bangladesh_tmo_2014036สิ่งที่กลายเป็นเรื่องปกติในบังคลาเทศในช่วงฤดูหนาว คือ หมอกควันหนาทึบปกคลุมประเทศ ภาพด้านบนคือภาพถ่ายดาวเทียมที่เครื่องมือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) บนดาวเทียม Terra ถ่ายไว้ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557

แถบหมอกควันพิษเป็นผลพวงของการรวมตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กและละอองไอน้ำจำนวนมหาศาลที่ล่องลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ หมอกควันพิษดังกล่าวนี้เป็นตัวกระจายและดูดซับแสงอาทิตย์ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบและรูปร่างของอนุภาคนั้น

ภูมิประเทศที่ปกติจะมีสีสันแตกต่าง ก็จะเห็นเป็นเฉดสีเทาหม่นๆ ดังภาพ ส่วนแถบสีขาวในภาพนั้นคือเมฆ

อนุภาคแขวนลอยในบรรยากาศมาจากหลายแหล่งด้วยกัน โดยที่การเผาไหม้ชีวมวลนั้นเป็นแหล่งกำเนิดหลักในบังคลาเทศ ด้วยความที่ประชากรส่วนใหญ่ยังใช้ไม้ฟืน ฟางข้าว มูลสัตว์และการหุงหาอาหารและใช้เป็นความร้อนในบ้านเรือน เชื้อเพลิงชีวภาพเหล่านี้ปลดปล่อยอนุภาคแขวนออกสู่บรรยากาศเพราะว่าผู้คนใช้การเผาไหม้ในอุณหภูมิต่ำทำให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์

ยานยนตร์และอุตสาหกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดหมอกควันพิษในฤดูหนาวปกคลุมเหนือท้องฟ้าแห่งบังคลาเทศ อุตสาหกรรมทำอิฐ ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการในฤดูหนาว ก็เป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นละอองแขวนลอยเพราะใช้เตาเผาอิฐที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก การศึกษาโดยใช้ข้อมูลตรวจวัดคุณภาพอากาศภาคพื้นดิน ระบุว่า 1 ใน 3 ของฝุ่นละอองขนาดเล็กมาจากยานพาหนะ อีก 1 ใน 3 มาจากเตาเผาอิฐ และที่เหลือนั้นมาจากกระแสที่พัดพาเอาฝุ่นจากพื้นดินแห้งและฝุ่นจากผิวถนน

ในขณะที่การผลิตอิฐและการใช้ความร้อนมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูหนาว สภาพทางอุตุนิยมวิทยาก็มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดหมอกควันพิษด้วย ในช่วงที่เหลือของปี ฝนที่ตกหนักช่วยชะล้างฝุ่นละอองและมลพิษในอากาศ แต่ช่วงฤดูหนาวนั้นเป็นช่วงที่แห้งแล้ง กระแสลมก็พัดอ่อนลงด้วยในช่วงฤดูหนาวซึ่งทำให้มลพิษและฝุ่นละอองต่างๆ กักตัวในอยู่ในพื้นที่

อินเดียเพื่อนบ้านของบังคลาเทศได้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในอัตราเร่งเมื่อไม่นานมานี้ เครื่องมือวัดโอโซนบนดาวเทียมออราตรวจพบการเพิ่มขึ้นของการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ร้อยละ 60 จากโรงไฟฟ้าถ่านหินในอินเดียในช่วงปี 2005 ถึง 2012 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเข้าทำปฏิกิริยากับสสารอื่นๆ ในบรรยากาศเกิดเป็นอนุภาคซัลเฟตซึ่งมีส่วนทำให้เกิดแถบหมอกควันพิษปกคลุมอยู่เหนือท้องฟ้าของบังคลาเทศ

อ้างอิง

  • Azad, K. & Kitada, T. (1998, June 1) Air pollution by fine particulate matter in Bangladesh. Atmospheric Pollution Research, 32 (11), 1991-2005.
  • Begum, B et al. (2011, October 13) Key issues in controlling air pollutants in Dhaka, Bangladesh. Atmospheric Environment, 45 (40), 7705-7713.
  • Begum, B. et al. (2013, January) Air pollution by fine particulate matter in Bangladesh. Atmospheric Pollution Research, 4 (1), 75-86.
  • Hyslop, N. (2009) Impaired visibility: the air pollution people see. Atmospheric Polluton, 242-249.
  • Miah, B. et al. (2011) Implications of Biomass Energy and Traditional Burning Technology in Bangladesh. Environmental Science and Engineering, 242-249.
  • Schmidt, C. (2013, August 1) Modernizing Artisanal Brick Kilns: A Global Need. Environmental Health Perspectives, (121) 39-53.
  • NASA image courtesy Jeff Schmaltz, LANCE/EOSDIS MODIS Rapid Response Team at NASA GSFC. Caption by Adam Voiland.