พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถรับประกันถึงการลงทุนในอนาคต

อุบัติภัยที่เชอร์โนบิลและเกาะทรีไมล์ และเมื่อเร็วๆ นี้ที่ฟูกูชิมากับผลกระทบอันน่าตื่นตระหนกของมัน นำไปสู่การสูญเสียความเชื่อมั่นของสาธารณชนที่มีต่ออุตสาหกรรมนิวเคลียร์ซึ่งคำสั่งซื้อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่ๆ ยุติลงอย่างรวดเร็วทั่วโลก อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ต้องหยุดอยู่กับที่ สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือ ถึงแม้จะมีการพูดถึงการฟื้นฟูยุคนิวเคลียร์ การคาดหวังอย่างสูงก็ไปด้วยกันไม่ได้กับคำสั่งซื้อเตาปฏิกรณ์แห่งใหม่ อุบัติภัยที่อาจจะเกิดขึ้น เช่นในกรณีของเตาปฏิกรณ์ที่มีขนาดใหญ่และสลับซับซ้อนมากขึ้นเช่นเตาปฎิกรณ์น้ำความดันของยุโรป(EPR) อาจจะมีความร้ายแรงมากกว่ากรณีของเชอร์โนบิล และหากเกิดขึ้นมาจะทำให้อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ไม่มีทางโงหัวขึ้นได้เลย ไม่แปลกใจเลยว่าอุตสาหกรรมนิวเค ลียร์ได้พยายามต่อสู้เพื่อให้เกิดการลงทุน อันเนื่องมาจากความเสี่ยงต่อมนุษย์และความเสี่ยงทางการเงินดังกล่าว

ไม่มีคำสั่งซื้อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกามาเป็นเวลา 29 ปีแล้ว แม้รัฐบาลพยายามผลักดันนักลงทุนด้วยเครดิตทางภาษี การรับประกันเงินกู้และความเสี่ยง และถึงแม้จะมีแรงจูงใจของรัฐบาลที่มีราคาแพงเหล่านี้ บริษัทจัดอันดับมูดี้ก็ยังมิได้เห็นว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์เป็นการลงทุนที่น่าสนใจ ทั้งนี้อันเนื่องมาจากปัญหาในเรื่องของความล่าช้าในการก่อสร้าง งบประมาณที่บานปลายและนัยของความไม่น่าเชื่อถือในการจัดอันดับและไม่ได้รับให้มีการดำเนินการในอนาคต จากมุมมองของความน่าเชื่อถือ ประวัติของธุรกิจและความเสี่ยงของการดำเนินการจะเพิ่มขึ้นแก่บริษัทที่รับเอาโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหม่ ๆ

หากอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ไม่สามารถรับประกันการลงทุนในอนาคตที่จะรักษาส่วนแบ่งอันเล็กน้อยของแหล่งพลังงานของโลก มันก็ไม่สามารถที่จะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคงไปสู่อนาคตอันยาวไกลได้

ด้วยกรอบทางการเมืองและกฎหมายที่มีความมั่นคงมากขึ้น การผลิตไฟฟ้าสีเขียวทำให้เราสามารถมีไฟฟ้าใช้ด้วยทางเลือกที่สะอาดขึ้น ปลอดภัยขึ้นและราคาถูกมากขึ้น งานที่ประสบผลสำเร็จในเยอรมนีในเรื่องของการออกกฎหมายเพื่อประกันราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน หรือ Feed-in-tariff และในรัฐเท็กซัสในเรื่องของการจัดสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (Renewable Portfolio Standards) ทำให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนในด้านเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและนำไปสร้างความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดโดยไม่จำเป็นต้องมีการอุดหนุนทางการเงิน การลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียนในระดับโลกได้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวในช่วงสามปีที่ผ่านมาและมีศักยภาพที่จะขยายเพิ่มขึ้นได้อีกมาก

ระบบพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์และประสิทธิทางพลังงาน – ทางออก

ทางเลือกในการนำเอาพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ไม่สามารถรับประกันความมั่นคงทางพลังงาน หรือช่วยทำให้เป็นอิสระทางพลังงานหรือลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีนัยสำคัญ พลังงานนิวเคลียร์เป็นการหันเหที่มีราคาแพงและเป็นอันตราย กีดกันการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและมีความมั่นคง ในประเทศฟินแลนด์ ซึ่งกำลังมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เป็นเตาปฏิกรณ์แบบน้ำอัดความดันหรือ EPR ตลาดพลังงานโดนกีดกันโดยเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่ ตลาดพลังงานนั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ของการลงทุนด้านพลังงานที่วางแผนไว้แล้วระหว่างปี 2006-2010 นาย Oras Tynkkynen สมาชิกสภาผู้แทนของฟินแลนด์กล่าวว่า “เราได้เลือกแล้ว เราได้เลือกเส้นทางสู่นิวเคลียร์ ซึ่งหมายความว่าเราได้ละเลยทางเลือกที่ยั่งยืนไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพพลังงานและพลังงานหมุนเวียน

อะโมรี โลวินส์ (Amory Lovins) แห่งสถาบันร็อกกี้เมาเทน สหรัฐอเมริกา ได้คำนวณว่า ทุก ๆ ดอลล่าร์ที่ลงทุนไปกับประสิทธิภาพทางไฟฟ้าจะลดการปล่อยคาร์บอนลงเกือบเจ็ดเท่าโดยไม่มีผลกระทบที่ร้ายแรงเมื่อเทียบกับแต่ละดอลล่าร์ที่ลงทุนไปกับพลังงานนิวเคลียร์”

มีความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียน 5.9 เท่า มากกว่าความต้องการพลังงานของโลกในปัจจุบันโดยการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ กรีนพีซและสภาพลังงานหมุนเวียนแห่งยุโรป(EREC) ได้ว่าจ้างให้สถาบัน DLR –ศูนย์ยานอวกาศแห่งเยอรมนี ทำการพัฒนาแนวทางพลังงานที่ยั่งยืนระดับโลกจนถึงปี 2050 เรียกว่า แผนการปฏิวัติพลังงาน (Energy Revolution Scenario) ซึ่งเป็นแผนการที่ทำเกิดขึ้นจริงได้โดยลด ละ เลิกพลังงานนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงฟอสซิลเพื่ออนาคตพลังงานที่มีความเท่าเทียมโดยการใช้พลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพทางพลังงานที่จะช่วยลดการใช้พลังงานของเราลงภายในปี 2050 โดยไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์