ซีเรียเผชิญชะตากรรมจากสงครามกลางเมืองตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศย่างกรายสร้างผลกระทบ ภัยแล้งเข้าปกคลุมประเทศในช่วงปี 2006 ถึง 2011 ปริมาณฝน/น้ำฟ้าที่ตกลงมาในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศต่ำกว่า 20 เซนติเมตรต่อปี เป็นปริมาณต่ำสุดของฝนที่จำเป็นต่อการเกษตรกรรมที่ไม่มีระบบชลประทาน เกษตรกรต้องขุดหาน้ำใต้ดินจากแหล่งใหม่นับร้อยนับพัน ผลคือระดับน้ำใต้ดินลดลงเรื่อยๆเกินกว่าจะสูบขึ้นมาใช้ได้

USDA Foreign Agricultural Service, Commodity Intelligence Report, May 9, 2008]

พื้นที่บางแห่งการทำเกษตรกรรมต้องยุติลง พื้นที่อื่นๆ ประสบความล้มเหลวของการการผลิตด้านเกษตรกรรมถึงร้อยละ 75 มากถึงร้อยละ 75 ของปศุสัตว์ตายจากการขาดน้ำและความหิวโหย  ชาวนาซีเรียนับแสนยอมจำนนกับสถานการณ์ ทิ้งไร่นาและเดินทางมาหางานทำ(ที่แทบจะไม่มี)ในเมืองและประสบกับการขาดแคลนแหล่งอาหาร นักสังเกตการณ์ภายนอกและผู้เชี่ยวชาญยูเอ็นประมาณว่ามีชาวซีเรีย 2 ถึง  3 ล้านคน ในจำนวน 10 ล้านคนที่อยู่ในชนบทนั้นมีสถานะอยู่ในขั้นยากจนอย่างสุดขั้ว

ผู้อพยพชาวซีเรียในประเทศพบว่าพวกเขาต้องสู้แข่งขันเพื่อหาอาหาร น้ำและงานที่มีจำกัด มิใช่เพียงกับผู้อพยพด้วยกันเอง หากแต่เป็นผู้อพยพจากประเทศเพื่อนบ้านที่มาอยู่อาศัยก่อนแล้วด้วย ซีเรียเป็นที่หลบภัยของชาวปาเลสไตน์กว่า 2 แสนคน และอีกกว่าแสนคนที่ลี้ภัยสงครามและการเข้ายึดครองอิรัก ชาวนาที่อพยพเข้ามาก่อนโชคดีกว่าที่ได้งานเป็นคนเร่ขายของหรือคนทำความสะอาดถนน ความสิ้นหวังในห้วงเวลานั้น ความไม่สงบก็เกิดขึ้นในกลุ่มผู้อพยพเพื่อแข่งขันที่จะอยู่รอด

ความอยู่รอดเป็นเรื่องหลัก เจ้าหน้าที่อาวุโสของ FAO ในซีเรีย อธิบายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2008 ว่าเป็น “perfect storm” เขาเตือนว่าซีเรียจะประสบกับ “การพังทลายทางสังคม” เขาตั้งข้อสังเกตว่า รัฐมนตรีเกษตรของซีเรียมีคำประกาศว่า ผลจากความล้มเหลวทางเศรษฐกิจและความวุ่นวายทางสังคมที่เป็นผลจากภัยแล้งรุนแรงนั้นอยู่เหนือขีดความสามารถของรัฐบาลที่จะรับมือได้ แต่คำร้องขอของเขาไม่มีใครได้ยิน

ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ฉลาดหรือไม่ เราได้รู้ว่า รัฐบาลซีเรียได้ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงโดยปฏิบัติการที่จะมีขึ้น ราคาข้าวสาลีในตลาดโลกที่เย้ายวนใจทำให้รัฐบาลได้ขายข้าวที่สำรองไว้ทั้งหมด ในปี 2006 จากข้อมูลของกระทรวงเกษตร มีการขายข้าวสาลีออกไป 1.5 ล้านตันหรือคิดเป็นสองเท่าของปริมาณที่ขายออกไปในปีก่อนหน้านี้ ปีต่อมาจึงมีจำนวนเหลืออยู่ไม่มากที่จะส่งออก และในปี  2008  และปีที่มีภัยแล้งรุนแรง รัฐบาลจำต้องนำเข้าข้าวสาลีเพื่อบรรเทาความอดยากหิวโหยของประชาชน

ความโกรธเกรี้ยว ความหิวโหย และขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพเป็นเชื้อไฟอย่างดีของการก่อหวดทางสังคม ประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ รวมตัวในวันที่ 15 มีนาคม 2011 ในเมืองดาราห์ เพื่อประท้วงรัฐบาลที่ลัมเหลวในการช่วยเหลือพวกเขา แทนที่รัฐบาลจะพยายามช่วยหรืออย่างน้อยที่สุดรับฟังข้อเรียกร้อง กลับใช้วิธีการปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง

ข้อมูลเพิ่มเติมในมิติอื่นๆ เกี่ยวกับสงครามกลางเมืองในซีเรีย ดูจาก http://www.theatlantic.com/international/archive/2013/09/your-labor-day-syria-reader-part-2-william-polk/279255/