ธารา บัวคำศรี เรียบเรียงจาก Seeing Forests for the Trees and the Carbon: Mapping the World’s Forests in Three Dimensions (By Michael Carlowicz, Design by Robert Simmon -January 9, 2012)

วิทยาศาสตร์ใช้วิธีการต่างๆ ในการสำรวจป่าไม้ของโลกและชีวมวลของป่า พวกเขาทำการวัดอย่างเป็นระบบจากภาคพื้นดิน เดินป่าเพื่อนับจำนวนต้นไม้ วัดลำต้นและปีนขึ้นไปยังเรือนยอดของมัน พวกเขาทำการบินเพื่อสำรวจโดยการถ่ายภาพ การใช้เรดาร์เหนือผืนป่าประเภทต่างๆ

โดยการใช้ดาวเทียม นักวิทยาศาสตร์ได้เก็บข้อมูลในระดับพื้นที่และในระดับโลกในเรื่องของ “ความเขียว (greenness) ของพื้นผิวดินของโลกและประเมินการมีอยู่และหายไปของพืชพรรณ ในขณะเดียวกัน ก็มองหาสัญญานเพื่อแยกแยะต้นไม้กับพุ่มไม้ที่ปกคลุมดิน

นักศึกษาทำการวัดวงรอบต้นไม้ในป่าตามแนวชายฝั่งในรัฐเวอร์จิเนียร์ สหรัฐฯ การศึกษาภาคพื้นดินมีความสำคัญยิ่งยวดในการรับรองความถูกต้องของข้อมูลจากดาวเทียมและการบินสำรวจ (NASA photograph courtesy Lola Fatoyinbo.)

แต่การประเมินชีวมวลของป่านั้น เราต้องรู้เกี่ยวกับพื้นที่ ความหนาแน่น และสิ่งทีสำคัญคือความสูงของต้นไม้ นักวิจัยสามารถทำการวัดชีวมวลของป่าไม้ได้เป็นผลสำเร็จเป็นอย่างดีในพื้นที่ขนาดเล็ก การใช้วิธีการดังกล่าวนี้ในระดับโลกนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมากและใช้เวลานาน

Jon Ranson นักนิเวศวิทยาป่าไม้ประจำอยู่ที่ศูนย์การบินอวกาศนาซา “เราต้องการเห็นพืชพรรณบนโลกในลักษณะสามมิติ โดยการวัดความสูงของป่า เราสามารถประเมินชีวมวลเหนือพื้นดินและประมาณปริมาณคาร์บอนที่กับเก็บในป่าได้ ยิ่งการวัดมีความเที่ยงตรงเพียงใด การประมาณปริมาณคาร์บอนก็ยิ่งมีความแน่นอนมากขึ้นเพียงนั้น”

แผนที่ฉบับแรกที่ประเมินความสูงของป่าในระดับโลกมีขึ้นในปี 2010 Michael Lefsky จากมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดในสหรัฐฯ ได้ทำการผนวกเอาภาพกว้างของพื้นผิว(แนวนอน)จากภาพถ่ายแบบ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer (MODIS) จากดาวเทียม NASA’s Terra and Aqua satellites เข้ากับความสูง(แนวตั้ง) จากดาวเทียม ICESat(NASA’s Ice, Cloud, and land Elevation Satellite)

ความสูงของป่าไม้ของโลกมีระดับตั้งแต่ 40 เมตรในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาไปจนถนถึง 20 เมตรในเขตป่าบอเรียลในแถบเส้นรอบวงอาร์กติก แผนที่แสดงให้เห็นสีเขียวเข้มซึ่งแสดงถึงป่าไม้ที่มีความสูงกว่า [NASA Earth Observatory map by Jesse Allen & Robert Simmon, using data from Michael Lefsky, Colorado State University].

ผลคือแผนที่ได้แสดงให้เห็นถึงป่าไม้ที่มีความสูงมากที่สุดของโลกในตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาด้านด้านแปซิฟิกและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และป่าไม้ที่สูงน้อยลงไปในแถบพื้นที่ของแคนาดาและเขตยูเรเชีย เรือนยอดของต้นไม้ที่สูงที่สุดคือป่า temperate conifer forests ซึ่งมีต้นไม่จำพวก Douglas fir, western hemlock, redwood และ sequoia อยู่หนาแน่น และโดยทั่วไปไม้เหล่านี้สูงได้มากกว่า 40 เมตร ป่าบอเรียล(Boreal forests) ที่มีต้นไม้อย่าง spruce, fir, pine, และ larch โดยทั่วไปโตมีความสูงเสียดขึ้นฟ้าอยู่ในราว 20 เมตร ในระหว่างนั้นจะเป็นป่าไม้ที่มีพืชใบกว้างในเขตอบอุ่นของยุโรปและป่าฝนเขตร้อนที่ยังไม่ถูกรบกวน ซึ่งความสูงเฉลี่ยจะอยู่ในราว 25 เมตร

หัวใจสำคัญของการทำแผนที่นี้คือข้อมูลจากระบบ GLAS (Geoscience Laser Altimeter System) บนดาวเทียม ICESat ซึ่งใช้แสงเลเซอร์ส่งลงบนผิวโลกมากกว่า 250 ล้านครั้งในช่วง 7 ปีของการโคจรรอบโลก(2003-2009) และได้วัดพื้นที่ที่มีป่าไม้ปกคลุมบนโลกร้อยละ 2.4 และผืนป่าในพื้นที่ดังกล่าวร้อยละ  24 โดยตรง จากนั้น นำข้อมูลที่เก็บได้จากดาวเทียมมาประเมินโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์

Michael Lefsky ทำการผนวกข้อมูลจากการสังเกตพืชพรรณเข้ากับข้อมูลดาวเทียม ICESat ซึ่งเป็นข้อมูลตามแนวเส้นสีดำในภาพ เพื่อสร้างแผนที่ความสูงของป่าไม้ (NASA map by Jesse Allen and Robert Simmon.)

แผนที่นี้ถือเป็นแผนที่ความสูงป่าไม้ฉบับแรก Lefsky และทีมงานของเขาบอกว่า ยังมีความไม่แน่นอนอยู่อีกมาก นี่เป็นร่างแผนที่ฉบับแรกและต้องมีการทำให้ละเอียดมากขึ้นในอนาคต