติดตั้งแนวกั้นอันที่สองที่จำเป็นต้องทำอีกด้วย

เนื้อหาในรายงานได้วิพากษ์ถึงการทำงานของบริษัท PTTEP และเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐนอร์ทเทอร์นเทอริทอรี่ แต่กลับมิได้วิเคราะห์อย่างจริงจังถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลกลางออสเตรเลีย

ข้อเสนอแนะหนึ่งในนั้นคือ รัฐบาล(ออสเตรเลีย) ควรเสนอถึงการเตรียมความพร้อมที่มีประสิทธิภาพเพื่อรับประกันว่าบริษัทปิโตรเลียม (PTTEP) ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการทำความสะอาดคราบน้ำมันและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการสำรวจศึกษาทางวิทยาศาสตร์

รายงานพิจารณาถึงข้อบังคับทางกฏหมายที่เกี่ยวข้อง คือ Commonwealth Environment Protection and Biodiversity Conservation Act 1999 และพบว่ายังมีช่องว่างในการบังคับใช้กับผลกระทบที่เกิดขึ้นในเขตน่านน้ำของออสเตรเลีย

ข้อเสนอแนะที่สำคัญอื่น ๆ รวมถึง การสร้างหน่วยงานกำกับดูแลที่เป็นอิสระหน่วยเดียว เพื่อดูแลประเด็นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นข้อเสนอที่มีมาก่อนนี้โดยคณะกรรมาธิการ Productivity Commission ในปี 2009.

ใบแถลงข่าวในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2010 รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องได้ยืนยันถึงมุมมองของตนว่า หาก PTTEP ซึ่งดำเนินการแทนขุดเจาะมอนทาราและรัฐบาลท้องถิ่นนอร์ทเทอร์นเทอริทอรี่ ทำงานของตนอย่างเหมาะสม การระเบิดและรั่วไหลของน้ำมันออกสู่ทะเลติมอร์อย่างมหาศาลนี้จะไม่เกิดขึ้น

ด้วยข้อยกเว้นสองสามข้อ รัฐบาลกลางออสเตรเลียตัดสินใจดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน

รัฐบาลออสเตรเลียเห็นด้วยว่า the National Offshore Petroleum Safety Authority (NOPSA) ต้องมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมและตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นคือ  National Offshore Petroleum Safety and Environmental Management Authority (NOPSEMA)

NOPSEMA ทำหน้าที่บริหารและกำกับดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในเขตน่านน้ำของออสเตรเลียเพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อนซึ่งดูแลโดยรัฐบาลท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐท้องถิ่นที่ควบคุมงานบางด้านที่มีความสำคัญมาก

Queensland spill
หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่สามารถป้องกันเหตุการณ์น้ำมันรั่วมิให้เกิดซ้ำได้หรือไม่

ภายใต้โครงสร้างของหน่วยงาน NOPSEMA ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ รัฐบาลมอบหมายพื้นที่สามไมล์ทะเลให้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานนี้ เมื่อดูจากประวัติศาสตร์ 110 ปี นับตั้งแต่การมีการปกครองแบบสหพันธรัฐของออสเตรเลีย การให้รัฐบาลท้องถิ่นทุกรัฐเห็นด้วยกับข้อบังคับทางกฏหมายทั้งหมดนั้นเป็นไปได้ยาก

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่ว ุคงแม้ว่าจะมีการทบทวนอย่างระมัดระวังของการปรับปรุงธรรมาภิบาลในบริษัท PTTEP ก็ยังคงได้รับอนุญาติใ้ดำเนินการสำรวจและขุดเจาะก๊าซและน้ำมันต่อไป รวมถึงการขุดเจาะหลุมใหม่เพิ่มในทะเลติมอร์ (แหล่ง Cash and Maple gas fields) เพื่อพัฒนาโครงการ LNG ลอยน้ำที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์

ส่วนพื้นที่พัฒนามอนทารา ซึ่งประกอบด้วยหลุมก๊าซและน้ำมันมอนทารา สกัว สวอลโล และสวิฟท์ ก็ยังคงมีการดำเนินการต่อไป พื้นที่เหล่านี้มีระยะทางห่างจากเมืองดาร์วิน 650 กืโลเมตร ทางทิศตะวันตก

PTTEP ทำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องการจัดการและกระบวนการเพื่อยกระดับกระบวนการด้านความปลอดภัย สุขภาพสิ่งแวดล้อม และการปรึกษาหารือกับหน่วยงานควบคุมดูแลของรัฐบาล โดยรวม รัฐบาลออสเตรเลียได้อนุมัติสัมปทานปิโตรเลียมนอกชายฝั่งเพิ่มเติม และ PTTEP ยังมีบทบาทสำคัญในการลงทุนทำธุรกิจ

และแล้ว ในวันที่ 20 เมษายน 2010 เกิดการระเบิดของก๊าซและน้ำมันจากหลุมลึกภายใต้แท่น  Deepwater Horizon ในอ่าวเม๊กซิโก ไฟลุกท่วมเป็นเวลา 36 ชั่วโมง และแล้วแท่นขุดเจาะก็จมลง น้ำมันและก๊าซยังคงไหลออกมาจากหลุมผ่านบ่อที่เจาะลงไปและมันยังคงผุอออกมาเป็นเวลา 87 วัน ก่อให้เกิดมลพิษซึ่งสร้างความเสียหายในทะเลและายฝั่งของรัฐหลุยเซียนา

ข่าวไฟลุกท่วมและการรั่วไหลของน้ำมันแพร่กระจายไปทั่วโลกและทำให้สาธารณะชนรับรู้ประเด็นการทำงานของแท่นขุดเจาะนำ้มันและก๊าซนอกชายฝั่งและความเสี่ยงของมันเพิ่มมากขึ้น

รายงานของคณะกรรมาธิการประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ มีส่วนคล้ายเคียงกับจุดยืนของในรายงานของรัฐบาลออสเตรเลีย ข้อสรุปสิงประการคือ 1) ความเสียหายนั้นสามารถป้องกันได้และความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าของบริษัท BP, Halliburton และ Transocean ความผิดพลาดทั้งหลายนี้มาจากความล้มเหลวที่เป็นระบบการจัดการความเสี่ยงและนำไปสู่คำถามต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมทั้งหมด

ส่วนในฝ่ายรัฐบาลนั้น รายงานระบุว่า “ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลนี้ซ้ำเติมโดยโครงสร้างทางองค์กรที่ล้าสมัย การขาดแคลนทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง และไร้ซึ่งความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีที่เพียงพอ และความยากลำบากในการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งมีสถานภาพและความรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง

แล้วสามารถเห็นได้ว่า การวิพากษ์และข้อเสนอแนะในรายงานกรรมาธิการประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับกฏหมายและธรรมาธิบาลก็ยังมีลักษณะคล้านคลึงกับประเด็นหายนะภัยน้ำมันรั่วของออสเตรเลีย

เนื่องจากกิจการปิโตรเลียมเป็นอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงควรมีโครงสร้างการกำกับดูแลในทางสากล มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ดีและโครงสร้างระดับชาติเกี่ยวกับการเดินเรือสากลและการประมงโลกอยู่บ้าง แต่ไม่มีข้อตกลงสากลที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมเลย

มันง่ายที่จะพูดว่า หน่วยงานระหว่างประเทศใดที่จะสามารถจัดการเรื่องนี้ด้วยข้อบังคับและกฏเกณฑ์ที่มีอยู่เกี่ยวกับกิจการชุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง แต่ไม่มีหน่วยงานที่ว่าในขณะนี้และมีความยากลำบากเทื่อพิจารณาถึงหน่วยงานของสหประชาติที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น the International Maritime Organization (IMO) ในการเข้ามาดูแลประเด็นนี้

วัตถุประสงค์ของ IMO ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตราที่  1 ของอนุสัญญาและมาตราทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับการเดินเรือระหว่างประเทศและการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการเดินเรือ ไม่มีการระบุถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซนอกชายฝั่ง

อยางไรก็ตาม คณกรรมการกฏหมายของ IMO ได้รับรองความเห็นที่ก้าวหน้าและเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเน้นความสำคัญของกฏเกณฑ์และมาตรการของมบประเด็นมลพิษจากน้ำมันจากแท่นขุดเจาะนอกชายฝั่ง

ย้อนกลับไปในปี 1977 the Comite Maritime International (CMI) ริเริ่มให้มีการร่างอนุสัญญา อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปิโตรเลียมทำได้การเจรจาหว่านล้อมเพื่อต่อต้านการร่างอนุสัญญาและการทำงานเพื่อร่างอนุสัญญาก็สิ้นสุดลง

หากอนุสัญญาที่ว่านี้เดินหน้า อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลนอกชายฝั่งก็จะมีการกำกับดูแลและควบคุมเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมการเดินเรือระหว่างประเทศ กรณีของ Deepwater Horizon และ the Montara Platform oil spills อาจนำไปสู่การทำงานเพื่อร่างอนุสัญญานี้หรือไม่

หายนะภัยน้ำมันรั่วที่ Montara เปิดเผยให้เห็นถึงการไร้ซึ่งกฏเกณฑ์ในทางสากล การขาดมาตรการทางกฎหมายของรัฐบาลออสเตรเลีย และการขาดความเชี่ยวชาญอย่างร้ายแรงของอุตสหกรรมสำรวจชุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง เป็นแบบเดียวกันกับข้อสรุปที่พบนรายงานของคณะกรรมาธิการประธานาธิบดีสหรัฐที่เกี่ยวข้องกับหายนะภัยน้ำมันรั่วที่อ่าวเม็กซิโก

ควรมีโครงสร้างในทางสากลและจำเป็นต้องมาจากสหประชาชาติ ในออสเตรเลีย ควรมีหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบและดำเนินการภายใต้กฏหมายชุดเดียวกันของรัฐบาลกลาง

สุดท้าย ต้องระบุถึงการไร้ซึ่งการประกันภัยที่บังคับใช้เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดคราบน้ำมัน อาจน้ำเอาแบบจำลองที่มีการใช้กับอุตสาหกรรมการขนส่งทางทะเลมาใช้