พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถเพิ่มความเป็นอิสระทางพลังงานของประเทศ
ในยุคนิวเคลียร์ โลกจะแบ่งออกเป็น “ผู้ที่มี” และ “ผู้ที่ไม่มี” เทคโนโลยีนิวเคลียร์ บรรพบุรุษของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ ระเบิดนิวเคลียร์ ได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานในทางภูมิศาสตร์การเมืองที่มีอันตราย และครอบงำอยู่เหนือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีราคาทางการเมืองที่ต้องจ่ายที่สัมพันธ์กับการได้มาซึ่งเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในแบบใดๆ ก็ตาม
ผู้ที่มีเทคโนโลยีนิวเคลียร์พยายามที่จะควบคุมการแพร่หลายโดยการจัดให้มีความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างรัฐบาลและอุตสาหกรรมในระดับนานาชาติ มีการจัดตั้งชุมนุมนิวเคลียร์พลเรือนภายใต้กลุ่มความร่วมมือพลังงาน นิวเคลียร์ระดับโลกที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ มีบทบาทในการเสนอรัฐต่าง ๆ เพื่อส่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และการจัดการกากนิวเคลียร์ให้ประเทศกำลังพัฒนา ขณะที่ ผู้ที่ไม่มีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ก็ต้องการจะเป็นสมาชิกชุมนุมนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและสถานะ ประธานาธิบดีแห่งบราซิล ลูลา เดอ ซิลวา (Lula da Silva) แสดงถึงอย่างชัดเจนโดยกล่าวว่า การมีเทคโนโลยีเสริมสมรรถนะยูเรเนียมจะทำให้บราซิลมีค่ามากขึ้นในฐานะประเทศ
ในปี 2549 ประธานาธิบดีจอร์ช ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐอเมริกาและนายกรัฐมนตรีโมฮัมหมัดซิงแห่งอินเดียประกาศถึงข้อตกลงทวิภาคีแปดปีในการที่สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือแก่อินเดียในด้านพลังงานนิวเคลียร์ นายนิโคลัส เบิร์น ผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการทางการเมืองกล่าวว่า อินเดีย ไม่เหมือนเช่นอิหร่านและเกาหลีเหนือ ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษจากสหรัฐอเมริกา
การถูกใช้เป็นข้อต่อรองทางการเมือง พลังงานนิวเคลียร์จะเพิ่มความตึงเครียดทางภูมิศาสตร์การเมืองขึ้นและ ก็มิได้รับประกันความเป็นอิสระด้านพลังงานของประเทศหรือความมั่นคงด้านพลังงาน โดยมิต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและการแพร่หลายของนิวเคลียร์ เทคโนโลยีและทักษะความชำนาญด้านพลังงานหมุนเวียนสามารถส่งออกไปทั่วโลกและสร้างอุตสาหกรรมภายในประเทศได้โดยง่าย การนำทรัพยากรธรรมชาติในประเทศมาใช้ ระบบพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์และประสิทธิภาพพลังงานสามารถให้ความมั่นคงด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นโดยปราศจากราคาที่จะต้องจ่ายในทางการเมือง
ห่วงโซ่อุปสงค์ระหว่างประเทศ
มีปัญหาต่าง ๆ ในทางปฏิบัติในเรื่องของโครงสร้างของห่วงโซ่อุปสงค์ของพลังงานนิวเคลียร์ (ดูตารางที่ 1) การเกิดปัญหาเพียงเล็กน้อยในห่วงโซ่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบอย่างกว้างขวางได้ เช่น อุทกภัยในเหมืองของประเทศแคนาดาเพียงแค่สองแห่งก็เกิดผลต่อราคาของยูเรเนียมในตลาดโลกได้ และนำไปสู่ราคาไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
ห่วงโซ่อุปสงค์ของพลังงานนิวเคลียร์ในระดับโลกได้ขยายออกไปจนสุดขีดจำกัดของมันแล้ว ผู้ผลิตส่วนประกอบเตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่ที่มีอยู่สองสามแห่งนั้นก็มีศักยภาพจำกัดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้
มีงานคั่งค้างอยู่เป็นเวลา 3 ปี สำหรับคอนเทนเนอร์เหล็กที่ทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับแกนเตาปฏิกรณ์ ซึ่งจะประกอบขึ้นโดยบริษัทแจแปนสตีลเวอร์ก(Japan SteelWorks) ส่วนประกอบที่ผลิตขึ้นในจำนวนจำกัดสำหรับการออกแบบเตาปฏิกรณ์เฉพาะและโดยผู้ผลิตเพียงสองสามราย หมายถึงว่าเตาปฏิกรณ์จะต้องใช้เวลานานมากขึ้นในการซ่อมบำรุง
อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่กำลังหมดอายุยังเผชิญกับการขาดแคลนบุคลากรที่มีประสบการณ์อย่างรุนแรง บริษัทสโกดาวิศวกรรม(Skoda Engineering) ของสาธารณรัฐเชคมีเทคโนโลยีที่จะผลิตส่วนประกอบแต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพ การขาดแคลนบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนเป็นปัญหาทั้งตัวอุตสาหกรรมและสถาบันที่ทำหน้าที่กำกับดูแลในหลาย ๆ ประเทศ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการติดขัดซึ่งนำไปสู่ความผิดพลาดในระหว่างการก่อสร้าง หนึ่งในปัจจัยซึ่งนำไปสู่ความล่าช้าและงบประมาณบานปลายที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์โอกิลูโอโต ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในประเทศฟินแลนด์ อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ได้ขยายขอบเขตมากเกินไปเพื่อที่จะทดแทนกำลังการผลิตที่มีอยู่ โดยที่เป็นการขยายกำลังการผลิตปัจจุบันไปสู่อนาคต การที่ตลาดมีขนาดเล็กและห่วงโซ่อุปสงค์ที่ตึงเครียดในระดับโลกทำให้ความเป็นอิสระด้านพลังงานของประเทศโดยใช้พลังงานนวิเคลียร์นั้นเป็นไปไม่ได้ ความล่าช้าในการก่อสร้าง ความติดขัดของแหล่งยูเรเนียมและราคาก็เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้