เนื่องจากก๊าซเรือนกระจกแต่ละชนิดมีความสามารถในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศต่างกันอย่างมาก นักวิจัยจึงได้ใช้หน่วยการวัดที่เรียกว่า ‘ความสามารถในการกักเก็บความร้อน’ (Global warming potential) ซึ่งจะวัดทั้งผลต่อการเกิดภาวะเรือนกระจกและระยะเวลาการคงตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ โดยเปรียบเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ ยกตัวอย่างเช่น มีเทนมีช่วงชีวิตสั้นกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มีความสามารถในการกักเก็บความร้อนมากกว่า ความสามารถในการกักเก็บความร้อนของมีเทนอยู่ที่ประมาณ 23-25 เปรียบเทียบกับความสามารถในการกักเก็บความร้อนของคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีค่าเป็น 1 ตัวเลขเหล่านี้จะถูกคูณด้วยการแพร่หลายของก๊าซแต่ละชนิดในบรรยากาศ (prevalence) และทำให้เป็นค่าเทียบเท่าของคาร์บอน (carbon equivalent) ซึ่งนำไปสู่การพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในลักษณะเป็นกลุ่ม นักวิจัยได้ทำความเข้าใจถึงผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกโดยรวมที่มีต่อบรรยากาศได้ดีขึ้นโดยการใช้ค่าเทียบเท่าของคาร์บอน การศึกษาบางชิ้นได้ใช้ค่าเทียบเท่าของคาร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide equivalent) ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้มาจากการคูณค่าเทียบเท่าของคาร์บอนด้วย 44/12 (อัตราส่วนของน้ำหนักโมเลกุลคาร์บอนไดออกไซด์และคาร์บอน)

 

ชนิดก๊าซ ผลต่อการเกิดภาวะเรือนกระจก ความสามารถในการกักเก็บความร้อน(เทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์) ระยะเวลาที่คงอยู่ในบรรยากาศ(ปี)
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 53% 1 50-200
มีเทน(CH4) 17% 23-25 10
ไนตรัสออกไซด์ (N2O) 5% 200 150
โอโซนระดับพื้นผิว(O3) 13% 2,000 ประมาณสัปดาห์
ฮาโลคาร์บอน(CFCs) 12% มากกว่า 10,000 60-100

ที่มา : Comeau L. และ Grant T., 2001