
หลังจากฤดูร้อนที่หนาวเย็นผิดปกติในเขตซีกโลกด้านเหนือสุด พื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกดูเหมือนจะมาถึงจุดต่ำสุดในวันที่ 13 กันยายน 2013 การวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียมโดย the National Snow and Ice Data Center (NSIDC) แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำแข็งของทะเลอาร์กติกหดตัวลงเป็น 5.10 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 1.97 ล้านตารางไมล์
พื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกในเดือนกันยายนปี 2013 นี้ มีขอบเขตมากกว่าสถิติที่บันทึกไว้ในช่วงปีที่ผ่านมา ในเดือนกันยายน 2012 พื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกมีขอบเขตเพียง 3.41 ล้านตารางกิโลเมตร (1.32 ล้านตารางไมล์) ซึ่งเป็นสถิติที่ต่ำสุด(ของพื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำแข็ง)ที่มีการบันทึกข้อมูลโดยการสังเกตจากดาวเทียม
แม้ว่าการละลายของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกในปี 2013 จะน้อยกว่าในปี 2012 แต่ก็ถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดลำดับที่หก เท่าที่มีบันทึกข้อมูลโดยดาวเทียม การละลายของน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกในปีนี้ยังคงเป็นไปตามแนวโน้มระยะยาวการละลายของน้ำแข็ง โดยมีอัตราการสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งราวร้อยละ 12 ต่อรอบสิบปีนับตั้งทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา และการละลายของน้ำแข็งเพิ่มมากขึ้นในอัตราเร่งหลังจากปี 2007 เป็นต้นมา
นาย Walt Meier นักธารน้ำแข็งวิทยาแห่ง NASA’s Goddard Space Flight Center กล่าวว่า “ผมได้คาดไว้แล้วว่าพื้นที่ส่วนที่เป็นน้ำแข็งของมหาสมุทรอาร์กติกในปีนี้จะมากกว่าปีที่ผ่านมา เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นเมื่อการละลายของน้ำแข็งซึ่งทำให้ส่วนที่เป็นพื้นที่น้ำแข็งลดลงต่ำสุด ในข้อมูลดาวเทียมของเรา พื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกไม่เคยมีสถิติต่ำสุดที่เกิดต่อเนื่องกันปีต่อปีมาก่อน
แผนที่แสดงให้เห็นถึงขอบเขตของน้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกในวันที่ 13 กันยายน 2013

ถึงแม้ว่าพื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกในเดือนกันยายน 2013 มีมากกว่าในปี 2012 แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะเป็นปรากฏการณ์ “global cooling” หรือการที่น้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกนั้นกลับคืนมา กราฟด้านบนชี้ให้เห็นว่าพื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกนั้นลดลงปีต่อปีนับตั้งแต่ปี 1979 กราฟวัฐจักร(cycle plot) แสดงค่าเฉลี่ยของพื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ จากปี 1979 ถึง 2013
พื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติกหดตัวและเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล พื้นที่จะขยายเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงฤดูหนาวโดยเพิ่มขึ้นสุงสุดในเดือนมีนาคม ส่วนการละลายนั้นก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยที่การละลายของน้ำแข็งทำให้พื้นที่น้ำแข็งลดลงต่ำสุดในเดือนกันยายน กราฟด้านล่างแสดงวัฐจักในคาบหนึ่งปี รวมถึงแนวโน้มระยะยาวและแนวโน้มในช่วง 2 ปีทีผ่่านมา

ในปี 2013 สภาพอากาศที่เย็นกว่าในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนทำให้ฤดูกาลของน้ำแข็งอาร์กติกเกิดขึ้นล่าช้าและการละลายนั้นมีน้อยลง อุณหภูมิที่เย็นกว่าราว 1 ถึง 3 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ย จากข้อมูลการสังเกตการณ์และการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองที่เรีกยว่า Modern Era Retrospective analysis for Research and Applications (MERRA). ฤดร้อนที่เย็นขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากพายุไซโคลนและระบบสภาพภูมิอากาศซึ่งนำเมฆมาปกคลุมและกันแสงแดดที่มำให้น้ำแข็งและน้ำมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
พื้นที่น้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกในปัจจุบันนั้นบางลงเมื่อเทียบกับเมื่อหลายปีก่อน จากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม การวัดโดยใช้คลื่นโซนาและข้อมูลที่รวบรวมจาก NASA’s Operation IceBridge ระบุว่า ความหนาของน้ำแข็งนั้นน้อยกว่าถึงร้อนละ 50 เมื่อเทียบกับความหนาในช่วงทศวรรษก่อน โดยที่ความหนาเฉลี่ยจากเดิมซึ่งอยู่ที่ 3.8 เมตร ในปี 1980 กลายมาเป็นความหนาเฉลี่ยที่ 1.9 เมตร เมื่อไม่นานมานี้
มหาสมุทรอาร์กติกเคยปกคลุมด้วยน้ำแข็งหลายชั้น น้ำแข็งชั้นที่อยู่รอดพ้นจากการละลายมาได้อย่างน้อยที่สุดในช่วง 2 ฤดูร้อน โดยทั่วไปจะมีความหนาราว 3 ถึง 4 เมตร ชั้นน้ำแข็งเก่าเหล่านี้ลดลงในอัตราที่เร็วกว่าชั้นน้ำแข็งใหม่
Joey Comiso นักวิทยาศาสตร์อาวุโสแห่ง NASA Goddard และผู้เขียนหลักในเรื่องการสังเกตน้ำแข็งในรายงานว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ IPCC (the Intergovernmental Panel on Climate Change) กล่าวว่า “ชั้นนำแข็งที่บางกว่าจะละลายในอัตราที่เร็วกว่าชั้นน้ำแข็งที่หนากว่า ดังนั้นถ้าความหนาของชั้นน้ำแข็งในอาร์กติกลดลง พื้นที่ของน้ำแข็งที่ปกคลุมอาร์กติกก็จะลดลงด้วย ในอัตราที่มีการทำการสังเกตการณ์นี้ เป็นไปได้อย่างยิ่งว่า มหาสมุทรอาร์กติกจะปราศจากน้ำแข็งในช่วงฤดูร้อนภายในศตวรรษนี้”
Further Reading
- NASA Earth Observatory World of Change: Arctic Sea Ice.
- National Snow and Ice Data Center (2013, September 20) Arctic sea ice reaches lowest extent for 2013. Accessed September 20, 2013.
NASA Earth Observatory image by Jesse Allen, using data from the Advanced Microwave Scanning Radiometer 2(AMSR2) sensor on the Global Change Observation Mission 1st-Water (GCOM-W1) satellite. Sea ice line plot and cycle graph by Robert Simmon, NASA Earth Observatory, based on NSIDC data. Caption by Maria-José Viñas, NASA Earth Science News Team, and Mike Carlowicz, NASA Earth Observatory.