แปลเรียบเรียงจาก https://earth.org/data_visualization/too-hot-to-live-in/ เขียนโดย Owen Mulhern สร้างแผนที่โดย Simon Papai บทความชิ้นนี้ใช้ข้อมูลจาก “Future of the human niche”, published in PNAS by Xu, Chi et al. (2020).

19 ใน 20 ปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 (ไม่รวมถึงปี 2563 ซึ่งอยู่ในอันดับต้น ๆ ของปีที่ร้อนที่สุด) การวิจัยพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี (MAT) ที่สูงกว่า 29°C ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ 0.8% ของโลก อาจส่งผลกระทบต่อประชากรโลกมากถึงหนึ่งในสามภายในปี 2613 (จากรายงานวิจัยของ Xu et al, 2020) เมื่อถึงเวลานั้น ประเทศไทยอาจร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่

เป็นเวลาหลายพันปีที่เผ่าพันธุ์มนุษย์วิวัฒนาการในพื้นที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปี (MATs) ระหว่าง 11°C ถึง 15°C ซึ่งเป็นตัวแทนของภูมิอากาศของโลกที่ค่อนข้างเป็นช่วงแคบๆ อย่างไรก็ตาม เผ่าพันธุ์มนุษย์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ที่มีอุณภูมิเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่านี้มาก และต้องรับมือกับอุณหภูมิสูงสุดในฤดูร้อนที่ท้าทายขีดจำกัดของมนุษย์

สำหรับประเทศไทย ช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมของทุกปี เราสามารถสัมผัสกับอากาศร้อนที่อาจสูงถึง 40°C โดยในปี 2559 ประเทศไทยต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 65 ปี

ภาพจาก NASA Earth Observatory โดย Jesse Allen โดยใช้ข้อมูลจาก Land Processes Distributed Active Archive Center (LPDAAC) คำบรรยายโดย Kathryn Hansen

ภาพด้านบนจากเครื่องมือบนดาวเทียม Terra ของ NASA แสดงค่าเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิพื้นผิวในไทยและอินเดียในเดือนเมษายน 2559 ดังที่เราเห็น ประเทศไทยประสบกับความร้อนสูงขึ้น 12°C มากกว่าค่าเฉลี่ยในพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีการทำลายสถิติอุณหภูมิรายวันมากกว่า 50 ครั้ง (สูงสุดคือ 44.6°C ที่แม่ฮ่องสอน)

จากการศึกษาเกี่ยวกับคลื่นความร้อนในประเทศไทยในปี 2561 แม้แต่คลื่นความร้อนที่มีกำลังน้อยถึงปานกลางก็สามารถสร้างความเสียหายได้พอสมควร นอกจากนำมาซึ่งความเครียดจากความร้อนโดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางที่เข้าไม่ถึงเครื่องปรับอากาศ ยังเพิ่มอุบัติการณ์ของโรคหัวใจ โรคปอดบวม และโรคติดเชื้ออื่นๆ

ในขณะนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยอยู่ที่ 26°C การศึกษาที่เผยแพร่ในปี 2563 “Future of the human niche” (Xu et al. 2020) คาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยจะเท่ากับของทะเลทรายซาฮาราภายในปี 2613 โดยสูงกว่า 29°C คลื่นความร้อนที่เบาที่สุดในช่วงปีดังกล่าวจะเทียบได้กับคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบัน และทำให้ประเทศไทยร้อนเกินกว่าที่จะอาศัยอยู่ได้ตลอดทั้งปี

พื้นที่ที่มีการรวมตัวของการตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยทั้งหมดจะต้องเผชิญกับช่วงความร้อนสูงที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า อาจมีมาตรการในรับมือในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวมากขึ้น คำถามคือ เราจะสร้างเครือข่ายของระบบเครื่องปรับอากาศที่ใหญ่พอที่จะปกป้องประชากรส่วนใหญ่ได้หรือไม่?

กลุ่มประชากรในไทยที่ต้องเผชิญอากาศร้อนจัดมักเป็นกลุ่มเปราะบางที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท หรือมีสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ซึ่งทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงระบบการลดความร้อน (แผนภูมิโดย Simon Papai)

วิกฤตสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ผลผลิตลดลง และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องพิจารณารแผนการปรับตัวสำหรับอนาคต ถึงแม้ว่า จะมีความชัดเจนถึงทิศทางโดยรวม แต่สิ่งสำคัญคือการลงมือปฏิบัติ มีความท้าทายมากมายในรูปแบบของความขัดแย้งทางการเมืองและเศรษฐกิจที่จะบ่อนทอนขีดความสามารถในการดำเนินการนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ