สรุปจาก http://eu.boell.org/sites/default/files/german_coal_conundrum.pdf
เยอรมนีได้รับความสนใจจากประชาคมโลกในเรื่องนโยบายพลังงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำว่า Energiewende ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ไปสู่พลังงานหมุนเวียนที่เน้นการใช้พลังงานต่ำ นั้นกลายเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในภาษาอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม จุดเน้นขณะนี้เปลี่ยนมาเป็นเรื่องบทบาทของถ่านหินในเยอรมนี ในช่วงสองปีที่ผ่านมา สื่อมวลชนทั้งในเยอรมนีและในประเทศต่างๆ กล่าวถึงอนาคตอันเรืองรองที่น่าจะเป็นของพลังงานจากถ่านหินและ “การกลับมาของถ่านหิน” ในเยอรมนี จากการตัดสินใจที่จะลดละเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ นักสังเกตการณ์ตั้งข้อสรุปว่า ลิกไนต์ที่มีการผลิตในประเทศจะเข้ามาอุดช่องว่าง จริงๆ แล้ว แถลงการณ์ของนักการเมืองเยอรมนีในช่วงทศวรรษที่ผ่านมายังเสนอให้สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้นแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
คำถามคือ เยอรมนีกำลังสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่เพื่อมาแทนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถึงแม้ว่าจะมีเป้าหมายสูงส่งด้านความเป็นมิตรสิ่งแวดล้อมของประเทศหรือไม่อย่างไร? รายงาน German Coal Conundrum ค้นพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอยู่บนพื้นฐานของการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงปี 2012/13 (เนื่องมาจากฤดูหนาวอันยะเยือกและการส่งออกไฟฟ้าที่มีมากขึ้น) และวงรอบของโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงใหม่ที่ป้อนไฟฟ้าเข้าระบบ
การพิจารณาในรายละเอียดเปิดเผยว่า ถ่านหินไม่ได้กลับมาในเยอรมนี โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เพิ่มเข้ามาเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เริ่มเดินเครื่องในปี 2005-2007 โดยเป็นแนวโน้มโดยรวมของยุโรปที่เกิดจากราคาคาร์บอนที่ต่ำและมาตรฐานการปล่อยมลพิษจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เข้มงวดขึ้น
โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ในเยอรมนีไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับการลดละเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลังจากหายนะภัยนิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะในปี 2011 ในทางตรงกันข้าม พลังงานหมุนเวียนมีบทบาทในการชดเชยไฟฟ้าจากนิวเคลียร์ที่ปิดตัวลง ในช่วงที่มีการลดละเลิกนิวเคลียร์ (จนถึงปลายปี 2022) แนวโน้มนี้คาดว่าจะดำเนินสืบเนื่องไป แม้ว่า ผลลัพธ์เฉพาะจะขึ้นอยู่กับการขยายตัวอย่างแท้จริงของพลังงานหมุนเวียนและความต้องการใช้ไฟฟ้าในเยอรมนีและประเทศเพื่อนบ้าน
วิกฤตอยู่ที่ถ่านหิน โรงไฟฟ้าแบบเดิมใช้เป็น residual load ซึ่งหดตัวลงเรื่อยๆ คำว่า residual load เป็นศัพท์ที่จำเป็นในการทำความเข้าใจภาคพลังงานของเยอรมนี ดังคำอธิบายต่อไปนี้ หลังจากความต้องการไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียน ไฟฟ้าที่ส่งมาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินน้อยลงแม้ว่าจะมีอยู่มากแค่ไหนก็ตาม โรงไฟฟ้าถ่านหินมีชั่วโมงปฏิบัติการน้อยลง การที่มีไฟฟ้าเหลือในกำลังการผลิตติดตั้ง หน่วยงานด้านไฟฟ้าจึงยุติการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่เมื่อใดก็ตามที่สามารถทำได้
อย่างไรก็ตาม ลิกไนต์มีสถานะที่ปลอดภัยในช่วงที่มีการลดละเลิกนิวเคลียร์ เว้นแต่ว่า จะมีการเปลี่ยนนโยบาย พลังงานหมุนเวียนจะถูกทำให้ลดลงเล็กน้อยเพื่อให้มีไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ตามราคาเชื้อเพลิงใน Merit Order ไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติถูกชดเชย ต่อมาเป็นถ่านหิน เยอรมนียังขาดนโยบายเฉพาะเพื่อลดการใช้ลิกไนต์และเพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติ นอกจากเสียว่า มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ตลาดพลังงานในเยอรมนียังไม่นำไปสู่การลดการผลิตไฟฟ้าจากลิกไนต์จนถึงกลางทศวรรษ 2020
เยอรมนีสามารถลดการพึ่งพาถ่านหินได้ในไม่ช้า ผู้กำหนดนโยบายต้องดำเนินนโยบายเพื่อลดการพึ่งพาถ่านหินของเยอรมนีลงก่อนถึงกลางทศวรรษ 2020 อันดับแรกโดยการริเริ่มปฏิรูประบบการขายคาร์บอนของยุโรป ผู้กำหนดนโยบายของเยอรมนีควรพิจารณาภาษีคาร์บอนและดำเนินการกฎหมายปกป้องสภาพภูมิอากาศ เน้นไปที่ประสิทธิภาพ และใช้ก๊าซธรรมชาติมาเป็นเชื้อเพลิงเชื่อมโยงในช่วงการเปลี่ยนผ่าน สหภาพยุโรปไม่น่าจะมีฉันทามติในเรื่องนโยบายเหล่านี้อย่างแข็งขันในระยะเวลาอันใกล้ ดังนั้น เยอรมนีควรรวมพลังของสมาชิกสหภาพยุโรปที่จะผลักดันเรื่องนี้
การลดละเลิกการใช้ถ่านหินควรเน้นไปที่การยุบโรงไฟฟ้าลิกไนต์ที่สกปรกมากที่สุดในเยอรมนีออกไป สหรัฐอเมริกามีมาตราฐานการปล่อยมลพิษทางอากาศที่เข้มงวดกว่า หากต้องใช้มาตรฐานที่คล้ายกัน เยอรมนีก็จะเริ่มปิดผู้ปล่อยมลพิษและคาร์บอนรายใหญ่สุดได้ด้วย
โดยสรุป ผู้สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (energiewende) ไม่ได้ต้องการจะแก้ต่างข้อมูลที่กล่าวอ้าง แต่ต้องการทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเรื่องของการกลับมาของถ่านหิน ถึงแม้การพูดถึงเรื่อง การกลับมาของถ่านหินจะเกินจากข้อเท็จจริง แต่เยอรมนีเองไม่ได้ต้องการจะรีบเร่งในการทำให้รายงานที่ผิดพลาดดังกล่าวนั้นถูกต้อง การรับรู้ว่าการกลับมาของถ่านหินนั้นเกินจากข้อเท็จจริงช่วยเป็นแรงกดดันต่อผู้กำหนดนโยบายในการลดการใช้ถ่านหินลง