ข้อมูลจาก the National Climatic Data Center (NCDC) of the National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) เดือนกรกฎาคม 2555 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดที่มีการบันทึกมาในสหรัฐอเมริกา ( hottest month on record ) และเป็นเดือนที่ร้อนไปทั่วโลกด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดอันดับที่สี่ นับตั้งแต่ที่มีการบึกทึกอุณภูมิในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ทีเริ่มขึ้นในช่วงคริสตทศวรรษ 1880
แผนที่ด้านบนแสดงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกที่วิเคราะห์โดย Goddard Institute for Space Studies (GISS) ขององค์การนาซาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 แผนที่แสดงถึงอุณหภูมิที่ร้อยขึ้นหรือเย็นลงในแต่ละแห่งเทียบกับค่าเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคมในช่วงปี 1951–1980 การสร้างแผนที่นี้ นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลจากสถานีอุตอนิยมวิทยา 6,300 แห่งทั่วโลก รวมถึงหอสังเกตการณ์ในมหาสมุทร ดาวเทียมตรวจวัดอุณหภูมิพื้นผิวทะเลและสถานีวิจัยที่แอนตาร์กติกา ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้จาก World of Change: Global Temperatures.
ต้องกล่าวไว้ในที่นี่ว่า แผนที่ไม่ได้แสดงถึงอุณหภูมิสัมบูรณ์ (absolute temperatures) แต่แสดงการเปลี่ยนแปลงจากค่าเฉลี่ยในระยะยาว ส่วนที่เป็นสีแดงเข้มที่สุดมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นได้ถึง 4° เซลเซียส (7° ฟาเรนไฮต์) มากกว่าค่าเฉลี่ยปกติของเดือนนั้น ส่วนสีขาวเป็นค่าปกติ และส่วนที่เป็นสีฟ้าเข้มสุดนั้นแสดงถึงอุณหภูมิลดลงได้ถึง 4° เซลเซียสจากค่าปกติ นอกจากความร้อนสุดขึ้นในสหรัฐอเมริกา คาบสมุทรแอนตาร์กติก และส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันออกและแอฟริกาเหนือนั้นร้อนเป็นพิเศษในช่วงเดือนกรกฏาคม พ.ศ.2555
ตามที่ NCDC รายงาน : “อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกภาคพื้นดิืนและมหาสมุทรรวมกันในเดือนกรกฏาคม 2555 คือ 1.12° ฟาเรนไฮต์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิผิวโลกในศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีค่าราว 15.8° เซลเซียส (60.4° ฟาเรนไฮต์)…อุณภูมิเฉลี่ยพื้นผิวในแถบซีกโลกเหนือในเดือนกรกฎาคม 2555 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึก โดยร้อนขึ้น 1.19° เซลเซียส (2.14° ฟาเรนไฮต์) กว่าค่าเฉลี่ย”
การวิเคราะห์ของเจมส์ ฮ้นเซน ผู้อำนวยการ NASA GISS และทีมงานของเขา (recent analysis) นำเสนอสถิติที่แสดงให้เห็นว่า คลื่นความร้อนสุดขั้วในช่วงฤดูร้อนจะกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั้วไปมากขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ช่วงระหว่างปี 1951 ถึง 1980 ที่เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พื้นผิวดินของโลกราวร้อยละ 30 ประสบกับภาวะร้อนมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนของภาวะความร้อนขึ้นในช่วงฤดูร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 ของผิวโลกภาคพื้นดิน
เจมส์ ฮันเซนและคณะ ระบุว่า การเสี่ยงทายสภาพภูมิอากาศหรือ “‘Climate dice’ ซึ่งอธิบายถึงโอกาสที่จะเกิดความร้อนหรือความเย็นผิดปกติ นั้นมีความเป็นไปได้มากขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นไปตามภาวะโลกร้อนที่รวดเร็วมากขึ้น การกระจายตัวของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่ผิดปกติไปจากค่าเฉลี่ยในช่วงฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่งนั้นมีแนวโน้มไปในทางที่อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้่นและช่วงของการเปลี่ยนแปลงนั้นก็เพิ่มขึ้น เราสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบสุดขั้ว เช่นที่เกิดขึ้นในรนัฐเทกซัสและโอคลาโฮมาในปี 2554 และในมอสโควในปี 2553 นั้นเป็นผลพวงของภาวะโลกร้อน
References
Hansen, J., Sato, M., Ruedy, R. (2012, August 6) Perception of Climate Change. Proceedings of the National Academy of Sciences. NOAA National Climatic Data Center (August 2012) State of the Climate: Global Analysis – July 2012. Accessed August 16, 2012. NASA (2012, August 6) Research Links Extreme Summer Heat Events to Global Warming. Accessed August 16, 2012. NASA Earth Observatory (n.d.) World of Change: Global Temperatures NASA Goddard Institute for Space Studies (n.d.) GISS Surface Temperature Analysis. Accessed August 16, 2012. NOAA ClimateWatch (2012, August) Hottest.Month.Ever…Recorded. Accessed August 16, 2012. NASA image by Robert Simmon, based on data from the Goddard Institute for Space Studies. Caption by Mike Carlowicz.
Your way of describing all in this paragraph is truly nice, every one can without difficulty know it, Thanks a lot.