ระเบียบวาระของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์
วิกฤตการณ์นำ้มันช่วงทศวรรษ 1970 ถือเป็นเหตุการณ์ทำให้ความมั่นคงด้านพลังงานกลายเป็นระเบียบวาระของโลก ผลคือประเทศที่ใช้นำ้มันต่าง ๆ ได้เพิ่มการสำรวจเชื้อเพลิงฟอสซิลในประเทศ อย่างไรก็ตาม แหล่งสำรองที่หร่อยหรอลงอย่างรวดเร็วและความจำเป็นการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์นั้นได้ผลักให้ ทางเลือกดังกล่าวออกไปจากนโยบายพลังงานที่ยั่งยืนใด ๆ ก็ตามที่มีอยู่ในวันนี้
ปัจจุบัน บริบทของความมั่นคงด้านพลังงานในระดับโลกนั้นมีความแตกต่างออกไป สาเหตุและภัยคุกคามของความเสียหายของการจัดหาพลังงานเมื่อไม่นานมานี้มีลักษณะที่แปรผันไป จากผลกระทบของเหตุการณ์สภาพภูมิอากาศที่รุนแรงเช่น เฮอร์ริเคนแคทรีนาและริตา ที่เกิดขึ้น ณ เครือข่ายพลังงานที่รวมศูนย์อย่างมาก ไปจนถึงการประท้วงหยุดงานของคนงานอุตสาหกรรมน้ำมันในเวเนซุเอลา จากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ในอินเดียและจีน ไปจนถึงแหล่งจัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลภายในที่ลดลงในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับในช่วงทศวรรษ 1970 ประเด็นของเรื่องแหล่งจัดหาพลังงานในทางปฏิบัตินั้นเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ทางการเมืองอย่างมิอาจปฏิเสธได้ รายได้ของประเทศที่จัดส่งพลังงานนั้นขึ้นอยู่ทรัพยากรที่ทำการส่งออกไป และประเทศผู้บริโภคพลังงานนั้นมีข้อกังวลเรื่องการการควบคุมทรัพยากรเชื้อเพลิงของประเทศผู้จัดหาพลังงานและส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตน
ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา ข้อกังวลเรื่องความมั่นคงทางพลังงานเพิ่มขึ้นตามแรงกดดันและข้อขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง-อ่าวเปอร์เซียเป็นแหล่งจัดส่งน้ำมันของสหรัฐอเมริกาถึงร้อยละ 16 ดังนั้น ประเทศผู้บริโภคพลังงานซึ่งกังวลถึงการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลนำเข้ามากจนเกินไปได้หยิบยกประเด็นการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานมาเป็นแนวทางในการไปให้ถึงความมั่นคงด้านพลังงานของตน พลังงานนิวเคลียร์ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาในฐานะเป็นวิธีการในการบรรลุเป้าหมายนี้ ตัวอย่างเช่น อินเดีย ได้ชูประเด็นความเป็นอิสระทางพลังงานระดับชาติว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วนสูงสุดอันดับต้น โดยการขยายการใช้พลังงานนิวเคลียร์ให้มากขึ้นไปอีก กลุ่มผู้สนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บีลีน(Belene) ในประเทศบัลแกเรียยังได้ใช้ข้ออ้างที่คล้ายคลึงกันนี้ ในกรณี ของความเป็นอิสระจากก๊าซของรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มันต้องการความเป็นอิสระทางพลังงานเล็กน้อย หากเชื้อเพลิงขั้นต้น เชื้อเพลิงแปรรูปและเทคโนโลยีทั้งหมดต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศ
ในกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์บีลีน (Belene) บริษัทที่เป็นผู้ก่อสร้างคือ Atomstroyexport ของรัสเซีย ใช้วิศวกรชาวรัสเซีย ขณะเดียวกัน บริษัท TVEL ของรัสเซียยังได้ผูกขาดแหล่งเชื้อเพลิงและเงินกู้อีก 3.2 พันล้านยูโร ซึ่งกำลังมีการเจรจากับธนาคารพาณิชย์ในรัสเซีย
ผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมนิวเคลียร์มีความชำนาญในการใช้ประเด็นขัดแย้งในทางสากลเพื่อผลักดันพลังงานนิวเคลียร์ในฐานะเป็นทางออกของความมั่นคงด้านพลังงาน อย่างไรก็ตาม ข้อถกเถียงเรื่องนี้ ละเลยที่จะพิจารณาความจริงเบื้องต้นหลายประการด้วยกัน
- พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
- พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถทดแทนก๊าซนำเข้า
- พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถเพิ่มความเป็นอิสระด้านพลังงานของประเทศ
- พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถจัดหาแหล่งเชื้อเพลิงที่ไม่โดนรบกวนหรือถูกตัดขาด
- พลังงานนิวเคลียร์ไม่สามารถรับประกันการลงทุนในอนาคต