กลุ่มวิจัยพลังงาน AG Energiebilanzen ระบุ การใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิลดลงในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่การรวมเยอรมนีในปี 1990 (พ.ศ.2533) โดยยืนยันตามรายงานขั้นต้นที่นำเสนอในเดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา (กราฟ 1)

development-primarey-energy-consumption-petajoule

กราฟ 1 การใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิของเยอรมนี 1990-2014 (หน่วย petajoule) ที่มา : AGEB, 2014.

การใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิลดลงร้อยละ 4.8 เทียบกับ 2556 กลุ่มวิจัย AG Energiebilanzen (AGEB) ระบุตามสถิติเบื้องต้นที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ การปรับตัวเลขนั้นนำเอาปัจจัยเรื่องสภาพอากาศที่เย็นลงในช่วงต้นปีเข้าไปด้วย ผลคือการใช้พลังงานต่ากว่าร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปี 2556

การใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิ (Primary energy consumption) นั้นรวมถึงไฟฟ้า ความร้อน การขนส่งคมนาคม และสมดุลของการส่งออกพลังงาน

AG Energiebilanzen ระบุว่าการลดลงของการปล่อย CO2 จะอยู่ที่ราวๆ ร้อยละ 5 เปรียบเทียบกับ พ.ศ. 2556 จากการที่การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทุกประเภทลดลงและมีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของพลังงานหมุนเวียน (กราฟ 2) ครึ่งหนึ่งของการลดการปล่อย CO2 มาจากภาคการผลิตไฟฟ้า AGEB ระบุในใบแถลงข่าว เมื่อผนวกเอาสภาพอากาศที่เย็นลง การปล่อย CO2 ลดลงร้อยละ 1 จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลดลงในการผลิตไฟฟ้า

การลดลงของการปล่อย CO2 เกิดขึ้นหลังจากการเพิ่มขึ้นของ CO2 ติดต่อกันหลายปีที่ถูกตั้งเป็นคำถามต่อแผนปฏิรูปพลังงาน Energiewende – ซึ่งเป็นแผนอันมุ่งมั่นเพื่อลดละเลิกการใช้นิวเคลียร์และเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ปลอดคาร์บอน

primary-energy-consumption-petajouleกราฟ 2  สัดส่วนการใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิในเยอรมนีใน 2013 และ 2014 ที่มา : AGEB, 2014. 

การใช้ถ่านหินและลิกไนต์ในการผลิตไฟฟ้าในเยอรมนีลดลงร้อยละ 7.9  และ 2.3 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 นักวิจัยระบุว่าการลดลงของการใช้ถ่านหินนั้นมาจากการเพิ่มขึ้นการใช้ทรัพยากรพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากการหยุดทำงานของโรงไฟฟ้าถ่านหินหลายโรง ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโรงไฟฟ้าลิกไนต์ลดลงร้อยละ 3 สัดส่วนของเชื้อเพลิงฟอสซิลในภาพรวมของสัดส่วนพลังงานโดยรวมลดลงร้อยละ 80.8 เทียบกับปี 2556 ที่ลดลงร้อยละ 81.9

gross-power-generation-source-petajoule

กราฟ 3 การใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิในเยอรมนีแบ่งตามประเภทของแหล่งเชื้อเพลิง 1990-2014 ที่มา : AGEB, 2014.

ส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียนในการใช้การใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10.4 เป็น 11.1 (กราฟ 4)

german-energy-mix-petajoule
กราฟ 4 สัดส่วนพลังงานของเยอรมนีในปี 2557 : Shares of sources for energy consumption in petajoule and percent ที่มา : AGEB, 2014.

การใช้ไฟฟ้าสุทธิของเยอรมนี (สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ AGEB data-set “Strommix”) ลดลงร้อยละ 3.8 จาก 633.2 พันล้านหน่วย( kilowatt-hours-kWh) เป็น 610.4 พันล้านหน่วยในปี 2557 การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจาก 152.4 พันล้านหน่วย เป็น 157.4 พันล้านหน่วย ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์ลดลง 4.9 พันล้านหน่วย มาเป็น 156 พันล้านหน่วย – ซึ่งหมายถึงว่า เป็นครั้งแรกที่ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแซงหน้าไฟฟ้าจากลิกไนต์ที่ถือว่าเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี (กราฟ 5)

ageb-power-generation-source-1990-2014-neu
กราฟ 5 การผลิตไฟฟ้าสุทธิแบ่งตามแหล่งเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ในเยอรมนีช่วงปี ค.ศ. 1990-2014 ที่มา : AGEB, 2014.

 AGEB เป็นหน่วยงานวิจัยที่สนับสนุนโดยสมาคมอุตสาหกรรมพลังงานแห่งเยอรมนีและสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์

เดิมมีการใช้หน่วย kilowatt-hours ในกราฟที่อธิบายการใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิ ต่อมา Clean Energy Wire (CLEW) ได้เปลี่ยนมาใช้หน่วยเพตะจูล(petajoule) ซึ่งเหมาะสมในการใช้เป็นหน่วยของพลังงานในหลายรูปแบบรวมถึงการใช้พลังงานขั้นปฐมภูมิ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยงกับสมดุลพลังงานของเยอรมนีรวมถึงวิธีการที่ AG Energiebilanzen ใช้คำนวณและประเมินการผลิตไฟฟ้าสามารถดูได้ ที่นี่