โอโซนเป็นยากันแดดธรรมชาติของโลก ปกป้องสิ่งมีชีวิตให้พ้นจากรังสีอุลตราไวโอเลตที่มากเกินไป แต่ชั้นโอโซนของโลกได้ถูกทำลายจากสารเคมี chlorofluorocarbons ที่เราใช้ในเครื่องทำความเย็นและกระป๋องสเปรย์ซึ่งประกอบด้วยโมเลกุลของสารที่ทำลายชั้นโอโซน

ช่วงปลายทศวรรษ 1980 รัฐบาลทั่วโลกตระหนักถึงภัยของการทำลายชั้นโอโซนและมีการเจรจาพิธีสารมอลทรีออล ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องการลดละเลิกการใช้สารเคมีทำลายโอโซน พิธีสารนี้ได้รวมถึงการให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการประเมินและรายงานสถานะของชั้นโอโซน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกรายปี

ในเดือนมกราคม 2011 คณะเลขาธิการว่าด้วยโอโซนของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาตินำเสนอรายงานฉบับล่าสุดและระบุว่า พิธีสารมอลทรีออลได้มีผลให้เกิดการปกป้องโอโซนในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์จากการถูกทำลาย…และทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมในการลดภาวะโลกร้อน

ภาพชุดข้างต้นนี้แสดงรูโหว่ชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกในวันที่มีการถูกทำลายมากที่สุดในปีต่าง ๆ กันสี่ปี หน่วยที่ใช้วัดความบางของโอโซนเป็นหน่วยดอปสัน(Dobson Units-DU). NASA’s Total Ozone Mapping Spectrometer (TOMS) ทำการวัดจากช่วงปี 1979–2003 และ The Royal Netherlands Meteorological Institute (KNMI) Ozone Monitoring Instrument (OMI) ทำการวัดช่วงปี 2004–ถึงปัจจุบัน จากภาพ พื้นที่สีม่วงและสีฟ้าเข้มเป็นส่วนหนึ่งของรูโอโซน

วันที่ 17 กันยายน 1979 (ภาพซ้ายบน) ปีแรกที่มีการวัดชั้นโอโซนโดยดาวเทียม ระดับของโอโซนอยู่ที่ 194 DU วันที่ 7 ตุลาคม 1989 (ภาพขวาบน) ปีที่พิธีสารมอนทรีออลมีผลบังคับใช้ ระดับโอโซนลดลงเป็น 108 DU ในวันที่ 9 ตุลาคม 2006(ภาพซ้ายล่าง) ชั้นโอโซนลดอยู่ที่ระดับ 82 DU และในวันที่ 1 ตุลาคม 2010 มีค่าเพิ่มเป็น 118 DU

ค่าต่ำที่สุดทีี่มีการวัด(ชั้นโอโซนมีความหนาที่สุด) อยู่ที่ 73 DU ในวันที่ 30 กันยายน 1994 ในขณะที่รูโหว่ที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในวันที่ 29 กันยายน 2000 โดยที่พื้นที่ชั้นโอโซนที่ถูกทำลายขยายกว้างครอบคลุมพื้นที่ 29.9 ล้านตารางกิโลเมตร รูโหว่โอโซนโดยเฉลี่ย (วัดในช่วงระยะเวลา 1 เดือน คือ วันที่ 7 กันยายนถึง 13 ตุลาคม 2006 ซึ่งพื้นที่ชั้นโอโซนที่ถูกทำลายมีขนาด 26.2 ล้านตารางกิโลเมตร ขนาดรูโหว่โอโซนเฉลี่ยในปี 2010  อยู่ที่ 22.2 ล้านตารางกิโลเมตร

ในรายงานล่าสุดปี 2010 ที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ของพิธีสารมอนทรีออลพบว่า:

  • โอโซนทั่วโลกและชั้นโอโซนในอาร์ติกและแอนตาร์กติกนั้นไม่ลดลงอีกต่อไป แต่ก็ยังไม่เพิ่มขึ้น
  • คาดว่าชั้นโอโซนนอกเขตขั้วโลกจะกลับคืนสู่ระดับเดิมก่อนปี 1980 ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนกลางศตวรรษนี้ การกลับคืนอาจถูกเร่งโดยภาวะการเย็นลงของชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์จากผลของก๊าซเรือนกระจก
  • คาดว่าชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาจะฟื้นกลับคืนได้ในเร็วๆ นี้
  • ผลกระทบของโอโซนเหนือแอนตาร์ติกต่อบรรยากาศผิวโลกกลายมาเป็นหลักฐานในเรื่องแบบแผนของอุณหภูมิและลมพื้นผิวโลก
  • ในแถบละติจูดกลาง รังสีอุลตราไวโอเลตพื้นผิวนั้นมีความคงที่ในช่วงทศวรษที่ผ่านมา