
อีกหนึ่งความเป็นไปได้ที่ dark กว่า คือแรงจูงใจของการที่กองทัพของปูตินเข้ายึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครนคือ การครอบครองวัสดุนิวเคลียร์จากเชื้อเพลิงใช้แล้วเพื่อผลิตอาวุธนิวเคลียร์
ง่ายๆ ครับ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว(Spent Fuel)ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นั้นส่วนหนึ่งคือพลูโทเนียมซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงหลักสองชนิดที่ใช้ในแกนของระเบิดนิวเคลียร์
รายงานข่าวของ NY Times https://www.nytimes.com/2022/03/04/science/ukraine-nuclear-power-plant.html ระบุว่า นาย Grossi จากทบวงพลังงานปรมาณูสากล(IAEA) ปฏิเสธกรณีที่รัสเซียอ้างว่า ยูเครนกำลังพยายามครอบครองอาวุธนิวเคลียร์
IAEA ระบุว่า จากกระบวนการกำกับดูแล โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และการจัดการเชื้อเพลิงใช้แล้วของยูเครนเป็นในทางสันติ(คือใช้ผลิตไฟฟ้าอย่างเดียว) แต่รัสเซียอาจมีแรงจูงใจยึดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่วนหนึ่งเพื่อรวบรวมวัสดุนิวเคลียร์จากเชื้อเพลิงใช้แล้วไว้เป็นของตัวเอง หรือไม่ก็ปิดเส้นทางเพื่อกันไม่ให้ยูเครนครอบครองวัสดุนิวเคลียร์(เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว)เพื่อใช้ทำหัวรบนิวเคลียร์
อย่างที่ทราบ พลูโทเนียมเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงหลักสองชนิดที่ใช้ในแกนของระเบิดนิวเคลียร์ นายอัลไบรท์ สถาบันวิทยาศาสตร์และความมั่นคงระหว่างประเทศ
กล่าวว่าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซีย(Zaporizhzhia) ในทางทฤษฎี หากใช้กระบวนการที่เหมาะสม สามารถสกัดพลูโตเนียมไปสร้างหัวรบนิวเคลียร์ได้มากถึง 3,000 หัว
แม้ว่าพลูโทเนียมที่เป็นผลพลอยได้จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้าไม่จัดว่าเชื้อเพลิงสำหรับอาวุธคุณภาพสูง ในช่วงสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาทำการศึกษาและ
การทดสอบที่ชี้ให้เห็นว่ามันใช้งานได้ อย่างเช่น ในปี 2505 สหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่ทำจากพลูโทเนียมที่มาจากเชื้อเพลิงใช้แล้วของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์
รัสเซียเองก็ทำการสกัดวัสดุนิวเคลียร์จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ผลิตไฟฟ้า
ตลอดยุคนิวเคลียร์
ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์กล่าวว่า พวกเขาเกรงว่า ในทางทฤษฎี ยูเครนเองสามารถเรียนรู้ศาสตร์มืดนี้ในวันใดวันหนึ่ง ในฉากทัศน์ดังกล่าวนี้ จะสะท้อนถึงความล้มเหลวครั้งใหญ่ของทบวงปรมาณูสากล(IAEA) ซึ่งมีภารกิจที่ต้องรับประกันว่า จะไม่มีผู้ดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โรงใดในโลกลักลอบสกัดพลูโทเนียมไปทำหัวรบนิวเคลียร์