

ปลายเดือนกรกฎาคม 2562 เกิดเหตุการณ์พืดน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายหนักมาก น้ำแข็งละลายเป็นมวลน้ำจืดนับพันล้านตันลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตลอดทั้งเดือนกรกฎาคม ส่งผลทันทีและโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล
การที่พืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายนั้นเกิดจากมวลอากาศร้อนเคลื่อนตัวปกคลุมเกาะกรีนแลนด์หลังจากที่ทำให้เกิดอากาศร้อนที่ไม่เป็นตามฤดูกลาลทั่วทั้งทวีปยุโรป แผนที่ด้านบนแสดงความผิดปกติของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในระยะสั้นของเกาะกรีนแลนด์ ชี้ให้เห็นว่าอุณหภูมิอากาศในวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 สูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิของช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา(20-26 กรกฎาคม 2652) อย่างไร จะเห็นว่า จุดศูนย์กลางของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ต้องเจอกับอากาศร้อนอย่างไร
แผนที่ทำขึ้นจากแบบจำลอง Goddard Earth Observing System (GEOS) ของอากาศระดับสองเมตรจากพื้นผิว แบบจำลอง GEOS ก็เช่นเดียวกันกับแบบจำลองสภาพอากาศและสภาพภูมิอากาศอื่นๆ ที่ใช้สมการทางคณิตศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของกระบวนการทางกายภาพต่างๆ เช่น แบบแผนการตกของน้ำฟ้าและเมฆ เป็นต้น เพื่อคำนวณว่าชั้นบรรยากาศจะเป็นอย่างไร การวัดคุณสมบัติทางกายภาพจริงๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และลม เป็นต้น จะถูกป้อนเข้าไปในแบบจำลองเป็นระยะๆ เพื่อให้การสร้างแบบจำลองเข้าใกล้ความจริงที่สังเกตได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อมูลจากแบบจำลองนำเสนอภาพโดยประมาณแบบกว้างๆ ของพื้นที่ที่ไม่มีค่อยมีสถานีตรวจวัดสภาพอากาศภาคพื้นดิน
มีเครื่องมือวัดภาคพื้นดินที่นำข้อมูล รวมถึง Summit Station เนื่องจากตั้งอยู่บนที่ที่สูงที่สุดของจุดกลางของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ สถานีวัดแห่งนี้ไม่ค่อยเจออุณหภูมิที่เกินกว่า อุณหภูมิที่จุดเยือกแข็ง (0°C) แต่ในวันที่ 30 กรกฎาคม อุณหภูมิอากาศยังคงอยู่ที่จุดเยือกแข็งมากกว่า 11 ชั่วโมง โดยระยะเวลาที่มีอุณหภูมิคงอยู่ที่จุดเยือกแข็งหรือเหนือกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเหตุการณ์พืดน้ำแข็งละลายในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2555 มากกว่าเป็นเกือบสองเท่า
การละลายของพืดน้ำแข็งกรีนแลนด์ในเดือนกรกฎาคม 2555 และ 2562 เป็นไปตามแบบแผนเดียวกัน โดยที่การละลายเกิดขึ้นหลังจากวันที่มีอุณหภูมิอากาศไม่ถึงจุดเยือกแข็ง และตามมาด้วยวันที่อากาศเย็น ความแตกต่างของเดือนกรกฎาคม 2562 คือ เหตุการณ์ละลายของพืดน้ำแข็งขยายเป็นสองวัน และอีก 2-3 ชั่วโมงในวันที่ 31 กรกฎาคม
“ข้อมูลด้านอุณหภูมิดังกล่าวนี้ มาจาก NOAA’s Earth System Research Laboratory ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของตำแหน่งของ Summit Station ที่อยู่บนพืดน้ำแข็งที่ซึ่งใช้วัดตัวแปรด้านสภาพภูมิอากาศที่แสดงให้เห็นสภาวะอากาศที่ผิดปกติจากเดิม ” Christopher Shuman จากมหาวิทยาลัย Maryland และนักธารน้ำแข็งวิทยาประจำ NASA’s Goddard Space Flight Center กล่าว
อากาศร้อนส่งผลให้น้ำแข็งละลายสะสมอยู่บนพื้นผิวขิงพืดน้ำแข็ง ภาพถ่ายสีธรรมชาติด้านบนเกิดขึ้นในวันที่ 30 กรกฎาคม 2652 ด้วยเครื่องมือ Operational Land Imager (OLI) บนดางเทียม Landsat 8 แสดงให้เห็นถึงแอ่งน้ำแข็งจากการละลายทางตะวันตกเฉียงเหนือใกล้กับขอบพืดน้ำแข็ง การละลายในช่วงฤดูร้อนบรเวณชายขอบเป็นลักษณะที่เป็นแบบแผน ส่วนพื้นที่ทีเกิดการละลายทั้งหมดเป็นพื้นที่เกือบ 1 ล้านตารางกิโลเมตรของพืดน้ำแข็ง ที่เกิดขึ้นในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2562 ไม่ค่อยเกิดขึ้น
ถึงกระนั้น ขอบเขตของการละลายที่พื้นผิวในปีนี้ครอบคลุมในพื้นที่ที่เล็กกว่าช่วงเหตุการณ์ในปี พ.ศ.2555 เหตุผลประการหนึ่งคือทิศทางการเคลื่อนตัวของมวลอากาศร้อนที่มาจากทางด้านทิศตะวันออก แทนที่จะเป็นการเคลื่อนตัวแบบเดิมที่มาจากด้านทิศตะวันตก
ที่มา : NASA Earth Observatory images by Joshua Stevens, using GEOS-5 data from the Global Modeling and Assimilation Office at NASA GSFC, and Landsat data from the U.S. Geological Survey. Story by Kathryn Hansen.