ความผันผวนของสภาพอากาศในระยะสั้นเมื่อรวมเข้ากับการปล่อยมลสารจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้นำไปสู่การเกิดมลพิษทางอากาศ ในเดือนมกราคม 2556 มลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรมเข้าปกคลุมภาคอิสานของสาธารณะรัฐประชาชนจีน และช่วงเดือนมิถุนายน 2556 ควันไฟป่าจากสวนปาล์มน้ำมันขนาดใหญ่บนเกาะสุมาตราเข้าปกคลุมสิงคโปร์และคาบสมุทรมลายูรวมถึงบางส่วนของภาคใต้ของไทย
ในหลายๆ กรณี มลพิษทางอากาศจะคงตัวอยู่เป็นเวลาหลายวันหรือเป็นสัปดาห์ ทำให้มีคนป่วยจากโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น เมื่อมลพิษทางอากาศจางลง อากาศสดใส ความจำเรื่องอากาศแย่ ๆ ค่อยจางหายไป แต่ความเสี่ยงด้านสุขภาพมิได้จางหายไปด้วย ระดับมลพิษทางอากาศแม้จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยก็อาจมีผลอย่างมากต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ได้
คำถามคือ คนทั่วโลกรับสัมผัสกับมลพิษทางอากาศมากน้อยเพียงใด? แล้วความเสียหายด้านสุขภาพนั้นเป็นเท่าใด? ด้วยเหตุที่มีช่องว่างในเครือข่ายของการตรวจวัดภาคพื้นดิน เจสัน เวสต์ นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาได้พยายามหาคำตอบเหล่านี้โดยการใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์
ในปี ค.ศ.2010 เวสต์และทีมงานจัดพิมพ์เผยแพร่การประเมินผลกระทบสุขภาพระดับโลกจากมลพิษทางอากาศโดยใช้แบบจำลองสภาพอากาศแบบจำลองเดียว ต่อมา พวกเขาคิดว่าเพื่อปรับปรุงการคำนวณให้ดีขึ้นโดยใช้ผลจากแบบจำลองแบบต่าง ๆ หลาย ๆ แบบจำลอง แทนที่จะเป็นแบบเดียว ในปี ค.ศ. 2013 พวกเขาตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ลงใน Environmental Research Letters โดยสรุปว่ามีคน 2.1 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากผลกระทบโดยตรงจากมลพิษทางอากาศที่รู้จักกันในชื่อว่า “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (fine particulate matter) หรือ PM2.5
แผนที่ด้านบนแสดงแบบจำลองการประเมินจำนวนการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยต่อพื้นที่ 1,000 ตารางกิโลเมตร (386 ตารางไมล์) ต่อปีอันเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ นักวิจัยใช้ระดับของมลพิษทางอากาศระหว่างปี ค.ศ. 1850 และ 2000 เป็นมาตรวัดของมลพิษทางอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ พื้นที่สีน้ำตาลเข้มแสดงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากกว่าพื้นที่สีน้ำตาลอ่อน พื้นที่สีฟ้าเป็นพื้นที่ที่มีการปรับปรุงในเรื่องมาตรฐานขอมลพิษทางอากาศที่สัมพันธ์กับข้อมูลในปี ค.ศ. 1850 และมีการลดลงของการเสียชีวิตก่อนวัยอันคว ฝุ่นละอองขนาดเล็กก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลทางภาคอิสานของสาธารณะรัฐประชาชนจีน ภาคเหนือของอินเดียและยุโรป ซึ่งพื้นที่เหล่านี้มีการพัฒนาและการขยายตัวของเมืองอย่างเข้มข้นโดยปล่อย PM2.5 เป็นจำนวนมหาศาลสู่ชั้นบรรยากาศนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- Anenberg, S. et al, (2010, April 9) An Estimate of the Global Burden of Anthropogenic Ozone and Fine Particulate Matter on Premature Human Mortality Using Atmospheric Modeling. Environmental Health Perspectives, (118), 1189-1195.
- Discover (2013, July 17) Air Pollution Kills More Than 2 Million People Every Year. Accessed September 16, 2013.
- Institute of Physics (2013, July 12) Researchers estimate over two million deaths annually from air pollution.Accessed September 16, 2013.
- Silva, R. et al, (2013, March 23) Global premature mortality due to anthropogenic outdoor air pollution and the contribution of past climate change. Environmental Research Letters, 8 (3).
Earth Observatory image by Robert Simmon based on data provided by Jason West. Caption by Adam Voiland.