
อย่างน้อยในช่วงชีวิตของเราบนโลก มีการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกที่กำลังห่อหุ้มชั้นบรรยากาศหนาขึ้นเรื่อยๆ (วัดเป็นส่วนในล้านส่วน-part per million) นั่นคือ
การล่มสลายของสหภาพโซเวียต (-3.1%)
วิกฤตการเงินโลก (-1.2%)
การระบาดของโควิด 19 (-5.4%)
แต่แนวโน้มก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศก็ยังเพิ่มขึ้นอยู่ดี จากราว 23 กิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในช่วงปี ค.ศ.1990 เป็น 36 กิกะตันของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี ค.ศ.2021
มีความพยายามต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางวิศวกรรมที่จะดึงก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศโดยการดักจับและกักเก็บ (carbon capture&storage-CCS) หากนึกซะว่า เหมือนเป็นการขี่ช้าง(เทคโนโลยี CCS) จับตั๊กแตน(CO2) มันต้องใช้ช้างกี่ล้านเชือกถึงจะจับตั๊กแตนนับล้านล้านตัว ถึงจะดึงระดับก๊าซเรือนกระจกให้ drop ลงมาเท่ากับการเปลี่ยนแปลงในช่วงสหภาพโซเวียตล่มสลาย หรือช่วงวิกฤตการเงินโลก หรือช่วงโควิด ขนาดนั้นยังเอาไม่อยู่เลย
ดังนั้น คาดได้เลยว่า ยังไงสังคมโลกก็ต้องอยู่กับอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่สูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม (ก๊าซเรือนกระจกหลายตัวสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศนานกว่าอายุคน เมื่อสะสมมากๆ มันก็มีแรงเฉี่อย หรือโมเมนตัม) คำถามคือจะอยู่กันยังไง อะไรคือกติกาที่เราจะอยู่ร่วมกันในอนาคตแบบนั้น แต่ที่แน่ๆ ถ้าไม่ปรับตัวก็ยากที่จะอยู่รอด
ที่มากราฟ : Global Carbon Project อ้างใน https://theconversation.com/climate-clock-reset-shows-the...