price-of-solar-power-drop-graph

ปี 2556 เราได้เห็นราคาของแผงเซลสุริยะหรือโซลาร์เซลล์ลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีราคาอยู่ที่ 0.74 เหรียญต่อวัตต์ หรือลดลงถึงร้อยละ 99 ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา  ทำให้การผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์สุริยะสามารถแข่งขันได้กับแหล่งพลังงานดั้งเดิมเพื่อป้อนไฟฟ้าเข้าสู่สายส่ง ต้นทุนที่ลดลงของการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์สุริยะนี้มาจากการสนับสนุนด้านนโยบายของรัฐ ทั้งในรูปของการวิจัยและพัฒนา การรับซื้อไฟฟ้า การออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน และการสนับสนุนด้านเงินทุน

ประเทศไทยมีความเข้มแสงในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในระดับต้นๆ รัฐบาลเห็นว่าต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ปรับตัวลงต่ำมากจึงได้มีโครงการสนับสนุนภาคเอกชนและประชาชนโดยจัดให้มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน บริษัท ห้างร้าน โรงงาน และให้การสนับสนุนในการขายไฟคืนให้การไฟฟ้าในอัตรามากสุด 6.96 บาท/หน่วย เป็นเวลา 25 ปี

จุดคุ้มทุนขึ้นกับชนิดอุปกรณ์ที่ติดตั้งเช่นแผงโซล่าเซลล์ ชนิดอินเวอเตอร์  เป็นต้น เพราะทั้งสองสิ่งคือ ต้นทุนหลักในการติดตั้ง  ซึ่งจากประสบการณ์การวิจัยและการทดลองพบว่าสามารถคืนทุนได้เร็วที่สุด 6 ปี (Solar farm คืนทุน 7 ปี)  และสามารถทำกำไรในการขายไฟคืนให้การไฟฟ้าอีก 19 ปี

ที่มา :  http://thinkprogress.org/climate/2013/12/20/3078461/9-climate-charts-2013/ http://renewableenergythai.com)