พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถทดแทนความจำเป็นในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ

ในยุโรป การลดการจัดหาก๊าซธรรมชาติภายในประเทศทำให้ต้องมีการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงภายนอก มากขึ้น และ ในปี 2006  แก๊สพรอม(Gazprom) ผู้จัดหาก๊าซของรัฐบาลรัสเซียตัดการจัดส่งก๊าซไปยังยูเครนและ ประเทศในยุโรปบางประเทศที่มีประสบการณ์เรื่องการจัดพลังงานที่ลดลง

ในยุโรป การคาดการณ์ความต้องการก๊าซนำเข้าจะเพิ่มมากขึ้นอย่างมโหฬาร  อย่างไรก็ตาม โดยเฉลี่ย การก่อสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร​์ต้องใช้เวลาราวสิบปีจากการวางแผนไปถึงการดำเนินการ แม้ว่า พลังงานนิวเคลียร์จะสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของโลกในปัจจุบันในสัดส่วนที่น้อยมาก ก็จะใช้เวลายาวนาน

นอกจากนี้ มีเพียงร้อยละ 21 ของการใช้ก๊าซธรรมชาติในขั้นสุดท้ายใน 27 ประเทศในสหภาพยุโรป หรือ EU 27 ที่นำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า ส่วนใหญ่ใช้ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เปิดและปิดได้ตามความต้องการใช้ไฟฟ้า การที่ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่นำไปใช้ในการทำความร้อนหรือกระบวนการทางอุตสาหกรรมอื่น ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ซึ่งจะจำกัดอยู่ที่การผลิตไฟฟ้าจะประสบความล้มเหลวต่อการตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้นจากความขัดข้องใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับแหล่งก๊าซธรรมชาติ

เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและมาตรการด้านประสิทธิภาพพลังงานมีอยู่แล้วในขณะนี้ ระยะเวลาในติดตั้ง กังหันลมขนาดใหญ่ใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ รวมกับระยะเวลาของการวางแผนรวมกันเป็นประมาณ 1-2 ปี เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลม แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวลและพลังน้ำขนาดเล็ก สามารถที่จะตอบสนองความต้องการพลังงานทั้งไฟฟ้าฐาน(Base load) และความต้องการไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงได้ มากไปกว่านั้น หากเราใช้โรงไฟฟ้าก๊าซที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อผลิตทั้งไฟฟ้าและความร้อนในระบบโคเจนเนอเรชั่น เราสามารถใช้ก๊าซในการผลิตไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพถึงร้อยละ 90 โดยไม่ต้องเพิ่มการใช้ก๊าซโดยรวม