โดยหลักการแล้ว เป็นเรื่องง่ายที่เราจะประเมินปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ในแต่ละปี และเป็นเรื่องไม่ซับซ้อนเลยที่จะวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ เนื่องจากก๊าซส่วนใหญ่กระจายอย่างสม่ำเสมอในชั้นบรรยากาศของโลก ปัจจัยทั้งสองอย่างนี้ทำให้เรารู้ว่าประมาณร้อยละ 50 ของคาร์บอนที่เข้าสู่บรรยากาศยังคงอยู่ที่นั่น อีกร้อยละ 25 ถูกดูดซับโดยมหาสมุทร

ส่วนที่เหลือร้อยละ 25 ไปอยู่ในระบบนิเวศภาคพื้นดินของโลก -ต้นไม้ พืช ดิน และอื่นๆ- ซึ่งเป็นเรื่องยากมากที่จะวัดปริมาณก๊าซในระบบนิเวศโดยตรง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราไม่มีข้อมูลสำรวจรายละเอียดของพืชทุกชนิดบนโลก อีกทั้งสิ่งที่เราได้เพิ่มเข้าไปในระบบนิเวศนั้นมากกว่าการแลกเปลี่ยนของคาร์บอนในธรรมชาติ พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์เมื่อมีการสังเคราะห์แสง คาร์บอนคืนกลับสู่ดินและบรรยากาศเมื่อพืชตายและย่อยสลาย เนื่องจากพืชส่วนใหญ่อยู่ทางแถบซีกโลกเหนือ ฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกเหนือทำให้เกิดปรากฎการณ์ ‘หายใจเข้า’ ซึ่งทำให้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับโลกลดลง ส่วนปรากฏการณ์ ‘หายใจออก’ จะพบเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกเหนือ ลักษณะขึ้นลงเป็นฟันเลื่อยนี้จะอยู่บนกราฟแสดงการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อเวลาผ่านไปช่วงหนึ่ง นอกจากนี้ มนุษย์และสัตว์อื่นๆ ก็ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศทุก ๆ ครั้งเมื่อหายใจ แต่ก็ยังถือเป็นส่วนน้อยมากเมื่อเทียบกับภาพระดับโลก