January 1 – February 7, 2020

ประเทศไทยกำลังเจอกับความแห้งแล้งครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ ราวครึ่งหนึ่งของบรรดาอ่างเก็บน้ำในประเทศมีน้ำต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของศักยภาพที่กักเก็บน้ำไว้ได้ น้ำในแม่น้ำต่ำในระดับที่ทำให้น้ำเค็มจากทะเลรุกเข้ามาถึงพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำและส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำบริโภค ในประเทศที่คนกว่า 11 ล้านคนที่ทำงานภาคเกษตร คาดว่าผลผลิตทางการเกษตรและเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบ

ฤดูมรสุมที่สั้นกว่าปกติและปริมาณฝนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี พ.ศ.2562 เป็นสาเหตุของความแห้งแล้งที่เกิดขึ้น คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบหนัก 

แผนที่ด้านบนแสดงความผิดปกติของความชื้นในดิน(soil moisture anomalies) ซึ่งเป็นดัชนีที่ระบุว่าน้ำในผิวดินมีค่าสูงหรือต่ำกว่าปกติในพื้นที่แถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 7 กุมภาพันธุ์ 2563 โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากปฏิบัติการ Soil Moisture Active Passive (SMAP) ซึ่งเป็นดาวเทียมขององค์การนาซาดวงแรกที่ใช้วัดปริมาณน้ำในผิวดิน เครื่องมือวัด Radiometer บนดาวเทียมทำการตรวจจับปริมาณน้ำลึก 2 นิ้วจากผิวดิน นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลดังกล่าวนี้ในแบบจำลองอุทกศาสตร์ซึ่งมีความสำคัญสำหรับภาคเกษตรกรรมเพื่อประเมินว่ามีปริมาณน้ำในชั้นดินที่ลึกลงไปอยู่มากน้อยเท่าไร

ดร. Senaka Basnayake ผู้อำนวยการ Climate Resilience ที่ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชียกล่าวว่า ความแห้งแล้งทำให้น้ำเค็มรุกเข้าไปในบางพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำของประเทศไทย มวลนำ้จืดมีไม่เพียงพอที่ไล่น้ำเค็มออกจากพื้นที่เมืองต่างๆ นี่คือหนึ่งในสัญญานที่แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มต่ำของประเทศไทยในปีนี้ (พ.ศ.2563) เลวร้ายกว่าเมื่อก่อน”

ดร. Senaka Basnayake เป็นสมาชิกของ SERVIR-Mekong team SERVIR-Mekong เป็นโครงการร่วมระหว่างองค์การนาซาและยูเสด(USAID)ที่ใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล(remote sensing) เพื่อสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ต่างๆ ในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เช่น การปกป้องทรัพยาการอาหารและน้ำ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ทีมงาน The SERVIR-Mekong พัฒนาชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งเพื่อใช้คาดการณ์ความแห้งแล้งและผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ข้อมูลจาก Regional Drought and Crop Yield Information System ระบุว่า ความรุนแรงของภัยแล้งในประเทศไทยมีมากกว่าร้อยละ 90 ของทั้งประเทศ และอาจอยู่ต่อเนื่องในระดับน้ำไปจนถึงปลายเดือนมีนาคม

คาดว่าประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับต้นของโลกจะมีการผลิตที่ลดลงราวร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา ทำให้ครั้งนี้เป็นฤดูแล้งที่ร้ายแรงที่สุดในรอบห้าปี ในวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเริ่มแผนการบรรเทาภัยแล้งประจำปี รวมถึงการทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ

ประเทศอื่นๆ ในลุ่มน้ำโขงตอนล่างต่างก็เผชิญกับฤดูแล้งครั้งรุนแรงในเดือนที่จะมาถึง กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทของเวียดนามระบุว่า พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนามมีฝนทิ้งช่วงและปริมาณฝนน้อยลงร้อยละ 8 ในช่วงฤดูฝนของปีที่ผ่านมา การรุกของน้ำเค็มได้เกิดขึ้นแล้วโดยทำให้นาข้าวในจังหวัด Trá Vinh เสียหาย ข้าวนาปรังในพื้นที่กว่า 10,000 เฮกแตร์ประสบกับภาวะขาดน้ำ หากแหล่งน้ำยังน้อยและการรุกของน้ำเค็มยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง นาข้าวประมาณ 94,000 เฮกแตร์ ในลุ่มแม่น้ำโขงอาจจะได้รับผลกระทบ

ที่มา : NASA Earth Observatory image by Lauren Dauphin using soil moisture data from NASA-USDA and the SMAP Science Team. Story by Kasha Patel.

เอกสารอ้างอิงและที่มาข้อมูล